22 ต.ค. 2021 เวลา 08:22 • ไลฟ์สไตล์
8 มุกยอดฮิตมิจฉาชีพ "หลอกเงิน-ขโมยข้อมูล" รู้ไว้ ทันเหลี่ยมโจร!
รวมสารพัดวิธีกลโกงจากมิจฉาชีพอัพเดทล่าสุด ทั้ง "หลอกเอาเงิน" และ "หลอกเอาข้อมูล" ในรูปแบบต่างๆ ที่กำลังระบาดแข่งกับ "โควิด-19" รู้ทัน ระวังตัว ไม่ตกเป็นเหยื่อง่ายๆ
1
8 มุกยอดฮิตมิจฉาชีพ "หลอกเงิน-ขโมยข้อมูล" รู้ไว้ ทันเหลี่ยมโจร!
กลลวง "หลอกเงิน" และ "หลอกเอาข้อมูล" สารพัดรูปแบบแฝงเข้ามาในชีวิตประจำวัน กำลังระบาดหนัก แข่งกับ "โควิด-19" จนทำให้หลายคนตกเป็นเหยื่อ สูญเงินหรือทรัพย์สินไปแบบไม่ทันรู้เนื้อรู้ตัว
"กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" จึงรวบรวมลูกไม้ในการหลอกลวงของเหล่ามิจฉาชีพที่เพิ่งเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ เพื่อให้ได้รู้ทันกลลวงและลดโอกาสการตกเป็นเหยื่อโดยเฉพาะในช่วงเงินทองหายากเช่นนี้
1. แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่จาก "ไปรษณีย์ไทย"
มุกที่มาในคราบของบุรุษไปรษณีย์ปลอม เรียกเก็บค่าพัสดุปลายทาง หรือหลอกให้เซ็นรับพัสดุที่มีสิ่งผิดกฎหมาย ก่อนหาพวกรับบทตำรวจมาตรวจสอบเพื่อเอาผิด และเรียกเก็บเงินค่าดำเนินการขนส่งต่างๆ ที่ไม่ใช่นโยบายของไปรษณีย์ไทย
1. แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่จาก "ไปรษณีย์ไทย"
2. แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าฯ
ถ้าพบคนที่ถือบิลค่าไฟมาเรียกเก็บตามบ้าน สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่านี่คือเจ้าหนี้ที่ปลอม หากมีการเรียกเก็บเงินค่าไฟหรือค่าใช้จ่ายต่างๆ จากการไฟฟ้าฯ ส่วนใดก็ตาม อย่าจ่ายเงิน เพราะการไฟฟ้านครหลวงได้ออกมาให้ข้อมูลว่าไม่มีนโยบายเก็บเงินตามบ้าน หากต้องการจ่ายค่าไฟฟ้าจะต้องจ่ายกับช่องทางต่างๆ ของการไฟฟ้าฯ หรือหากมีข้อสงสัยให้สอบถามจากหน่วยงานโดยตรงเท่านั้น
2. แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าฯ
3. หลอกโอนเงิน "จองวัคซีนโมเดอร์นา"
มิจฉาชีพเหล่านี้อาศัยความไม่รู้แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ด่านหน้าที่สามารถจัดสรรวัคซีนมาให้ฉีดได้เร็ว ก่อนให้โอนเงินเพื่อจองวัคซีนและหนีหายไปในกลีบเมฆ ฉะนั้นสำหรับคนที่ต้องการจองวัคซีนทางเลือก อย่าหลงกลคนที่มาแอบอ้างในลักษณะนี้ ให้ติดต่อกับทางโรงพยาบาลที่เปิดให้จองโดยตรงเท่านั้น
3. หลอกโอนเงิน "จองวัคซีนโมเดอร์นา"
4. ขายใบนัดปลอม!
ความต้องการวัคซีนโควิด-19 ของประชาชนที่เป็นผลพวงมาจากการจัดสรรที่ล่าช้าของรัฐบาล เป็นอีกหนึ่งช่องว่างที่ทำให้มิจฉาชีพเหล่านี้ก่อตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว
อีกหนึ่งมุกที่มากับวัคซีนโควิด คือการทำใบนัดปลอมอ้างชื่อ รพ.ศิริราช เพื่อเรียกเก็บเงินค่าฉีดวัคซีนจากประชาชน ใครที่ได้รับเอกสารเหล่านี้ที่มาจากบุคคลอื่นที่ไม่ใช่โรงพยาบาลออกให้ อย่าเพิ่งเชื่อ และรีบตรวจสอบข้อเท็จจริงจากทางโรงพยาบาลที่ถูกแอบอ้างชื่อทันที
4. ขายใบนัดปลอม!
5. หลอกกด SMS รับเงิน เช่น เงินเดือน เงินรางวัล
ช่วงที่หลายหน่วยงานที่เกี่ยวกับการให้บริการโทรคมนาคมหละหลวมจน SMS มิจฉาชีพยิงตรงเข้าโทรศัพท์มือถือถี่ยิบ ส่งข้อความหลอกให้อยากกดลิงก์ที่แนบมา ไม่ว่าจะเป็น
"เงินเดือน 2,000 บาท โอนเข้าบัญชีเรียบร้อย"
"ยินดีด้วยคุณได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท"
"โครงการเราชนะ ลงทะเบียนเพิ่มข้อมูลที่ลิงก์..."
ฯลฯ
หลังจากที่พลั้งมือกดเข้าไปที่ลิงก์ และดำเนินการตามขั้นตอนข้อมูลที่ปรากฏ ข้อมูลของเราก็จะถูกนำไปใช้ในทางมิชอบ ที่อาจนำไปสู่การสูญเงินในภายหลังได้ไม่ยาก ดังนั้นเมื่อได้รับข้อความเหล่านี้ให้ไตร่ตรองก่อนเปิดอ่านหรือกดลิงก์ และหากพิจารณาแล้วว่า "ปลอม" อย่าลืมที่จะกำจัดมันออกจากมือถือไปให้เร็วที่สุดด้วย
5. หลอกกด SMS รับเงิน เช่น เงินเดือน เงินรางวัล
6. หลอกกดรับสิทธิเงินกู้จาก "SAM" (บริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด)
SAM หรือ บริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด เป็นผู้ให้บริการ "คลินิกแก้หนี้" ที่ช่วยให้ประชาชนที่มีหนี้เสียสามารถปลดหนี้ได้จากการปรับโครงสร้างหนี้ แต่ SAM ไม่มีโครงการ "ปล่อยกู้" ออนไลน์แต่อย่างใด
ดังนั้นใครก็ตามที่ได้รับ SMS ให้ "กู้เงิน" หรือ "ให้สินเชื่อ" จาก SAM สันนิษฐานไว้เลยว่าปลอม ไม่คลิกลิงก์ใดๆ รีบลบข้อความทิ้ง หรือรีบสอบถามข้อเท็จจริงจาก SAM โดยตรงตามช่องทางต่างๆ ให้แน่ใจก่อนจะให้ข้อมูลทุกครั้ง
6. หลอกกดรับสิทธิเงินกู้จาก "SAM" (บริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด)
7. หลอกให้กรอกข้อมูลรับเงินเยียวยาจาก "ประกันสังคม"
มิจฉาชีพจะส่ง google form และส่งข้อความผ่าน SMS ปลอมให้ผู้ประกันตนแจ้งความประสงค์รับเงินเยียวยา เพื่อหลอกสอบถามข้อมูลส่วนตัว เช่น เลขบัตรประจําตัวประชาชน เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ ฯลฯ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์อื่นๆ ได้
โดย สำนักงานประกันสังคมออกมาเตือนว่าอย่าหลงเชื่อเป็นอันขาด หากผู้ประกันตนมีข้อสงสัยให้สอบถามที่สายด่วน สำนักงานประกันสังคมโดยตรง หรือโทร 1506 เท่านั้น
7. หลอกให้กรอกข้อมูลรับเงินเยียวยาจาก "ประกันสังคม"
8. SMS หลอกให้กรอกข้อมูลเพื่อรับสิทธิโครงการรัฐ
ช่วงโควิด-19 ที่รัฐออกมาให้เงินเยียวยาต่างๆ ก็มีประชาชนได้รับ SMS พร้อมลิงก์ เพื่อให้กรอกข้อมูลส่วนบุคคล เช่น เลขบัตรประจำตัวประชาชน เลขบัตรเครดิต ให้ใส่รหัส OTP หรือให้กรอกข้อมูลต่างๆ โดยอ้างว่ามาจากหน่วยงานรัฐ
1
ใครที่ได้รับ SMS ลักษณะนี้ที่มาจากเบอร์แปลกๆ ชื่อแปลก รีบเช็คกับหน่วยงานนั้นๆ เพื่อให้แน่ใจ อย่าเปิดลิงก์ดังกล่าว หรือกรอกข้อมูลส่วนตัวลงไปอย่างเด็ดขาด
1
8. SMS หลอกให้กรอกข้อมูลเพื่อรับสิทธิโครงการรัฐ
นอกจากนี้ หากพบเห็นเบาะแสการกระทำความผิด แจ้ง Call Center สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หมายเลขโทรศัพท์ 191 หรือ 1599 (24 ชั่วโมง)
โฆษณา