4 ต.ค. 2021 เวลา 04:21 • ข่าวรอบโลก
*** หากเกิดสงครามจีน - สหรัฐจะเป็นอย่างไร? เปรียบเทียบกำลังทหาร และวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ ***
1
สหรัฐอเมริกาถือเป็นชาติมหาอำนาจที่มีกำลังทางทหารแข็งแกร่งเป็นอันดับหนึ่งของโลก แม้ว่าจะประสบความล้มเหลว ณ อัฟกานิสถานเนื่องจากขาดความเข้าใจด้านพื้นเพและวัฒนธรรมของชาวอัฟกัน แต่ก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าสหรัฐยังคงครองความเป็นเจ้าสนามรบของสงครามตามแบบ (Conventional Warfare) ด้วยเทคโนโลยีทางการทหารอันล้ำสมัยและยุทโธปกรณ์จำนวนมหาศาล รวมถึงพลังอุตสาหกรรมหนักที่ได้รับการพิสูจน์ตัวเองมาตั้งแต่ยุคสงครามโลกครั้งที่ 2
5
อย่างไรก็ตาม เมื่อมหาอำนาจใหม่อย่างจีนที่มีเศรษฐกิจเข้มแข็งติดอันดับต้นๆ ของโลก ได้เดินหน้าเสริมสร้างเขี้ยวเล็บทางการทหารเพื่อแผ่ขยายอำนาจออกสู่ภูมิภาคอินโดแปซิฟิกทำให้สถานะมหาอำนาจของสหรัฐเริ่มถูกท้าทาย จนกลายเป็นการเผชิญหน้าเพื่อคานอำนาจระหว่างทั้งสองฝ่ายในที่สุด
1
บทความนี้จะอธิบายถึงจำนวนกำลังรบของสหรัฐและจีนในปัจจุบัน พร้อมวิเคราะห์การเดินหมากของทั้งสองชาติเพื่อสกัดกั้นอิทธิพลฝ่ายตรงข้าม ตลอดจนสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตหากเกิดการเผชิญหน้าทางทหารระหว่างสองชาติมหาอำนาจ
*** สงครามที่ยากจะคาดเดา ***
บทความของเดอะซิดนีย์มอร์นิงเฮรัลด์ (ต่อไปจะขอเรียกว่า SMH) ระบุว่าสหรัฐยังคงตำแหน่งเจ้ามหาอำนาจทางการทหารด้วยงบประมาณด้านกลาโหมกว่า 759 พันล้านเหรียญสหรัฐ (759 billion) เมื่อเทียบกับจีนที่เพิ่มงบราว 6-8 เปอร์เซ็นต์ต่อปีจนขึ้นมาอยู่ที่ 324 พันล้านเหรียญ (324 billion) อย่างไรก็ตามสิ่งที่จีนได้เปรียบในเกมนี้คือยุทธศาสตร์ของประเทศที่มุ่งเป้าไปยังแนวรบเดียว
5
ภาพแนบ: กองทัพเรือสหรัฐและพันธมิตรระหว่างการฝึก RIMPAC
ภาพเปรียบเทียบซึ่งชัดเจนที่สุดคือการเทียบกองทัพเรือระหว่างทั้งสองประเทศ โดยจีนมีเรือบรรทุกอากาศยานจำนวน 2 ลำและเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์อีก 5 ลำ รวมทั้งเรือชั้นอื่นๆรวมกันมากกว่า 200 ลำ
ขณะที่กองทัพเรือสหรัฐแม้จะมีเรือบรรทุกอากาศยานมากถึง 11 ลำ แต่สามารถหมุนเวียนมาประจำการในภูมิภาคได้เพียงครั้งละ 1-3 ลำ ส่วนที่เหลือต้องใช้เวลาเตรียมพร้อมเพื่อเดินทางจากแผ่นดินสหรัฐมาเสริมกำลัง
1
ข้อจำกัดแบบเดียวกันยังเกิดขึ้นกับอากาศยานสหรัฐทั้งสามเหล่าทัพ (อากาศ, เรือ,และนาวิกโยธิน) ซึ่งมีจำนวนรวมกันมากกว่า 3,700 เครื่อง ไม่สามารถนำมาวางกำลังยังภูมิภาคนี้ได้ เทียบกับจีนที่มีอากาศยาน 1,264 เครื่อง (ตัวเลขแท้จริงอาจคลาดเคลื่อน) ซึ่งพร้อมปฏิบัติการรบจากแผ่นดินจีน เช่นเดียวกับกำลังทางบกที่ฝ่ายจีนมีมากกว่ากำลังของสหรัฐอย่างน้อย 10 เท่าตัว “
6
ดังนั้นประสิทธิภาพของกองทัพสหรัฐจึงถูกลดทอนด้วยความได้เปรียบทางยุทธศาสตร์ของจีน”
1
ข้อได้เปรียบเดียวของสหรัฐคือเครือข่ายของดาวเทียมทางการทหารที่สหรัฐยังล้ำหน้ากองทัพจีน โดยเฉพาะการก่อตั้งกองทัพอวกาศ (US Space Force) เพื่อควบคุมความมั่นคงเหนือวงจร ซึ่งทำให้สหรัฐรู้การเคลื่อนของจีนได้อย่างครอบคลุมกว่า (แม้ว่าจีนจะมีดาวเทียมจารกรรมเหมือนกัน) เพื่อประสานงานกับเหล่าทัพต่างๆ และรับมือก่อนที่กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนจะเริ่มโจมตีเป้าหมายอย่างไต้หวัน แต่ตัดสินใจดังกล่าวอาจนำไปสู่การโจมตีฐานทัพในแผ่นดินจีนซึ่งจะทำให้ความขัดแย้งขยายตัวขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้...
1
ดังนั้น... ทาง SMH สรุปว่าผลลัพธ์ของการเผชิญหน้าขึ้นอยู่กับยุทธวิธีซึ่งทั้งสองฝ่ายเลือกใช้ในช่วงเริ่มต้นของสงครามแต่ความจริงข้อนึงที่ต้องยอมรับคือ “ไม่ว่าจะเลือกวิธีการใดย่อมมีผู้สูญเสียของสงคราม”
4
*** อิทธิพลทางทหารของสหรัฐในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ***
ในปัจจุบันพื้นที่เขตเอเชียแปซิฟิกซึ่งจะเป็นส่วนแรกที่รับผิดชอบหากมีสงครามกับจีน อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของกองกำลังสหรัฐภาคอินโดแปซิฟิก (INDOPACOM) ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 260 ล้านตารางกิโลเมตร จากชายฝั่งสหรัฐจนถึงภาคตะวันตกของประเทศอินเดียและจากขั้วโลกเหนือถึงมหาสมุทรแอตแลนติก โดยมีศูนย์บัญชาการใหญ่ตั้งอยู่ ณ ค่ายนาวิกโยธิน เฮช เอ็ม สมิท (Camp H.M.Smith) มลรัฐฮาวาย
1
กำลังรบของสหรัฐในส่วนนี้มีทหารและเจ้าหน้าที่พลเรือนประจำการรวม 375,000 นาย แบ่งเป็นทหารเรือ 130,000 นาย, นาวิกโยธิน 86,000 นาย, ทหารอากาศ 46,000 นาย, และทหารบกอีก 106,000 รวมถึงอากาศยาน 1,100 ลำ, เรือ 200 ลำ, และหน่วยปฏิบัติการพิเศษอีก 1,200 นาย กระจายอยู่ตามเกาะและประเทศพันธมิตรในภูมิภาค (อนึ่งข้อมูลนี้อ้างอิงจากเว็ปไซด์ของ Indopacom แต่อาจมีความแตกต่างจากจำนวนที่แท้จริง)
1
ภาพแนบ: แนวป้องกัน First Island Chain ที่ใช้รับมือกับการขยายตัวของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน
ยุทธศาสตร์ของสหรัฐในภูมิภาคคือ การกระจายกำลังไปยังเขตอิทธิพลและชาติพันธมิตรเช่น ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, กวม, และฮาวาย เพื่อความคล่องตัวในการตอบสนองต่อสถานการณ์และกระจายความเสี่ยงจากการถูกโจมตี
2
นอกจากนี้ทางสหรัฐยังพัฒนาแผนการสร้างโครงข่าย “The First Island Chain” ร่วมกับชาติพันธมิตรอาทิ ไต้หวัน, ญี่ปุ่น, และฟิลิปปินส์ เพื่อใช้เป็นปราการด่านหน้าในการต่อต้านกองทัพจีน
ไปพร้อมๆกับการดึงพันธมิตรใกล้ชิดอย่างอังกฤษและออสเตรเลียที่เคยร่วมรบเคียงบ่าเคียงใหญ่มาตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กลับเข้ามามีบทบาทในพื้นพิพาทมากยิ่งขึ้น
ภาพแนบ: สถานีการบินนาวิกโยธินฟูเทนมะ (Marines Corps Air Station Futenma ) บนเกาะโอกินาว่า
*** ปราการแห่งอินโดแปซิฟิก ***
ดินแดนที่จัดเป็นปราการด่านหน้าของสหรัฐในการต้านอิทธิพลจีน มักเป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์มาอย่างยาวนานทั้งญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ซึ่งสหรัฐเคยให้ความช่วยเหลือในการฟื้นฟูประเทศพร้อมกับป้องกันภัยคุกคามจากอิทธิพลของฝ่ายคอมมิวนิสต์
3
ภาพแนบ: การฝึกผสมทางทะเลสหรัฐ-ญี่ปุ่น
โดยเฉพาะญี่ปุ่นมีกำลังพลสหรัฐประจำการอยู่ราว 50,000 นาย ซึ่งถือเป็นรองเพียงฐานทัพใหญ่ที่ฮาวาย โดยมีพื้นที่สำคัญคือ “ฐานทัพเรือโยโกสุกะ”
1
อันเป็นที่ตั้งของกองเรือส่วนหน้าประจำภูมิภาค (Forward Deploy Ships) ซึ่งประกอบด้วยเรือบรรทุกเครื่องบิน ยูเอสเอส โรนัลด์ เรแกน (ถูกส่งไปดูแลการอพยพจากอัฟกานิสถาน), เรือลาดตระเวนขีปนาวุธชั้นติคอนเดอโรกา (Ticonderoga) จำนวน 3 ลำ, เรือพิฆาตขีปนาวุธชั้นอาร์ลีห์ เบิร์ก (Arleigh Burke) จำนวน 7 ลำ, และเรือบัญชาการอีกหนึ่งลำรวมเป็น 12 ลำ
1
โดยได้รับการเสริมทัพจากเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์และเรือสนับสนุนการยกพลขึ้นที่ประจำการอยู่ ณ เมืองซาเซโบะ (Sasebo) นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของหน่วยนาวิกโยธิน, สนามบินทางการทหาร, และหน่วยปฏิบัติการพิเศษรวม 15 แห่งซึ่งกระจายตัวอยู่รอบประเทศ
*** ตัดเข้าช่วงโฆษณา ***
ขอโฆษณาว่าหนังสือ "ประวัติย่อก่อการร้าย War on Terror" ที่พิมพ์ครั้งก่อนขายหมดจากตลาดไปนานแล้ว มีแผนจะพิมพ์ใหม่ปลายปีนี้นะครับ
ตอนแรกว่าใกล้ๆ เสร็จแล้วค่อยทำโปร แต่เหตุการณ์ในอัฟกานิสถานและรำลึก 9/11 ทำให้มีคนถามมาเยอะเหลือเกิน เลยเปิดให้จองก่อน
- หนังสือเล่มนี้เล่าเรื่องประวัติของขบวนการก่อการร้ายสากลตั้งแต่ยุคอัลเคดามาต่อ ISIS
- ผมตั้งใจจะเพิ่มเนื้อหาให้อัพเดทถึงปัจจุบัน
- พิมพ์เป็นสี่สีแน่นอน
- ปกพิมพ์สีเมทัลลิก ปั้มนูนและปั้มเงินที่ชื่อเหมือนเล่มสุริยันพันธุ์เคิร์ด รับรองว่าสวยมาก เหมาะแก่การสะสม สำนักพิมพ์ The Wild Chronicles เราพิมพ์เองแล้วจะทำอะไรก็ได้ 555
- มีเซ็นลายเซ็นพิเศษประจำเล่มให้ครับ
- ราคาอยู่ที่ 389 บาท สั่งพรีออเดอร์ตอนนี้ลดเหลือ 369 บาท และฟรีค่าส่งในประเทศ (ปกติค่าส่ง 50 บาทครับ ส่วนต่างประเทศก็ตามจริง)
- สนใจชำระและใส่ที่อยู่ที่ link แนบได้เลย อนึ่งระบบนี้จะมีเมลคอนเฟิร์มไปแต่ช้าหน่อยนะครับ
นอกจากนี้ ขอโฆษณาว่าหนังสือ “สุริยันพันธุ์เคิร์ด” หรือหนังสือเล่มใหม่ของผมออกแล้วนะครับ มีรายละเอียดดังนี้...
- เรื่องนี้เป็นหนังสือประวัติศาสตร์ชาวเคิร์ด ผลงานเล่มล่าสุดในชุด The Wild Chronicles
- พิมพ์เป็นสี่สี!
- ยาวที่สุดเท่าที่พิมพ์มา ยาวกว่าพยัคฆ์ทมิฬสิ้นชาติราว 2 เท่า
- รูปโหดๆ ที่ทำให้เข้าใจสถานการณ์ดีขึ้น จะไม่เซนเซอร์ แต่จะรวมอยู่ท้ายเล่ม และมีคำเตือนก่อน
1
- มีลายเซ็นทุกเล่ม!
- ราคา 439 บาท รวมค่าส่งแล้ว
ท่านที่ต้องการพรีออเดอร์สามารถชำระ และใส่ที่อยู่ทาง link แนบได้เลย
อนึ่งชาวเคิร์ดเป็นชนกลุ่มน้อยในตะวันออกกลาง มีราว 30 ล้านคน หากไม่มีประเทศของตนเอง พวกเขาแตกเป็นหลายส่วนและถูกกดขี่อย่างหนัก แต่การถูกกดขี่เคี่ยวกรำนั้นทำให้พวกเขากลายเป็นนักรบที่เก่งกาจ
หนังสือเล่มนี้เขียนเรื่องราวของชาวเคิร์ดตั้งแต่ยุคตำนานจนถึงประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ซึ่งมีความพีคแล้วพีคอีก ผ่านสงครามใหญ่ๆ มากมาย เช่นสงครามอิรัก - อิหร่าน, สงครามอ่าวเปอร์เซีย, สงครามปราบซัดดัม, สงครามกลางเมืองอิรัก, สงครามปราบกลุ่มก่อการร้าย แต่ละสงครามที่ว่ามานี้มีสเกลใหญ่เป็นรองแค่สงครามโลก
ชาวเคิร์ดมีส่วนร่วมในสงครามเหล่านี้ทั้งหมดในฐานะชนกลุ่มน้อยที่ไม่รวยแต่รบเก่ง พอมีคนมาติดอาวุธให้เลยมักกลายเป็นไพ่โจ๊กเกอร์ที่เปลี่ยนผลชี้ขาดของสงคราม
อย่างไรก็ตามศัตรูอันดับหนึ่งของชาวเคิร์ดคือเผด็จการซัดดัม ฮุสเซนนั้นก็โหดมาก โหดโคตรๆ ใครเคยอ่านพยัคฆ์ทมิฬสิ้นชาติ หรือเชือดเช็ดเชเชน ผมบอกได้ว่าไอ้นี่ก็โหดไม่แพ้กัน หรือเผลอๆ โหดกว่า ดังนั้นการต่อสู้ของชาวเคิร์ดมันจึงเป็นเรื่องที่หลอนและดุเดือดมากๆ
หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นจากประสบการณ์ที่ผมได้ไปเยือนดินแดนเคอร์ดิสถานอิรัก (และหนีมิสไซล์มา) เมื่อต้นปี 2020 เพื่อนชาวเคิร์ดที่ผมสัมภาษณ์ทุกคนเป็นผู้รอดชีวิตจากทุกสงครามข้างต้น ทำให้มีข้อมูล ความเห็น และมุมมองของคนต่างๆ ที่ลึกกว่าในตำรา แน่นอนว่าประสบการณ์ของพวกเขาดาร์คมาก แต่เขาหลายคนไม่ได้มองโลกในแง่ร้ายขนาดนั้น พวกเขาตีความสิ่งที่พบเจออย่างไร ลองตามอ่านดูนะครับ
1
"สุริยันพันธุ์เคิร์ด" ตั้งใจพิมพ์เป็นสี่สี เป็นหนังสือที่ยาวที่สุดตั้งแต่ผมเขียนสารคดีชุด The Wild Chronicles มา
อีกครั้งนะครับ ท่านที่ต้องการพรีออเดอร์หนังสืออย่างเดียว สามารถชำระ และใส่ที่อยู่ทาง link นี้ได้เลย 439 บาท รวมค่าส่งแล้ว (ในประเทศ) ถ้าบางท่านอยู่ต่างประเทศมีค่าส่งพิเศษจะแจ้งอีกที
ส่วนเกาหลีใต้นั้นมีทหารสหรัฐประจำการอยู่เกือบ 30,000 นาย ส่วนมากเป็นกำลังจากกองทัพบกเพื่อทำหน้าที่ป้องกันการรุกรานจากเกาหลีเหนือ (เป็นพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ของจีน) ตามข้อตกลง “สนธิสัญญาป้องกันร่วมกันระหว่างสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐเกาหลี” อย่างไรก็ตามภารกิจของกองทัพสหรัฐคือการป้องกันจุดยุทธศาสตร์ในคาบสมุทรเกาหลีมากกว่าการเผชิญหน้ากับจีนโดยตรง
นอกจากนี้ในระยะหลังรัฐบาลจีนและเกาหลีเริ่มมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันเนื่องจากเกาหลีใต้จำเป็นต้องอาศัยจีนเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยในหลายกรณี รวมถึงการมีระยะห่างจากแผ่นดินจีนเพียง 2,117 กิโลเมตร อาจส่งผลให้เกาหลีใต้พยายามหาทางหนีทีไล่เพื่อป้องกันความเสียหายหากเกิดสงครามขึ้น
ภาพแนบ: เครื่องบินทิ้งระเบิด B-52, B-1 และ B-2 ณ สนามบินแอนเดอสัน
ปราการที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของสหรัฐคือเกาะกวม ซึ่งเป็นดินแดนของสหรัฐเอง แม้ว่ากวมจะเป็นเกาะขนาดเล็กที่มีพื้นที่เพียงราว 549 ตารางกิโลเมตร แต่เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญซึ่งตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างประเทศหน้าด่านและฮาวาย
อีกทั้งเป็นที่ตั้งของฐานทัพอากาศแอนเดอสัน (Anderson Field) ที่มีขีดความสามารถในการเป็นฐานของเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ (Strategic Bomber) ที่สามารถสร้างความเสียหายต่อจุดยุทธศาสตร์สำคัญต่างๆ ทั้งในและนอกของประเทศจีน รวมทั้งมีท่าเรือขนาดใหญ่อย่าง Port Apra ที่สามารถรองรับกองเรือบรรทุกเครื่องบินที่แวะเวียนเข้ามา
นอกจากนี้เกาะกวมยังเป็นฐานทัพของหมู่เรือดำน้ำที่ 15 (15th Submarine Squadron) ที่ประกอบด้วยเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ชั้นลอสแอนเจลิส (Los Angeles) จำนวน 4 ลำ ซึ่งเปรียบเสมือนกองกำลังส่วนหน้าของสหรัฐเพื่อรับมือกับกองทัพเรือจีนร่วมกับกองเรือในญี่ปุ่น
2
ปัจจุบันสหรัฐทำการขยายพื้นที่กว่า 1 ใน 4 ของเกาะเป็นพื้นที่ทางการทหาร ทำให้ชาวบ้านบางส่วนแสดงความไม่เห็นด้วยกับการขยับขยายนี้
1
ภาพแนบ: F-22 Raptor ซึ่งประจำการบนเกาะฮาวาย
ปราการสำคัญท้ายที่สุดของสหรัฐคือฮาวายซึ่งมีสถานะเป็นรัฐที่ 50 และเป็นที่ตั้งกองบัญชาการใหญ่ของกองทัพภาคอินโดแปซิฟิก โดยมีกำลังพลกว่า 50,000 นาย จาก 5 เหล่าทัพประกอบด้วย กองทัพบก, กองทัพอากาศ, กองทัพเรือ, นาวิกโยธิน, และยามฝั่ง ประจำการอยู่
1
นอกจากนั้นฮาวายยังมีฐานทัพทางทหารที่สำคัญอย่าง “ฐานทัพร่วมเพิรล์ฮาร์เบอร์-ฮิกแคม” (Pearl Habour-Hickam Base) ซึ่งเป็นฐานทัพเรือที่มีเรือด้ำน้ำล่าสังหารพลังงานนิวเคลียร์จำนวน 17 ลำและเรือรบผิวน้ำอีก 10 ลำ ขณะที่ฐานทัพอากาศฮิกแคมเป็นที่ตั้งของเครื่องบินขับไล่ยุคที่ 5 อย่าง F22 Raptor ซึ่งถูกยกให้เป็นเครื่องบินขับไล่ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดลำหนึ่งในยุคปัจจุบัน รวมทั้งเป็นพื้นที่สำหรับรอการส่งต่อไปยังแนวหน้าหากเกิดสงครามกับจีน
2
ภาพแนบ: สถานีสนับสนุนดาวเทียมบนดิเอโกกาเซีย
*** การกลับมาของอังกฤษพันธมิตรทางทหารที่สำคัญ ***
สหรัฐทำการเดินหน้าสานสัมพันธ์กับอดีตพันธมิตรทางทหารที่เคยร่วมรบมาตั้งแต่สงครามโลกอย่างอังกฤษ ที่อนุญาตให้สหรัฐใช้ฐานทัพใน “ดิเอโกกาเซีย” (Diego Garcia) (ดินแดนของอังกฤษ เป็นเกาะอยู่ใต้เกาะมัลดีฟส์) เป็นฐานสำหรับเครื่องบินทิ้งระเบิด, สถานีส่งกำลังบำรุงของกองทัพเรือเพื่อเดินทางสู่มหาสมุทรอินเดีย, และสถานีสื่อสารดาวเทียมของกองทัพที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะ
ภาพแนบ: เรือหลวง ควีนอลิซาเบธที่ 2 (HMS Queen Elizabeth II) ความภาคภูมิใจแห่งราชนาวีอังกฤษ
นอกจากนั้นราชนาวีอังกฤษยังได้ส่งเรือหลวง ควีนอลิซาเบธที่ 2 (HMS Queen Elizabeth II) พร้อมด้วยกองเรือคุ้มกันมาเยือนพันธมิตรในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก พร้อมกับเดินเรือไปยังทะเลจีนใต้เพื่อสนับสนุนกฎการเดินทะเลสากลและช่วยวางกำลังแทนเรือบรรทุกเครื่องบินยูเอสเอส โรนัลด์ เรแกน (USS Ronalds Regan) ที่ต้องเดินทางไปสนับสนุนภารกิจอพยพยังประเทศอัฟกานิสถานและให้สหรัฐ
*** ออสเตรเลียตัวแปรใหม่ที่น่าจับตามอง ***
อย่างไรก็ตามบทบาทที่กลายเป็นประเด็นที่จับตามองคือการลงนามในข้อตกลง AUKUS ร่วมกับสหรัฐและออสเตรเลีย ซึ่งมีข้อตกลงในการเสริมศักยภาพของกองเรือดำน้ำในภูมิภาคนี้
ก่อนหน้านี้ชื่อของออสเตรเลียอาจจะไม่เป็นที่สนใจของคนทั่วไปที่ไม่ได้ติดตาม
1
จนกระทั่งมีการลงนามในข้อตกลง “AUKUS” เมื่อสหรัฐเสนอการถ่ายทอดเทคโนโลยีการต่อเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ที่เป็นข้อมูลระดับความลับขั้นสูงให้แก่ออสเตรเลีย
แน่นอนว่าข้อตกลงนี้ไม่ใช่ความร่วมมือทางทหารที่เกิดขึ้นครั้งแรก เนื่องจากออสเตรเลียนั้นเป็น “พันธมิตรในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก” เพียงชาติเดียว ที่ร่วมหัวจมท้ายกับสหรัฐตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 มาจนกระทั่งการปราบปรามกลุ่มไอซิสในอิรัก (Operation Okra) และยังเป็นสมาชิกความร่วมมือด้านข่าวกรองที่สำคัญอย่าง Five Eyes เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลความเคลื่อนไหวของฝ่ายศัตรูระหว่างสหรัฐและประเทศเครือจักรภพประกอบด้วยอังกฤษ, ออสเตรเลีย, แคนาดา, และนิวซีแลนด์ ที่พัฒนามาจากความร่วมมือทางการถอดรหัสลับของอังกฤษและสหรัฐในปี 1941
** บทความนี้เป็นบทความจากกลุ่ม illumicorgi นำมาลงเพจ The Wild Chronicles เพียงส่วนต้นของบทความ
โดยลงแค่ส่วนแรกที่พูดถึงสหรัฐ
ท่านที่สนใจสามารถอ่านเรื่องของกองทัพจีน, ยุทธศาสตร์ที่ทั้งสองจะใช้, ตลอดจนทำนายเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นหากสู้จริงได้ในกลุ่ม illumicorgi (facebook.com/groups/illumicorgi) นะครับ มีค่าเข้าเริ่มต้นที่ 50 บาท ท่านจะได้ทราบรายละเอียดของข้อได้เปรียบและเสียเปรียบระหว่างทั้งสองฝ่ายซึ่งยังมีรายละเอียดอีกมากมาย
อนึ่งกลุ่มนี้เป็นกลุ่ม exclusive ผมจะใช้ลงบทความพิเศษ ซึ่งมีเนื้อหาเจาะลึกกว่าที่ลงในเพจ The Wild Chronicles และบทความส่วนใหญ่ในกลุ่มจะเกี่ยวกับธีมของหนังสือที่ผมกำลังเขียน
ผู้ที่ต้องการสมัครเข้ากลุ่มให้ทำดังนี้เลยนะครับ
(1) กดสมัคร Line OA ของ The Wild Chronicles มาทาง link นี้ https://lin.ee/fNEO1jr
(2) กด add เป็นเพื่อน
(3) กด chat
(4) จากนั้น พิมพ์ชื่อที่ท่านใช้ใน Facebook มาทางช่องแชทของ Line OA เพื่อให้ทีมงานบ่งชี้ได้ว่าบัญชีของท่านสมัครมาแล้ว
(5) จากนั้นจะมีแอดมินมาคุยกับท่าน ให้แจ้งประเภทสมาชิกที่ท่านต้องการสมัคร แอดมินจะส่ง link เพื่อชำระค่าสมาชิก และแนะนำวิธีการเข้ากลุ่มต่อไป
::: ::: :::
สนใจอ่านเรื่องประวัติศาสตร์ สงคราม เรื่องต่างประเทศ กดติดตาม เพจ The Wild Chronicles ได้เลยนะครับ https://facebook.com/pongsorn.bhumiwat
โฆษณา