11 ต.ค. 2021 เวลา 02:43 • การเมือง
ผลกระทบจากเชียร์โนบีล
โดย
1
นิติภูมิธณัฐ
มิ่งรุจิราลัย
8 ตุลาคม 2564 สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคและความปลอดภัยด้านอาหารของเยอรมนี ออกแถลงการณ์ว่าพบสารซีเซียม-134 และซีเซียม-137 เข้มข้นสูง จากเห็ดที่เก็บในป่าของเยอรมนี
https://www.chalmers.se/en/centres/saint/news/Pages/radioactive-caesium.aspx
สำนักงานฯ รายงานว่า วัสดุกัมมันตภาพรังสีที่เกิดจากเครื่องปฏิกรณ์หน่วยที่ 4 ของโรงงานผลิตไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ของสหภาพโซเวียตระเบิดเมื่อ พ.ศ. 2529 ยังคงตกค้างอยู่ตามป่า และการปนเปื้อนวัสดุกัมมันตภาพรังสีนี้ยังจะคงอยู่ไปอีกนาน
26 เมษายน 2529 เครื่องปฏิกรณ์หน่วยที่ 4 ระเบิดที่เมืองเชียร์โนบิลของโซเวียต มีคนตายทันที 34 คน กัมมันตภาพรังสีแพร่กระจายไปในรัศมี 32 กม. รัฐบาลต้องอพยพผู้คน 1.35 แสนคนออกจากชุมชนและหมู่บ้าน 100 แห่ง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 4.3 หมื่นตร.กม.
กัมมันตภาพรังสีที่รั่วไหลมีปริมาณเท่ากับระเบิดนิวเคลียร์ที่สหรัฐใช้ถล่มเมืองฮิโรชิมาและนางาซากิเมื่อปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 มีกัมมันตภาพรังสีรั่วมากกว่าเมื่อครั้งเกิดอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของสหรัฐที่เกาะทรีไมล์ รัฐเพนซิลเวเนียเมื่อ พ.ศ. 2522 ถึง 1,000 เท่า
https://www.reuters.com/world/unsealed-soviet-archives-reveal-cover-ups-chernobyl-plant-before-disaster-2021-04-26/
อุบัติเหตุที่เชียร์โนบีลเป็นหนึ่งในหลายสาเหตุที่ทำให้โซเวียตล่ม ตอนนั้นกอร์บาชอฟเป็นประธานาธิบดีสหภาพโซเวียต+ประธานคณะผู้บริหารสูงสุดของรัฐสภาโซเวียตแห่งสหภาพโซเวียต + เลขาธิการใหญ่ของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต
2
แกเริ่มนโยบายเปิด-ปรับหรือกลาสนอสต์-เปเรสตรอยกา เพื่อปฏิรูประบบเศรษฐกิจ การเมือง และความร่วมมือกับนานาประเทศ
2
นายกอร์บาชอฟใช้อุบัติเหตุเชียร์โนบีลหาคะแนนด้วยการเล่าเรื่องอุบัติเหตุให้ประชาชนรู้ทุกแง่ทุกมุม กอร์บาชอฟบอกว่านโยบายกลาสนอสต์ของแกจะไม่ปิดบังประชาชนด้านข่าวสารและข้อมูลอีกต่อไป
1
ตอนนั้นผู้คนทั้งในและต่างประเทศบ้านโยบายเปิด-ปรับของกอร์บาชอฟมาก บ้าจนเลยเถิด สิ่งใดไม่ควรเปิดก็เปิด เปิดเผยแม้แต่ความลับสำคัญของชาติ
1
เราเรียกโซเวียตในสมัยนั้นว่าประเทศหลังม่านเหล็ก ไม่ค่อยมีคนรู้อะไรเกี่ยวกับหลังม่านเหล็ก ประเทศอื่นจึงกลัวเพราะไม่รู้ว่าหลังม่านเหล็กมีอะไรอยู่บ้าง
1
แต่พอเปิดทั้งหมด สหรัฐและพวกตะวันตกก็ยิ้มหวาน วางแผนบล็อกและทำลายจนโซเวียตล่มในปลาย พ.ศ. 2534
1
อุบัติเหตุโรงไฟฟ้าเชียร์โนบิลทำให้โลกรู้ว่าเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของโซเวียตไม่ได้มาตรฐานสากล
ระบบการหยุดเดินเครื่องและพวกเครื่องมืออุปกรณ์มีคุณภาพต่ำ ไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบการเดินเครื่องและควบคุมดูแล ทำให้โลกรู้ว่าพวกโซเวียตขาดเรื่อง Safety Culture หรือวัฒนธรรมความปลอดภัยที่ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
2
ผิดกับเมื่อครั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของสหรัฐที่เกาะทรีไมล์ รัฐเพนซิลเวเนีย ระเบิดเมื่อ พ.ศ. 2522 ตอนนั้นสหรัฐไม่ได้ให้ข่าวอะไรมาก เพียงแต่บอกว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดแล้วก็จบ แต่ของโซเวียต โอ้โฮ สื่อต่างประเทศเล่นข่าวกันทุกแง่ทุกมุม ในโซเวียตเองก็เกิดบรรยากาศเสรีทางความคิดและการแสดงออกอย่างกว้างขวาง
2
รัฐบาลสหภาพโซเวียตที่เคยแข็งแกร่งต้องกลายมาเป็นยอบแยบเพราะประชาชนคนโซเวียตต่างรวมตัวกันเป็นกลุ่ม ชมรม สโมสร องค์กร ฯลฯ ตอนแรกก็รวมตัวกันเพื่อติดตามเรื่องเชียร์โนบีล
ต่อมาก็ลามปามไปเรื่องการเมือง การปกครอง ทั้งข่าวจริง ข่าวเท็จ ถูกปล่อยจนกระทั่งรัฐบาลจนปัญญาที่จะแก้ไข
1
ตั้งแต่อุบัติเหตุเชียร์โนบีล สังคมโซเวียตก็เข้าสู่สมัยธอว์ (Thaw) หรือสมัยหิมะละลาย เป็นการผ่อนคลายความเข้มงวดทางสังคมอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
1
เชียร์โนบีลทำให้เศรษฐกิจสหภาพโซเวียตเป๋ ผลิตอะไรขึ้นมาคนทั้งโลกก็ไม่ซื้อ เพราะกลัวสารปนเปื้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าเกษตร สาธารณรัฐที่ขายสินค้าเกษตรแทบไม่ได้เลยก็คืออูเครน เบลารุส และรัสเซีย
ตอนนั้นอูเครน เบลารุส และรัสเซีย เป็น 3 ใน 15 สาธารณรัฐที่ประกอบกันเป็นสหภาพโซเวียต ขายของไม่ออกเพราะโรงไฟฟ้าเชียร์โนบีลอยู่ที่เมืองเชียร์โนบีล เมืองใกล้ชายแดนเบลารุสและรัสเซีย อยู่ห่างจากกรุงคีฟ เมืองหลวงของอูเครนแค่ 120 กิโลเมตร
1
อุบัติเหตุเชียร์โนบิลทำให้นมผงสำหรับเด็กที่ผลิตในนิวซีแลนด์และออสเตรเลียขายดีเป็นเทน้ำเทท่า เพราะคนไม่กล้าให้ลูกหลานตัวเองกินนมจากวัวที่อยู่ในทุ่งหญ้าของยุโรป
1
ถึงวันนี้ 35 ปีแล้ว สารกัมมันตรังสีของเชียร์โนบีลยังอยู่.
โฆษณา