1 ต.ค. 2021 เวลา 04:54 • ปรัชญา
EP5 " ใจเรา ใช่ของเราจริงๆหรือเปล่า!? "
ถึงผู้อ่านและผู้ติดตามทุกท่าน…
กราบขออภัย ที่เว้นว่างการเขียนไปนาน เนื่องจากเดือนที่แล้วรีบไปออกแบบระบบการตลาด "แบบเถียงไม่ได้” ให้เพื่อนๆโดยนำศาสตร์ความรู้ด้าน NLP ไปประยุกต์ใช้ จึงไม่ได้อัพเดทบทความต่อเนื่อง หลังจากนี้ตั้งใจจะเขียนเนื้อหาให้ได้อาทิตย์ละ 2 บทความ ขอบคุณมากๆครับที่ติดตาม
" ใจเรา ใช่ของเราจริงๆหรือเปล่า!? "
เราต้องมาทำความเข้าใจ อาการเพลินของใจที่ติดอยู่กับอารมณ์ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไรก่อน
โดยปกติธรรมชาติของมนุษย์เราจะเพลินกับความรู้สึกสองฝ่าย คือพอใจกับความรู้สึกไม่พอใจ อันนี้ก็เป็นเรื่องแปลกอย่างหนึ่ง เราไม่ชอบความทุกข์แต่เราไปเพลินกับมันได้ยังไงก็ไม่รู้!
 
เวลาเราเจอเรื่องที่ทำให้มีความสุข เราก็มักจะคิดวนไปวนมาอยู่กับเรื่องนั้น แต่เรื่องที่ทำให้เรามีความทุกข์ก็เป็นเหมือนกัน คิดวนไปวนมาดิ้นไม่หลุด ไม่อยากทุกข์แต่ก็หยุดคิดหยุดทุกข์ไม่ได้
เหมือนเราดูหนังเรื่องนึงเห็นตัวละครในเรื่องมีความทุกข์อยากจะเข้าไปช่วยแต่เราก็ทำไม่ได้เพราะเราเป็นแค่"ผู้ดู"
นี่คือลักษณะอาการของใจที่เพลินอยู่กับความสุขและความทุกข์อยู่ตลอดเวลา
ซึ่งการเกิดพฤติกรรมอัตโนมัติของเราถูกผลักดันจากอาการของใจใน 2 ลักษณะนี้
แล้วกระบวนการเกิดของมันเป็นอย่างไร?
ความรู้สึกทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับใจไม่ได้เกิดขึ้นได้เอง ก่อนหน้านั้นมีเหตุผลักดันหลายอย่าง เหมือนโดมิโน่ที่ล้มใส่ต่อๆกันมา เราจะไปไล่ดูกันตั้งแต่แรกอะไรที่ทำให้มันล้ม
..ถ้าเป็นโดมิโน่เราคงดูทัน แต่การเปลี่ยนแปลงของจิตรวดเร็วยิ่งกว่าสายฟ้าแลบ! จะดูยังไงทัน
จิตเป็นสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วที่สุดในจักรวาล สรรพสิ่งในจักรวาลเคลื่อนที่ระบุความเร็วได้โดยอาศัยเวลา แต่จิตใจเป็นสิ่งที่อยู่เหนือเวลา…
สิ่งเดียวที่จะตามจิตได้ทันก็คือ “เงา” ของจิตที่เรียกว่า “สติ”
สติ..เป็นสิ่งที่อยู่กับจิตเสมอแต่ไม่แสดงตัว จะปรากฎออกมาได้เมื่อมี "แสงแห่งปัญญา” สาดส่องมา สติถึงจะปรากฎและสติจะทำหน้าที่เป็นกระจกสะท้อนอาการทุกอย่างของจิตให้เราได้รับรู้
แล้วแสงแห่งปัญญาจะเกิดขึ้นได้อย่างไร?
เมื่อองค์ความรู้ที่เป็นสัมมาทิฐิถูกสะสมมากพอ เหมือนแบ๊ตเตอรี่ที่ถูกชาร์จพอจนทำให้ดวงไฟแห่งปัญญาติดสว่างไสว ส่องได้สติเห็นความเป็นมายาแห่งตัวตน…
ไปชาร์จแบ๊ตกันต่อใน EP หน้านะครับ...
EP 6 “ ทฤษฎีผลกระทบผีเสื้อ (Butterfly Effect) ”
โฆษณา