6 ต.ค. 2021 เวลา 05:05 • ประวัติศาสตร์
*** สรุปประวัติศาสตร์ไต้หวันแบบกระชับ ***
“ไต้หวัน” คือรัฐในทะเลจีนใต้ ปัจจุบันเป็นบ้านของประชากรราว 23 ล้านคน เกาะนี้ผ่านความเป็นมาอันยาวนาน ต้องเผชิญหน้ากับการถูกคุกคามจากภายนอก และความขัดแย้งภายในประเทศมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่ก็สามารถยืนหยัดมาได้อย่างมั่นคงโดยตลอด แม้โลกจะไม่ยอมรับพวกเขาเป็นประเทศก็ตาม
7
บทความนี้ จะพาท่านผู้อ่านไปเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของไต้หวัน ตั้งแต่การตกอยู่ใต้อำนาจต่างประเทศ เช่น ฮอลันดา, จีนยุคราชวงศ์ และญี่ปุ่น ต่อด้วยการถูกคุกคามจากพรรคคอมมิวนิสต์และการตกอยู่ใต้เผด็จการก๊กมินตั๋งนานกว่า 40 ปี จนเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคประชาธิปไตยท่ามกลางการกดดันจากแผ่นดินใหญ่
3
...อนึ่ง ผมเคยเขียนบทความแยกย่อยรายละเอียดเรื่องต่างๆ ไว้แล้ว แต่บทความนี้จะเป็นการสรุปนะครับ
3
*** จุดเริ่มต้นของไต้หวัน ***
เดิมทีเกาะแห่งนี้มีชนเผ่าพื้นเมืองราว 20 เผ่าซึ่งเชื่อว่าสืบเชื้อสายมาจากชาวออสโตรนีเซียน นักเดินเรือชาวโปรตุเกสค้นพบเกาะแห่งนี้เมื่อราว 400 ปีก่อน และตั้งชื่อว่า “Ilha Formosa” หรือเกาะฟอร์โมซาซึ่งแปลว่า “เกาะอันสวยงาม”
1
ภาพแนบ: รูปวาดของอาณานิคมดัตช์ฟอร์โมซา
จากนั้นชาวฮอลันดาก็เข้ามาครองเกาะนี้เป็นเจ้าแรก ด้วยการสร้างเมืองท่า “ดัตช์ฟอร์โมซา” พร้อมกับนำศาสนาคริสต์เข้ามาเผยแพร่ เพื่อจัดระเบียบชาวเกาะเผ่าต่างๆ ไม่ให้พวกเขาสร้างปัญหาต่อ และมีการให้คนท้องถิ่นเป็นหัวหน้าเผ่าคอยดูแลความเรียบร้อย
1
นอกจากนี้ ชาวฮอลันดายังอนุญาตให้ชาวจีนฮั่นเข้ามาแสวงหาโอกาสในดินแดนแห่งนี้ด้วย
ภาพแนบ: เจิ้งเฉิงกง
ชาวตะวันตกมีอำนาจการปกครองฟอร์โมซาเพียง 38 ปี ก็โดนกองเรือของแม่ทัพเจิ้งเฉิงกงแห่งราชวงศ์หมิง ซึ่งยกทัพมาแบบมืดฟ้ามัวดินมาปิดล้อมเกาะเป็นเวลานานเกือบ 6 เดือน
พวกฮอลันดาหมดความอดทน ตัดสินใจยอมแพ้กลับบ้าน ส่งผลให้ฟอร์โมซากลายเป็นฐานที่มั่นสำคัญของกองทัพหมิง
3
ภาพแนบ: รูปวาดสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1
ต่อมา กองทัพต้าชิงสามารถสยบพวกหมิง และยึดครองเกาะแห่งนี้สำเร็จ ตั้งเป็น “สาธารณรัฐฟอร์โมซา”
ทว่าสาธารณรัฐแห่งนี้กลับมีอายุเพียง 5 เดือนเศษก็ถูกกองทัพอันเกรียงไกรของญี่ปุ่นบดขยี้ในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1 ในปี 1895 รัฐบาลต้าชิงเลยต้องยกฟอร์โมซาให้ญี่ปุ่น
2
*** ใต้การปกครองของญี่ปุ่น ***
1
หลังการยึดครอง ทางการญี่ปุ่นเริ่มก่อตั้งรัฐบาลสำหรับบริหารอาณานิคม ใช้การปกครองแบบเบ็ดเสร็จ ควบคุมอำนาจทางเศรษฐกิจและตำแหน่งทางการเมืองให้เป็นของชาวญี่ปุ่น รวมถึงการกีดกันวัฒนธรรมพื้นถิ่นผ่านบทเรียนต่างๆ หมายมั่นปั้นมือให้เป็นอู่ข้าวอู่น้ำเพื่อส่งเสบียงกลับไปยังแผ่นดินญี่ปุ่น และใช้เป็นปราการสำคัญในการป้องกันศัตรู
2
ภาพแนบ: อาคารการรถไฟในไต้หวันที่ญี่ปุ่นสร้าง
อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นถูกชาวไต้หวันต่อต้านอย่างหนัก และต้องเผชิญการโจมตีจากกลุ่มกบฏด้วย แม้จะประสบความสำเร็จในการปราบปรามหลายครั้ง ทว่าฝ่ายญี่ปุ่นเริ่มตระหนักว่าการกดขี่ชาวไต้หวันมีแต่จะทำให้การต่อต้านขยายตัวออกไป รัฐบาลจึงเปลี่ยนไปพยายามซื้อใจประชาชน
3
กล่าวคือ… ญี่ปุ่นหันมาพัฒนาโครงสร้างปัจจัยพื้นฐานอาทิ โรงไฟฟ้า, ถนนหนทาง, ระบบรถไฟ, และระบบชลประทาน รวมถึงมอบความรู้ด้านการทำเกษตรครบวงจรให้กับชาวไต้หวัน นอกจากนี้ยังมีการสร้างท่าเรือสำคัญจำนวนสองแห่งคือท่าเรือเกาสงและท่าเรือจีหลง เพื่อการขนส่งสินค้าซึ่งช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
3
ภาพแนบ: ทางเข้ามหาวิทยาลัยแพทย์ไถเป่ยตี้กั๋วในปัจจุบัน
นอกจากนี้ญี่ปุ่นยังหมายยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยการพัฒนาระบบสาธารณสุขและก่อตั้งมหาวิทยาลัยแพทย์ "ไถเป่ยตี้กั๋ว" เพื่อผลิตบุคลากรออกมารับใช้สังคม ไปพร้อมๆกับการออกกฎหมายการศึกษาภาคบังคับโดยสอดแทรกวัฒนธรรมความเป็นญี่ปุ่นเข้าไปในหลักสูตร
ความพยายามดังกล่าวได้รับการตอบสนองที่น่าพอใจ ชาวไต้หวันเริ่มหันมาใช้ภาษาญี่ปุ่นมากยิ่งขึ้น แม้จะมีขุ่นข้องหมองใจกับการกระทำในอดีต ทว่าการตอบโต้ด้วยกำลังก็ลดความรุนแรงลง จนกล่าวได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่ญี่ปุ่นเข้าใกล้กับการ “กลืนวัฒนธรรม” มากที่สุด
2
ภาพแนบ: ทหารไต้หวันในกองทัพญี่ปุ่น
เวลาดำเนินไปจนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝ่ายญี่ปุ่นเริ่มอนุญาตให้ชาวไต้หวันเข้ามารับราชการในเหล่าทัพต่างๆ อย่างกว้างขวาง
1
โดยบันทึกของกระทรวงสาธารณสุข, แรงงาน, และสวัสดิการญี่ปุ่น ระบุว่ามีทหารชาวไต้หวันประจำการในกองทัพจำนวน 207,183 นาย (เสียชีวิตระหว่างสงครามราว 30,304 นาย)
ภาพแนบ: ญี่ปุ่นยอมแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2
หลักฐานดังกล่าว แสดงให้เห็นความใกล้ชิดระหว่างเจ้าอาณานิคมและผู้อยู่ใต้การปกครองได้ดี แม้ฝ่ายญี่ปุ่นจะให้สถานะชาวไต้หวันเป็น “ประชากรชั้นสอง” แต่ก็มอบประโยชน์มากพอจนได้รับความนิยมระดับหนึ่ง
1
ญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1945 ต้องปล่อยฟอร์โมซาไปหลังอยู่ด้วยกันมานานเกือบ 50 ปี
3
*** เหตุการณ์ 228 และ White Terror ***
ในปี 1947 เมื่อไต้หวันตกอยู่ในการปกครองของก๊กมินตั๋ง ซึ่งเป็นรัฐบาลจีนในเวลานั้น ได้เกิดเหตุเจ้าหน้าที่ตรวจสอบการค้าและตำรวจบันดาลโทสะทำร้ายแม่ค้าขายบุหรี่รายหนึ่งซึ่งพยายามจะขอสินค้าที่ถูกยึดคืน ทำให้ประชาชนแสดงความไม่พอใจพร้อมเดินเข้าไปรุมต่อว่าเจ้าหน้าที่ แต่สถานการณ์กลับบานปลายจนมีผู้เสียชีวิตจากกระสุนของทางการหนึ่งราย
2
เหตุการณ์ดังกล่าวลุกลามไปสู่การประท้วงกลางกรุงไทเปในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ เพื่อกดดันให้ทางการดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ แต่ทหารกลับเปิดฉากยิงใส่ผู้ชุมนุม ขณะที่ม็อบก็รุมประชาทัณฑ์เจ้าหน้าที่การค้าเสียชีวิตสองราย จากนั้นประชาชนผู้คั่งแค้นจึงเริ่มใช้กำลังเข้ายึดสถานที่ราชการ, ทำลายอาคารบ้านเรือนต่างๆ, และสังหารชาวจีนแผ่นดินใหญ่ เพื่อล้างแค้นต่อการถูกกดขี่
1
นอกจากนี้ยังมีความพยายามปลุกระดมให้มี “การปฏิวัติประชาชนบนเกาะ” ผ่านสถานีวิทยุ ทำให้ฝ่ายประชาชนสามารถยึดครองพื้นที่ได้อย่างรวดเร็วในเวลาเพียงไม่กี่วัน จากนั้นกองกำลังอาสาจึงนำเสนอ “ข้อเรียกร้อง 32 ประการ” ที่มีใจความสำคัญคือ “ให้จัดการเลือกตั้งรัฐบาลท้องถิ่นอย่างโปร่งใสและกระจายอำนาจการบริหารจากส่วนกลาง”
1
ภาพแนบ: นายพลเฉินอี้
ในช่วงแรกรัฐบาลก๊กมินตั๋งมีท่าทีโอนอ่อนไปกับข้อเสนอ เพื่อรอกำลังเสริมจากแผ่นดินใหญ่มาสมทบ จากนั้นนายพลเฉินอี้ผู้บัญชาการก็อนุมัติการสังหารผู้ต่อต้านแบบไม่เลือกวิธี จนมีผู้เสียชีวิตจากการถูกยิงบนท้องถนน, การบุกยิงในเคหะสถาน, และการทรมานผู้ต้องสงสัยรวมถึงการข่มขืนอย่างน้อย 10,000 ราย (บางแหล่งเชื่อว่าตัวเลขแท้จริงอาจสูงกว่าจำนวนดังกล่าวอีกเท่าตัว)
2
ภาพแนบ: เจียงไคเช็ก
แม้การประท้วงในไต้หวันจะถูกปราบจนสงบราบคาบ แต่สถานการณ์บนแผ่นดินใหญ่ของฝ่ายก๊กมินตั๋งขณะนั้นกลับอยู่ในขั้นวิกฤต
1
หลังความพ่ายแพ้ในการต่อสู้กับฝ่ายคอมมิวนิสต์นับครั้งไม่ถ้วน เจียงไคเช็กตระหนักว่าควรอพยพกำลังส่วนที่เหลือข้ามช่องแคบไปยังพื้นที่หมู่เกาะ
ภาพแนบ: กฎอัยการศึก 1949
ระหว่างนั้นเจียงได้ประกาศกฎอัยการศึกในวันที่ 20 พฤษภาคม 1949 ด้วยเหตุผลยอดนิยมของเผด็จการแห่งโลกเสรีคือ “การปกป้องความมั่นคงของชาติและจัดการกับปฏิปักษ์ของรัฐโดยเฉพาะสายลับของพวกคอมมิวนิสต์ที่แฝงตัวมาจากแผ่นดินใหญ่”
เขามอบอำนาจให้กองทัพอย่างมากตั้งแต่การประกาศเคอร์ฟิวตอนกลางคืน, ห้ามประชาชนก่อตั้งพรรคหรือมีส่วนร่วมทางการเมืองไปจนถึงห้ามการแสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์รัฐ เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนคิดกระทำการใดๆ เหมือนที่เกิดขึ้นในปี 1947 อีก
แม้จะเลวร้ายแค่ไหนแต่ต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องปกติ ณ เวลานั้น เนื่องจากการเผชิญหน้าระหว่างฝ่ายโลกเสรีนำโดยสหรัฐอเมริกาและโลกสังคมนิยมใต้ปีกสหภาพโซเวียตกำลังดำเนินไปอย่างดุเดือด
1
ถึงประเทศหนึ่งจะปกครองแบบเผด็จการกดขี่ชาวบ้านอย่างไร แต่ขอเพียงสนับขั้วอำนาจใหญ่ข้างใดข้างหนึ่ง ก็จะสามารถปกครองประเทศแบบเบ็ดเสร็จตามอำเภอใจ
ภาพแนบ: ผู้เสียชีวิตจาก White Terror
ยุคสมัยแห่งความหวาดกลัวนี้ถูกเรียกภายหลังว่า “ความน่าสะพรึงกลัวสีขาว” หรือ White Terror
2
มันมักถูกนำไปเปรียบเทียบกับการกดขี่ภายใต้เผด็จการคอมมิวนิสต์ (ที่มักถูกแทนด้วยสีแดง) ว่าเผด็จการของโลกทุนนิยม (ที่แทนด้วยสีขาว) ก็ชั่วร้ายได้ไม่แพ้กัน
2
ภาพแนบ: ผู้แทนจีนหัวเราะร่าเมื่อทราบข่าวสมัชชาสหประชาชาติลงมติให้รับจีนเป็นสมาชิก และขับไต้หวันออก เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 1971
*** จุดเปลี่ยนของไต้หวัน ***
เวลาต่อมา หลังสตาลินเสียชีวิต จีนเกิดแตกคอกับโซเวียต เพราะมองคอมมิวนิสต์ไม่ตรงกัน อเมริกาเลยฉวยโอกาสผูกมิตรกับจีนเพื่อคานอำนาจ
1
ในปี 1971 สหประชาชาติ (UN) มีมติยอมรับสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) เป็นสมาชิก พร้อมทั้งยกให้เป็นสมาชิกถาวรคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ ส่วนสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) กลับถูกขับออกจากตำแหน่งในเวลาต่อค่อมา
1
...เรื่องนี้แม้เป็นคุณต่อฝ่ายทุนนิยม แต่นับเป็นการหักหลังไต้หวันอย่างโหดร้าย
ภาพแนบ: เจียงจิงกว๋อกับพ่อ
เมื่อเจียงไคเช็กเสียชีวิตในปี ค.ศ 1975 ทำให้ตำแหน่งผู้นำประเทศถูกส่งต่อไปยังลูกชายอย่าง “เจียงจิงกว๋อ” ที่แม้จะเป็นเผด็จการแต่มีแนวทางบริหารต่างจากบิดา โดยเน้นพัฒนาศักยภาพด้านเศรษฐกิจ และเปลี่ยนนโยบายการต่อต้านจีนแผ่นดินใหญ่ในยุคของพ่อมาเป็นการช่วงชิงพื้นอันน้อยนิดที่เหลืออยู่บนเวทีโลก
4
นอกจากนโยบายระหว่างประเทศ เจียงจิงกว๋อยังอนุมัติแผนพัฒนาเส้นทางคมนาคมต่างๆ รวมถึงปฏิรูปที่ดินเพื่อการเพาะปลูกให้กับชาวไต้หวัน ทำให้ประเทศเจริญขึ้นเป็นอันมาก
ภาพแนบ: เจียงจิงกว๋อตอนแก่
อนึ่งเจียงจิงกว๋อเป็นประธานาธิบดีคนที่สาม ประธานาธิบดีคนที่สองของไต้หวันคือ เหยียนเจียกั้น ผู้มารับตำแหน่งตามวาระที่เหลืออยู่ของเจียงไคเช็กตั้งแต่ปี 1975-1978 แต่ไม่มีบทบาทโดดเด่นนัก
1
ต้องยอมรับว่าแผนการพัฒนาเศรษฐกิจของเจียงจิงกว๋อ ช่วยให้ไต้หวันพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดดจนเป็นที่ประจักษ์ แม้จะยังถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการใช้อำนาจแบบเผด็จการ แต่ถือว่าชื่อเสียงดีกว่าเจียงไคเช็ก
*** ตัดเข้าช่วงโฆษณา ***
ขอโฆษณาว่าหนังสือ "ประวัติย่อก่อการร้าย War on Terror" ที่พิมพ์ครั้งก่อนขายหมดจากตลาดไปนานแล้ว มีแผนจะพิมพ์ใหม่ปลายปีนี้นะครับ
1
ตอนแรกว่าใกล้ๆ เสร็จแล้วค่อยทำโปร แต่เหตุการณ์ในอัฟกานิสถานและรำลึก 9/11 ทำให้มีคนถามมาเยอะเหลือเกิน เลยเปิดให้จองก่อน
- หนังสือเล่มนี้เล่าเรื่องประวัติของขบวนการก่อการร้ายสากลตั้งแต่ยุคอัลเคดามาต่อ ISIS
- ผมตั้งใจจะเพิ่มเนื้อหาให้อัพเดทถึงปัจจุบัน
- พิมพ์เป็นสี่สีแน่นอน
- ปกพิมพ์สีเมทัลลิก ปั้มนูนและปั้มเงินที่ชื่อเหมือนเล่มสุริยันพันธุ์เคิร์ด รับรองว่าสวยมาก เหมาะแก่การสะสม สำนักพิมพ์ The Wild Chronicles เราพิมพ์เองแล้วจะทำอะไรก็ได้ 555
- มีเซ็นลายเซ็นพิเศษประจำเล่มให้ครับ
- ราคาอยู่ที่ 389 บาท สั่งพรีออเดอร์ตอนนี้ลดเหลือ 369 บาท และฟรีค่าส่งในประเทศ (ปกติค่าส่ง 50 บาทครับ ส่วนต่างประเทศก็ตามจริง)
- สนใจชำระและใส่ที่อยู่ที่ link แนบได้เลย อนึ่งระบบนี้จะมีเมลคอนเฟิร์มไปแต่ช้าหน่อยนะครับ
นอกจากนี้ ขอโฆษณาว่าหนังสือ “สุริยันพันธุ์เคิร์ด” หรือหนังสือเล่มใหม่ของผมออกแล้วนะครับ มีรายละเอียดดังนี้...
- เรื่องนี้เป็นหนังสือประวัติศาสตร์ชาวเคิร์ด ผลงานเล่มล่าสุดในชุด The Wild Chronicles
1
- พิมพ์เป็นสี่สี!
- ยาวที่สุดเท่าที่พิมพ์มา ยาวกว่าพยัคฆ์ทมิฬสิ้นชาติราว 2 เท่า
1
- รูปโหดๆ ที่ทำให้เข้าใจสถานการณ์ดีขึ้น จะไม่เซนเซอร์ แต่จะรวมอยู่ท้ายเล่ม และมีคำเตือนก่อน
- มีลายเซ็นทุกเล่ม!
- ราคา 439 บาท รวมค่าส่งแล้ว
ท่านที่ต้องการพรีออเดอร์สามารถชำระ และใส่ที่อยู่ทาง link แนบได้เลย
อนึ่งชาวเคิร์ดเป็นชนกลุ่มน้อยในตะวันออกกลาง มีราว 30 ล้านคน หากไม่มีประเทศของตนเอง พวกเขาแตกเป็นหลายส่วนและถูกกดขี่อย่างหนัก แต่การถูกกดขี่เคี่ยวกรำนั้นทำให้พวกเขากลายเป็นนักรบที่เก่งกาจ
หนังสือเล่มนี้เขียนเรื่องราวของชาวเคิร์ดตั้งแต่ยุคตำนานจนถึงประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ซึ่งมีความพีคแล้วพีคอีก ผ่านสงครามใหญ่ๆ มากมาย เช่นสงครามอิรัก - อิหร่าน, สงครามอ่าวเปอร์เซีย, สงครามปราบซัดดัม, สงครามกลางเมืองอิรัก, สงครามปราบกลุ่มก่อการร้าย แต่ละสงครามที่ว่ามานี้มีสเกลใหญ่เป็นรองแค่สงครามโลก
ชาวเคิร์ดมีส่วนร่วมในสงครามเหล่านี้ทั้งหมดในฐานะชนกลุ่มน้อยที่ไม่รวยแต่รบเก่ง พอมีคนมาติดอาวุธให้เลยมักกลายเป็นไพ่โจ๊กเกอร์ที่เปลี่ยนผลชี้ขาดของสงคราม
อย่างไรก็ตามศัตรูอันดับหนึ่งของชาวเคิร์ดคือเผด็จการซัดดัม ฮุสเซนนั้นก็โหดมาก โหดโคตรๆ ใครเคยอ่านพยัคฆ์ทมิฬสิ้นชาติ หรือเชือดเช็ดเชเชน ผมบอกได้ว่าไอ้นี่ก็โหดไม่แพ้กัน หรือเผลอๆ โหดกว่า ดังนั้นการต่อสู้ของชาวเคิร์ดมันจึงเป็นเรื่องที่หลอนและดุเดือดมากๆ
หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นจากประสบการณ์ที่ผมได้ไปเยือนดินแดนเคอร์ดิสถานอิรัก (และหนีมิสไซล์มา) เมื่อต้นปี 2020 เพื่อนชาวเคิร์ดที่ผมสัมภาษณ์ทุกคนเป็นผู้รอดชีวิตจากทุกสงครามข้างต้น ทำให้มีข้อมูล ความเห็น และมุมมองของคนต่างๆ ที่ลึกกว่าในตำรา แน่นอนว่าประสบการณ์ของพวกเขาดาร์คมาก แต่เขาหลายคนไม่ได้มองโลกในแง่ร้ายขนาดนั้น พวกเขาตีความสิ่งที่พบเจออย่างไร ลองตามอ่านดูนะครับ
"สุริยันพันธุ์เคิร์ด" ตั้งใจพิมพ์เป็นสี่สี เป็นหนังสือที่ยาวที่สุดตั้งแต่ผมเขียนสารคดีชุด The Wild Chronicles มา
อีกครั้งนะครับ ท่านที่ต้องการพรีออเดอร์หนังสืออย่างเดียว สามารถชำระ และใส่ที่อยู่ทาง link นี้ได้เลย 439 บาท รวมค่าส่งแล้ว (ในประเทศ) ถ้าบางท่านอยู่ต่างประเทศมีค่าส่งพิเศษจะแจ้งอีกที
ภาพแนบ: ผู้ชุมนุมที่โดนจับกุม
*** เส้นทางประชาธิปไตย ***
ในวันที่ 10 ธันวาคม 1979 กลุ่มต่อต้านรัฐบาลพยายามจะจัด “งานฉลองวันสิทธิมนุษยชน” ก่อนมีการจะปะทะกับตำรวจควบคุมฝูงชน จนนำไปสู่การเผชิญหน้าที่จบลงด้วยการใช้แก๊สน้ำตาปราบปรามผู้ชุมชมในช่วงกลางคืน จนมีผู้ถูกจับกุมถึง 152 ราย
1
ในจำนวนนี้มีสมาชิกระดับแกนนำ 8 รายที่ถูกศาลตัดสินจำคุก 12 ปี ถึงตลอดชีวิต เนื่องพยายามล้มล้างการปกครองของรัฐบาลตามคำสั่งของพรรคคอมมิวนิสต์
อย่างไรก็ตามผู้ต้องหาทั้งหมดยังสามารถร้องขอทนายเพื่อต่อสู้จนได้รับอิสรภาพในที่สุด เพราะรัฐบาลตัดสินใจลดทอนอำนาจเผด็จการลง
ภาพแนบ: เฉินชุยเปียง ประธานพรรค DPP คนแรก
ระหว่างการดำรงตำแหน่งในสมัยที่สอง ประธานาธิบดีเจียงจิงกว๋อได้เริ่มผ่อนคลายกฎอัยการศึก รวมถึงอนุญาตให้มีการตั้งพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามอย่างพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (DPP) ในปี 1986 ก่อนจะประกาศยกเลิกกฎอัยการศึกในปีถัดมา
1
ภาพแนบ: TSMC หรือ Taiwan Semiconductor Manufacturing Company บริษัทเซมิคอนดักเตอร์แรกของไต้หวัน
ภายหลังประกาศยกเลิกกฎอัยการศึก รัฐบาลไต้หวันพยายามผลักดันให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทนำในการสร้างจุดยืนบนเวทีโลก หันไปจับอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งเป็นธุรกิจใหม่ที่ยังมีผู้เล่นจำกัดและไต้หวันมีแรงงานที่มีฝีมือจำนวนมากในราคาที่บริษัทผู้ผลิตพึงพอใจ
การเปลี่ยนแปลงนโยบายที่รวดเร็วและชาญฉลาดนี้ ส่งผลให้เศรษฐกิจภายในก้าวกระโดดอย่างรวดเร็ว โดยมีมูลค่าเฉลี่ยเติบโตปีละ 7.5 เปอร์เซ็นต์
3
ไต้หวันกลายสภาพเป็นผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ของโลกเรื่อยมา จนได้รับการเรียกขานว่าเป็นหนึ่งในสี่ “เสือเศรษฐกิจของเอเชีย” เช่นเดียวกับ เกาหลีใต้, สิงคโปร์ และฮ่องกง มาจนถึงปัจจุบัน
3
ภาพแนบ: การเคลื่อนไหวดอกลิลลี่ป่า
*** ไต้หวันยุคใหม่ ***
3
ในวันที่ 16 มีนาคม ปี ค.ศ. 1990 นักศึกษาจำนวน 9 คนได้รวมตัวประท้วงหน้าลานของอนุสรณ์สถานเจียงไคเช็ก เพื่อเรียกร้องให้เกิดการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรและประธานาธิบดีจากเสียงของประชาชนโดยตรง แทนการแต่งตั้งจากสภาที่เต็มไปด้วยสมาชิกหน้าเดิมของพรรคก๊กมินตั๋ง
2
จากนั้นจำนวนผู้ประท้วงได้เพิ่มขึ้นเป็นหลักหลายแสนคน จนเหตุการณ์ดังกล่าวถูกเรียกว่า “การเคลื่อนไหวดอกลิลลี่ป่า” เนื่องจากดอกลิลลี่นั้นจะยิ่งเบ่งบานเมื่อถูกเด็ดออก เสมือนการเตือนรัฐบาลว่าประชาชนจะมีพลังมากขึ้นหากรัฐยิ่งกดดัน
1
ภาพแนบ: หลี่เติงฮุย
พัฒนาการทางการเมืองที่รวดเร็วนี้ ส่งผลให้ประธานาธิบดี “หลี่เติงฮุย” ซึ่งสืบอำนาจจากเจียงจิงกว๋อ ตัดสินใจเจรจากับตัวแทนฝ่ายประชาชนเพื่อเดินหน้าสู่ระบอบประชาธิปไตย พร้อมกับแสดงความจริงใจด้วยการสั่งปลดรัฐมนตรีและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามประชาชนในยุค “ความน่าสะพรึงสีขาว” ออกจากตำแหน่ง นอกจากนั้นตั้งคณะกรรมาธิการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และยกเลิกบทบัญญัติต่อต้านคอมมิวนิสต์
1
แม้ว่าการตัดสินใจดังกล่าวจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ในภายหลังว่าเป็นเพียงการหาทางออกให้กับรัฐบาลที่กำลังประสบกับภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกจากแรงกดดันของประชาชน แต่ก็ถือเป็นก้าวที่สำคัญเพื่อปูทางสู่การเลือกตั้งซึ่งทำให้ชาวไต้หวันได้มีสิทธิมีเสียงเป็นครั้งแรกในวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1996
ทั้งนี้นายหลี่เติงฮุยยังคงได้รับความไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งเป็น “ประธานาธิบดีตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย” และกลายเป็นผู้รับช่วงความพยายามพัฒนาประเทศของเจียงจิงกว๋อ (เสียชีวิตในปี 1987) พร้อมกับนำพาความฝันของประชาชนที่ต่อสู้เพื่อให้พวกเขากลายเป็น “เสรีชนบนแผ่นดินที่ตนเองอาศัยอย่างเต็มภาคภูมิ”
1
*** การเปลี่ยนไปของก๊กมินตั๋ง ***
หลังสมัยหลี่เติงฮุย ค่ายการเมืองหลักๆ ในไต้หวันแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรก คือ “แนวร่วมสีเขียว” (Pan-Green Coalition) นำโดยพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า ซึ่งยอมรับว่าไต้หวันมีสิทธิ์แค่ในเขตเกาะไต้หวันและเกาะรอบนอกอีกจำนวนหนึ่ง ต้องการแยกไต้หวันเป็นอิสระ ไม่ต้องลำบากประนีประนอมกับจีนแผ่นดินใหญ่
1
ส่วนอีกกลุ่มคือ “แนวร่วมสีฟ้า” (Pan-Blue Coalition) นำโดยพรรคก๊กมินตั๋ง ซึ่งยังถือว่าไต้หวันเป็นจีน และแม้ไม่ยอมรับความชอบธรรมของรัฐบาลคอมมิวนิสต์แต่ก็คุยกับจีนด้วยง่ายกว่า เพราะยังมีความอินกับชาตินิยมเหมือนกัน
1
ภาพแนบ: การประชุมครั้งประวัติศาสตร์ระหว่างจีนกับไต้หวันเมื่อปี 1993
...ณ จุดนี้หลักการจีนเดียวของก๊กมินตั๋งได้กลายพันธุ์จาก "จะต้องไปยึดจีนแผ่นดินใหญ่กลับมา" เป็น "ไม่สนับสนุนการแยกตัวเป็นเอกราช " และพวกเขายังไม่พยายามทวงสิทธิ์เหนือจีนแผ่นดินใหญ่อย่างเข้มข้นเหมือนก่อน...
2
ต่อมาพรรคก๊กมินตั๋งไปยอมรับฉันทามติ 1992 (1992 Consensus) ซึ่งยืนยันว่ายังมีจีนเดียวอยู่ แต่จีนกับไต้หวันตีความต่างกันเท่านั้น ซึ่งเท่ากับว่าก๊กมินตั๋งจะไม่ประกาศเอกราชไต้หวัน จะคงสถานะอย่างในปัจจุบัน และหวังว่าสักวันหนึ่งคงจะได้รวมกับจีนแผ่นดินใหญ่
2
ภาพแนบ: หม่าอิงจิ๋ว
จากนั้นจีนและไต้หวันมีการพัฒนาความสัมพันธ์โดยลำดับ ในปี 2009 สมัยอดีตประธานาธิบดี "หม่าอิงจิ๋ว" จากพรรคก๊กมินตั๋ง คณะกรรมการกำกับการเงินของไต้หวันเปิดรับการลงทุนจากจีนแผ่นดินใหญ่เป็นครั้งแรกนับแต่สิ้นสุดสงครามกลางเมือง
*** เหตุการณ์ปัจจุบัน ***
ในเวลาต่อมาความขัดแย้งระหว่างสองจีนก็เริ่มลดความตึงเครียดลง โดยมีการจัดทำ “ข้อตกลงตามกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ” หรือ ECFA ในปี 2010
อย่างไรก็ตาม ท่าทีของรัฐบาลที่เริ่มแสดงความใกล้ชิดกับแผ่นดินใหญ่มากขึ้นทุกขณะ กลายเป็นจุดเริ่มต้นของ “ขบวนการนักศึกษาดอกทานตะวัน”
เยาวชนกลุ่มนี้มองว่า “พวกเขาคือชาวไต้หวันที่เติบโตมาในสังคมประชาธิปไตย ไม่ใช่ชาวจีน” ส่งผลให้นักศึกษาราว 10,000 คนรวมตัวกันเป็น เพื่อต่อต้าน “ข้อตกลงเศรษฐกิจข้ามช่องแคบ” (Cross Strait Service Trade Agreement) ที่พวกเขาเชื่อว่าเป็นนโยบายที่พยายามเอาใจรัฐบาลแผ่นดินใหญ่ จนมีผู้เข้าร่วมเพิ่มเป็นหลายแสนคนในเวลาเพียง 23 วัน
แรงกระเพื่อมทางการเมืองดังกล่าว กลายเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยให้พรรค DPP หันกลับมาเปลี่ยนวิธีการหาเสียงในโค้งสุดท้าย ด้วยการเสนอนโยบายการบริหารสนองต่อประโยชน์, สวัสดิภาพ, และเสรีภาพของชาวไต้หวัน แต่ยังรักษาพื้นที่การเจรจากับรัฐบาลจีนเพื่อหาทางออกโดยสันติวิธีเท่าที่จะสามารถดำเนินการได้
...ส่งผลให้ “ไช่อิงเหวิน” กลับมาเป็นฝ่ายกุมชัยชนะในการเลือกตั้งปี 2016 เหนือพรรคก๊กมินตั๋งด้วยเสียงสนับสนุนของกลุ่มคนรุ่นใหม่
1
*** สีจิ้นผิง vs. ไช่อิงเหวิน ***
สีจิ้นผิงมีท่าทีชัดเจนว่าต้องการรวมไต้หวันคืนมาเป็นจีนเดียว โดยมีการฝึกซ้อมรบ และส่งเครื่องบินและเรือรบเข้าล้ำเขตของไต้หวันแทบไม่เว้นวัน สั่งห้ามนำเข้าสินค้าบางชนิดจากไต้หวัน โดยอ้างว่าเนื่องจากพบเชื้อโรคปนเปื้อน, นอกจากนั้นยังเชื่อว่ารีบพาจีนเข้า CPTPP เพื่อกีดกันไต้หวัน
1
ภาพแนบ: สำนักงานชาติไต้หวัน กรุงวอชิงตันฯ
อย่างกรณีล่าสุดเมื่อ 17 ก.ย. ที่ผ่านมา จีนส่งเครื่องบินรบ 25 ลำ บินผ่านเขตป้องกันภัยทางอากาศของไต้หวัน เนื่องจากไต้หวันขอเปลี่ยนชื่อสำนักงานคณะทูตไต้หวันที่กรุงวอชิงตันฯ จาก “สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป” หรือ Tecro เป็น “สำนักงานชาติไต้หวัน” (Taiwan Representative Office) ซึ่งเน้นความเป็นชาติอธิปไตยของไต้หวัน
1
เพื่อคานอำนาจจีน สหรัฐกับสหภาพยุโรปดูเหมือนจะสนับสนุนให้ไต้หวันมีที่นั่งในองค์การระหว่างประเทศมากขึ้น
4
สภาสหรัฐเสนอร่างกฎหมาย 5 ฉบับที่มีเนื้อหาสนับสนุนไต้หวันในด้านการป้องกันประเทศช่วงระหว่างปี 2018 ถึง 2020 รวมทั้งร่างกฎหมายสนับสนุนให้สหรัฐสนับสนุนไต้หวันให้ได้เป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น UN หรือ WHO
1
ส่วนด้านรัฐสภายุโรปกระตุ้นให้สหภาพยุโรปเจรจาข้อตกลงการค้ากับไต้หวันให้เร็วขึ้น และพยายามสนับสนุนให้ไต้หวันมีสถานะผู้สังเกตการณ์ใน UN (แบบปาเลสไตน์และวาติกัน ซึ่งปัจจุบันไต้หวันไม่มีแม้สถานะเช่นนี้)
*** สรุป ***
ไต้หวันได้พิสูจน์ตัวเองมากมายมาตลอดระยะเวลาการสร้างชาติกว่า 72 ปี จนสามารถยืนหยัดในฐานะของชาติที่มีสเถียรภาพทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม ศึกของไต้หวันยังไม่จบ พวกเขายังต้องเผชิญหน้ากับจีนแผ่นดินใหญ่ซึ่งมีแสนยานุภาพมากขึ้นจนทำให้มหาอำนาจเดิมอย่างอเมริกาต้องลุกตื่นตัว
ที่ผ่านมาไต้หวันได้ปรับเปลี่ยนและก้าวข้ามอุปสรรคนานาประการภายใต้การถูกกดดันอย่างรุนแรงจากชาติมหาอำนาจ และยังสามารถยืนได้อย่างสง่างาม ...สิ่งนี้ย่อมไม่ธรรมดาเลยสำหรับรัฐเล็กๆ ที่องค์การระดับโลกไม่ได้ยอมรับเป็นประเทศด้วยซ้ำ
2
แม้ว่าเราอาจยังคาดการณ์ไม่ได้ว่าบทสรุปของความขัดแย้งครั้งล่าสุดนี้จะมีผลออกมาเป็นอย่างไร แต่สิ่งที่เราได้เรียนรู้จากเรื่องราวนี้คือ ประวัติศาสตร์การดิ้นรนของชาติเล็กที่ต้องเอาตัวรอดท่ามกลางสถานการณ์จำเพาะพิเศษ ตลอดจนต้องพยายามหาที่ยืนหยัดในเวทีโลก และการไม่ยอมแพ้ของพวกเขานั่นเอง
3
::: บทความเรื่องไต้หวัน :::
- เป็นจีนหรือไม่จีน? การค้นหาตัวตนและอนาคตของไต้หวัน https://www.facebook.com/pongsorn.bhumiwat/posts/4405512882858720
- เส้นเก้าขีด และข้อพิพาทหมู่เกาะสแปรตลี https://www.facebook.com/pongsorn.bhumiwat/posts/4399054936837848
- ศึกทะเลจีนใต้! สงครามเย็น 2.0 จีน-อเมริกา https://www.facebook.com/pongsorn.bhumiwat/posts/4409807095762632
- One China โลกนี้ต้องมีจีนเดียว https://www.facebook.com/pongsorn.bhumiwat/posts/4405731592836849
- หวั่นจีนแย่งไต้หวันเป็นสมาชิก CPTPP https://www.facebook.com/pongsorn.bhumiwat/posts/4392118984198110
ท่านที่สนใจอ่านเรื่องราวแปลกๆ จากรอบโลกสามารถสมัครเข้ากลุ่ม illumicorgi
อนึ่งกลุ่มนี้เป็นกลุ่ม exclusive ผมจะใช้ลงบทความพิเศษ ซึ่งมีเนื้อหาเจาะลึกกว่าที่ลงในเพจ The Wild Chronicles และบทความส่วนใหญ่ในกลุ่มจะเกี่ยวกับธีมของหนังสือที่ผมกำลังเขียน
ผู้ที่ต้องการสมัครเข้ากลุ่มให้ทำดังนี้เลยนะครับ
(1) กดสมัคร Line OA ของ The Wild Chronicles มาทาง link นี้ https://lin.ee/fNEO1jr
(2) กด add เป็นเพื่อน
(3) กด chat
(4) จากนั้น พิมพ์ชื่อที่ท่านใช้ใน Facebook มาทางช่องแชทของ Line OA เพื่อให้ทีมงานบ่งชี้ได้ว่าบัญชีของท่านสมัครมาแล้ว
(5) จากนั้นจะมีแอดมินมาคุยกับท่าน ให้แจ้งประเภทสมาชิกที่ท่านต้องการสมัคร แอดมินจะส่ง link เพื่อชำระค่าสมาชิก และแนะนำวิธีการเข้ากลุ่มต่อไป
::: ::: :::
สนใจอ่านเรื่องประวัติศาสตร์ สงคราม เรื่องต่างประเทศ กดติดตาม เพจ The Wild Chronicles ได้เลยนะครับ https://facebook.com/pongsorn.bhumiwat
โฆษณา