3 ต.ค. 2021 เวลา 03:10 • ธุรกิจ
การวางแผนภาษี การหลบหลีกภาษี และการหนีภาษี >>>
"ที่ปรึกษาภาษี ประสบการณ์สายงานภาษี 19 ปี"
การวางแผนภาษี (Tax Planning) คือ การเสียภาษีให้ถูกต้อง ครบถ้วน และประหยัดภาษี โดยอาศัยข้อยกเว้น สิทธิประโยชน์ทางภาษี และมาตรการทางภาษีต่าง ๆ ตามกฎหมาย
ตัวอย่าง
1. การใช้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยการขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI
2. การวางแผนสัดส่วนการเข้าถือหุ้นและการกำหนดให้มีระยะเวลาการให้กู้ยืมเงินระหว่างกันไม่น้อยกว่า 6 เดือน นับจากวันที่เข้าถือหุ้น เพื่อใช้สิทธิยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะในฐานะบริษัทในเครือเดียวกัน
เป็นต้น
"เริ่มต้นแบบถูกวิธี ธุรกิจก็ไปได้ด้วยดี นะคะ"
การหลบหลีกภาษี (Tax Avoidance) คือ การอาศัยช่องโหว่ของกฎหมาย เพื่อให้การเสียภาษีน้อยที่สุด แต่ไม่ผิดกฎหมาย (การหลบหลีกภาษีถือเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนภาษี)
ตัวอย่าง
เจ้าของที่ดินผู้มีรายได้จากงานประจำ ให้เช่าที่ดินกับห้างสรรพสินค้าเป็นเวลา 30 ปี แต่ไม่ต้องการนำรายได้ค่าเช่ามารวมคำนวณเป็นฐานภาษีของ ตนเอง จึงจดสิทธิเก็บกินให้บุตร และให้บุตรเป็นผู้มีหน้าที่ยื่นเสียภาษีรายได้ค่าเช่าในฐานะผู้ทรงสิทธิเก็บกินแทน
(เทียบเคียง กรณีศึกษา คำพิพากษาฎีกาที่ 575/2560)
"บริการของเรา"
การหนีภาษี (Tax Evasion) คือ การหลบเลี่ยงไม่เสียภาษีหรือเสียภาษีน้อยลง โดยการฝ่าฝืน หรือ กระทำผิดกฎหมาย
ตัวอย่าง
1. บุคคลธรรมดา ผู้ประกอบกิจการขายสินค้า Online เป็นปกติธุรกิจ มีรายได้ถึงตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด แต่ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี (แบบภงด.94, ภงด.90)
2. นิติบุคคลใช้ใบกำกับภาษีเต็มรูป (เกิน 6 เดือน) มาเคลมเป็นภาษีซื้อ
3. การถ่ายโอนเงินจากนิติบุคคลไปให้กรรมการบริษัทในรูปของ เงินให้กู้ยืมกรรมการ โดยไม่ได้มีเจตนาที่จะให้กู้ยืมเงินกันจริง ๆ และไม่มีเจตนาที่จะนำเงินมาคืนบริษัท แต่ทำไปเพื่อเลี่ยงการเสียภาษี 10% ในรูปของเงินปันผล
เป็นต้น
"ติดต่องานได้ทุกวัน จ-อา" นะคะ
การปฏิบัติทางภาษีที่ไม่ถูกต้อง = เป็นการวางระเบิดตัวเอง ไม่ช้าก็เร็ว จะส่งผลให้ผู้กระทำผิด ต้องเสียทั้งภาษี เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม ในวันที่เจ้าพนักงานสรรพากรตรวจสอบพบ
การตรวจสุขภาพทางภาษี จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อ re-check ว่า สิ่งที่เราทำอยู่ถูกต้องแล้วหรือยัง และยังมีตรงไหนต้องจัดระบบภาษีกันใหม่ เพื่อให้การปฏิบัติทางภาษีถูกต้อง และ ยังเป็นการค้นหาจุดรั่วไหลทางภาษี ที่เราสามารถ tax saving ได้แบบถูกกฎหมายอีกด้วยค่ะ
ประสบการณ์ทำงาน และ company profile ตาม link เลยนะคะ
สามารถ ติดตามบทความด้านภาษีอากร และการลงทุน ได้ที่เพจ VI Style by MooDuang นะคะ
ขอบคุณค่ะ
โฆษณา