13 ต.ค. 2021 เวลา 12:24 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีนักฟิสิกส์ 3 คนได้รับเลือกให้ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติอย่าง โนเบลไพรซ์ สาขาฟิสิกส์ ประจำปีนี้ร่วมกัน
1
นักวิทยาศาสตร์ทั้ง 3 คนคือ ชูกุโระ มานาเบะ นักฟิสิกส์ชาวญี่ปุ่น ที่ตอนนี้โอนสัญชาติเป็นอเมริกันไปแล้ว, เคลาส์ ฮัสเซิลมานน์ ชาวเยอรมนี แล้วก็ จอร์โจ ปาริซี ชาวอิตาลี
1
ทั้ง 3 คนได้รับรางวัลทรงเกียรตินี้จากผลงานที่ช่วยให้โลกได้เข้าใจถึงความเชื่อมโยงระหว่างพฤติกรรมของมนุษย์กับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ที่คุกคามความเป็นอยู่ของทุกคนทั่วโลกอย่างหนักอยู่ในเวลานี้
มานาเบะ ประสบความสำเร็จในการสร้างแบบจำลองเพื่อทำนายภูมิอากาศของโลกขึ้นในราวทศวรรษ 1960 ส่วน ฮัสเซิลมานน์ เป็นคนพัฒนาแบบจำลองดังกล่าวให้ครอบคลุมและเชื่อถือได้มากยิ่งขึ้นในการทำนาย “ภาวะโลกร้อน” ในอนาคต
ชูกุโระ มานาเบะ (ภาพ-Reuters)
ทั้งสองคนได้รับรางวัล ครึ่งหนึ่งของจำนวน 10 ล้านสวีดิชโครเนอร์ ไปแบ่งกัน
ส่วน จอร์โจ ปาริซี ได้รางวัลอีกครึ่งไปตามลำพัง จากผลงานในการสร้างแบบจำลองเชิงฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ขึ้นมาอธิบายและคาดการณ์ “ระบบที่
ซับซ้อน” ที่พบในหลายๆ ขอบเขตวิชาการที่แตกต่างกันอย่างเหลือเชื่อ ตั้งแต่คณิตศาสตร์, ชีววิทยา, ประสาทวิทยา เรื่อยไปจนถึงศาสตร์ว่าด้วยการเรียนรู้ของเครื่องจักรกล
ปาริซีทำงานในระดับอนุภาคเป็นหลัก ความสำเร็จของเขาก็คือ ทำให้สามารถเข้าใจถึงรูปแบบการเคลื่อนไหวของอนุภาคขนาดเล็กๆ ที่เคลื่อนไหวสับสน และซับซ้อน ไม่เป็นระเบียบได้ เข้าใจได้ดีถึงขนาดสามารถ “พยากรณ์” ผลลัพธ์ได้อีกด้วย
2
งานของมานาเบะ กับฮัสเซิลมานน์ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับงานของปาริซีก็จริง แต่มีส่วนคล้ายคลึงกันอยู่ไม่น้อย กล่าวคือ เป็นการสร้างแบบจำลองเพื่อทำความเข้าใจในสิ่งที่ละเอียดอ่อนและซับซ้อนยากที่จะเข้าใจให้สามารถเข้าใจได้ และยิ่งไปกว่านั้นคือช่วยให้พยากรณ์ผลลัพธ์ได้
2
ในจำนวนนักวิทยาศาสตร์ทั้ง 3 รายนี้ มานาเบะเป็นคนที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับกันมากที่สุดในแวดวงผู้ที่ทำงานวิชาการด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศด้วยกัน
แกวิน ชมิดท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านแบบจำลองภูมิอากาศของนาซา ระบุว่า งานวิจัยของมานาเบะที่ตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อปี 1967 ถือเป็นผลวิจัยเกี่ยวกับภูมิอากาศ “ที่ทรงอิทธิพลที่สุดเท่าที่เคยมีมา” จนถึงทุกวันนี้
แกเบรียล เวคคี เพื่อนร่วมงานที่พรินซตันของมานาเบะ บอกว่า มีนับครั้งไม่ถ้วนที่คิดว่าตัวเองได้ความคิดใหม่ๆ ขึ้นมา แต่เอาเข้าจริง “ของใหม่” ที่ว่า ปรากฏอยู่ในรายงานผลวิจัยของมานาเบะหมดแล้ว
1
ทอม เดลเวิร์ธ เพื่อนร่วมงานอีกคนเรียกมานาเบะว่า “ไมเคิล จอร์แดน ของวงวิชาการภูมิอากาศ” เลยทีเดียว
1
ประเด็นที่น่าสนใจอย่างมากก็คือ หลังได้รับรางวัลโนเบล นักวิทยาศาสตร์ทั้ง 3 คนไม่มีใครพูดถึงเรื่องผลงานของตัวเองเลยแม้แต่น้อย
1
แต่กลับพูดตรงกันโดยไม่ได้นัดหมาย วิงวอนให้ทุกๆ คนได้ตระหนักถึงความสำคัญและความใหญ่โตของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่ถึงระดับวิกฤตแล้วในเวลานี้
มานาเบะบอกว่า จะผลักดันให้โลกนี้ทำอะไรลงไปสักอย่างเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อนนั้น “ยากกว่าการวิจัยทางฟิสิกส์” ที่ตนเองทำมาตลอด “หลายพันเท่า”
2
ทั้งๆ ที่ภาวะโลกร้อนนั้นถือเป็น “วิกฤตสำคัญ” ของโลกแล้วในเวลานี้
ฮัสเซิลมานน์บอกว่า ไม่รับรางวัลโนเบลก็ได้ ขอให้ไม่มีภาวะโลกร้อนก็พอ
1
ปาริซีที่งานวิจัยไม่ได้เกี่ยวข้องใดๆ กับภาวะโลกร้อน ชี้ว่า ปัญหานี้เป็น “ปัญหาเร่งด่วนใหญ่หลวง” ของคนทั้งโลก ที่ต้องการการตัดสินใจที่เข้มแข็ง และผลักดันให้การดำเนินการแก้ปัญหาทุกอย่างรุดหน้าไปให้เร็วมากๆ เร็วที่สุดได้ยิ่งดี ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป
2
เป็นคำวิงวอนของนักวิทยาศาสตร์ที่รู้และเข้าใจความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้ดีกว่าใครๆ
แต่จะมีใครได้ยิน ได้ฟังและปฏิบัติตามคำร้องขอสักกี่คนกัน
1
โฆษณา