12 ต.ค. 2021 เวลา 06:46 • ปรัชญา
The Matrix and Philosophy : welcome to the desert of the real ชื่อภาษาไทยตามหน้าปก อัญมณีแห่งปัญญา
เป็นหนังสือแปลที่ถือว่าเก่าแล้ว ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 2547 เล่มที่ได้มา เป็นฉบับตีพิมพ์ครั้งที่7 สภาพดีมาก เหมือนใหม่ เพราะกว่าจะที่หาเจอและมีของก็นานอยู่เหมือนกัน
ซึ่งจำได้ว่าเมื่อก่อนมีรุ่นพี่ที่คลั่งหนังเรื่องนี้ซื้อมาอ่านแล้วบอกว่าไม่เห็นรู้เรื่องเลย ตัวผมเองก็ยืมมาอ่านตอนนั่นก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน
แต่เมื่อวันเวลาผ่านไป การศึกษา ความคิดและประสบการณ์ที่ตกผลึกมากขึ้นทำให้นึกถึงและตามหาหนังสือเล่มนี้อีกครั้ง แล้วก็ได้มันมาอยู่ในมือ...
หนังสือเล่มนี้ให้แง่คิด มุมมองทางปรัชญาหลายๆอย่าง ทั้งในเชิงปรากฎการวิทยา อภิปรัชญา ญาณวิทยา ปรัชญาจิต สุนทรียศาสตร์ จริยศาสตร์ และ ปรัชญาการเมือง เนื้อหาหนังสืออ้างอิงภาพยนตร์เรื่อง The matrix หนังดังไตรภาค เมื่อ 17,18ปีก่อน และได้ข่าวว่ากำลังจะมีภาค4 ฉายเร็วนี้ๆ
เครดิตภาพ : https://www.indiewire.com
แต่ที่แน่ๆ ผู้เขียน หนังสือเล่มนี้ ยกเอาแนวคิดนักปรัชญายุคต่างๆ ทั้ง โสเครตีส, เพลโต, อริสโตเติล, นักบุญอไควนัส, เดส์การ์ต, ค้านท์, ซาร์ต, กามูส์, นิชเช่, มาร์กซ์, มิลล์, ฟรอยด์ และอีกหลายคน ขึ้นมาอ้างอิงเพื่อตอบคำถามที่ว่า...
เรารู้และหวังอะไรได้บ้าง "จริง"คืออะไร "ความสุข" คืออะไร "จิต" คืออะไร "เสรีภาพ"คืออะไร "เรามีเสรีภาพจริงหรือไม่"....
 
"คุณจะเลือกยาเม็ดไหน เม็ดสีแดง หรือสีน้ำเงิน" เป็นไปได้มั้ยว่าเราถูกขังไว้ในเดอะเมทริกซ์
หรือว่าเราเป็นแค่เพียงแบตเตอรี่ให้กับจักกลทรงภูมิ เลือดเนื้อของเราถูกสูบหมุนเวียนเพื่อเป็นพลังงานให้ระบบของมัน
เครดิตภาพ: https://suksit.me
สิ่งที่คิดว่ามันคงมีเพียงในนิยายไซไฟ หรือเป็นเรื่องเพ้อฝันในหนังเท่านั้น มาวันนี้มันทำให้เห็นได้ชัดขึ้นมาก
ระบบออนไลน์ ทำให้มือของเราจับธนบัตรน้อยลง การจับจ่ายใช้สอย และวิถีชีวิตมนุษย์เปลี่ยนไปมาก สถานภาพการเงินของใครต่อใครเป็นเพียงตัวเลขในระบบ
คนสามารถอวดรวย, โชว์สมถะ หรือ เรียกร้องความสนใจ ร้องไห้คร่ำครวญโชว์, เต้นแร้งเต้นกาให้คนอีกซีกโลกดูได้ที่ละมากๆ
แม้คำถามต่างๆมีขึ้นมากมายหลากหลาย แต่กฎสำคัญที่สอดคล้องกับพุทธศาสนาดั้งเดิมคือ "ตื่น"....
ชีวิตเต็มไปด้วยการเลือก ถ้าเราไม่เลือก ก็เท่ากับเราเลือกแล้วที่จะเชื่อว่า อะไรหรือใครก็ตามที่ลิขิตชีวิตให้เรา
เครดิตภาพ : www.schoolofchangemakers.com
คำว่า "พุทธ" ที่เป็นคำนาม ที่มีความหมายว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ซึ่งตรงข้ามกับ ผู้โง่ ผู้หลับ ผู้อับเฉา ถูกครอบงำด้วยอวิชชา
น่าแปลกดี ว่าทำไมมีคำว่า 'หลับ' มีคำว่า'ตื่น'ในศาสนาของพระพุทธองค์
วิรุฬหก
โฆษณา