14 ต.ค. 2021 เวลา 12:30 • ธุรกิจ
ในปัจจุบัน แพลตฟอร์มวิดีโอคอนเทนต์ชื่อดังอย่าง Netfilx และ Youtube คงเป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีหรือใช้งานกันทุกวี่ทุกวัน เพราะฉะนั้น แพลตฟอร์มเจ้าอื่นๆ ก็ต้องหาทางเอาตัวรอดจากอิทธิพลของ 2 ยักษ์ใหญ่นี้ ซึ่งส่วนใหญ่ก็มียอมแพ้กันไปบ้าง แต่ไม่ใช่สำหรับเธอคนนี้
.
วันนี้เราจะพาไปรู้จักกับหญิงสาวคนหนึ่งที่ไม่ได้มีเส้นทางชีวิตที่สวยหรูแต่กลับกลายมาเป็นผู้กอบกู้ แพลตฟอร์มออนไลน์ที่ใกล้ตายอย่าง Vimeo ให้มีมูลค่าถึงพันล้าน
.
.
2
#จุดเริ่มต้นกับนายธนาคาร
.
อัญชลี ซัด (Anjali Sud) เกิดในครอบครัวผู้อพยพชาวอินเดียเมื่อปี 1983 ที่รัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา ชีวิตในวัยเด็กของเธอนั้นช่างเรียบง่าย เธอโตมาในชุมชนชาวอินเดียพร้อมกับวัฒนธรรมที่เปิดกว้างแถมมีครอบครัวที่อบอุ่น ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ อัญชลีจะไปร่วมปาร์ตี้อาหารเย็นกับลุงและป้าของเธอทุกครั้ง
.
เมื่ออายุได้ 14 ปี อัญชลีก็ย้ายออกจากมิชิแกนเพื่อไปเรียนต่อในโรงเรียนที่มีชื่อเสียงในรัฐแมสซาชูเซตส์ ในช่วงแรก อัญชลีต้องดิ้นรนอย่างมากในการเรียนตามเพื่อนให้ทันเพราะการเรียนการสอนที่นั่นค่อนข้างยากเกินกว่าที่เด็กอายุ 14 จะเรียน นั่นทำให้เธอสอบตกหลายวิชาในปีแรก และต้องพยายามหนักกว่าคนอื่น
.
เวลาผ่านไปจนถึงช่วงมหาลัย อัญชลีเลือกเข้าศึกษาต่อในคณะบริหารธุรกิจวอร์ตันที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย โดยเธอมีความฝันว่าอยากจะเป็นนายธนาคารหญิงกับเขาดูสักครั้ง พอเรียนจบปริญญาตรี เธอจึงก้าวเท้าออกสู่การสมัครงานตามความฝันของเธอทันที
.
.
3
#โชคชะตาเล่นตลก
.
“คุณไม่มีบุคลิกของนายธนาคารเอาซะเลย” นี่คือคำพูดที่เธอได้รับหลังจากการสัมภาษณ์งานกับธนาคารยักษ์ใหญ่แห่งหนึ่ง ใช่แล้ว อัญชลีโดนปฏิเสธหลายต่อหลายหนไม่ว่าเธอจะสมัครงานไปกี่ที่ก็ตาม ราวกับว่านี่คือจุดต่ำสุดในชีวิต และเป็นครั้งแรกที่เธอไม่สมารถทำในสิ่งที่เธอต้องการได้
.
ถึงโชคชะตาจะเล่นตลกกับความพยายาม แต่อัญชลีก็ไม่เคยยอมแพ้ ในที่สุดเธอก็ได้เข้าทำงานที่ Sagent Advisor (บริษัทการเงินแห่งหนึ่ง) ซึ่งการได้ทำงานที่นี่ทำให้อัญชลีได้ทักษะใหม่ๆ ที่นายธนาคารปกติไม่น่าจะมี เธอได้พัฒนาทักษะการวิเคราะห์จนช่วยให้บริษัทขยายไปในต่างประเทศได้และมีพาร์ทเนอร์มากมาย
.
1
หลังจากทำงานที่ Sagent Advisor ได้ 2-3 ปี อัญชลีก็ตัดสินใจเรียนต่อปริญญาโทที่ Harvard Business School เพื่อค้นหาทางเลือกของชืวิตเพิ่มเติม คนรอบตัวหลายๆ คนไม่แนะนำให้เธอเปลี่ยนสายงาน และคิดว่าเธอควรโฟกัสอยู่กับสายเดิมของเธอจะดีกว่า แต่อัญชลีไม่คิดแบบนั้น
.
.
4
#ออกจากComfortZone
.
เธอต้องการสั่งสมประสบการณ์หลายๆ ด้านเพราะเธอคิดว่าผู้นำที่ดีที่นำไปสูการตัดสินใจที่ดีที่สุดได้ส่วนใหญมาจากผู้มากประสบการณ์ จากทำงานด้านการเงิน อัญชลีจึงเปลี่ยนเส้นทางมุ่งหน้าเข้าสู่แวดวงธุรกิจสื่อโดยเธอได้เข้าทำงานในฝ่ายควบรวมกิจการของบริษัทสื่อยักษ์ใหญ่อย่าง Time Warner หรือ Warner Media ในปัจจุบัน
.
นอกจากนั้น อัญชลียังได้มีโอกาสเข้าทำงานในบริษัทอีคอมเมิร์ซอันดับหนึ่งอย่าง Amazon หลังออกจาก Time Warner อีกด้วย โดยตลอดเวลาที่ Amazon เธอได้รับประสบการณ์จากการทำงานหลายตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็น ผู้จัดการอาวุโสฝ่าย Category Lead รองผู้อำนวยการฝ่ายจัดซื้อและผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด
.
.
1
#ก้าวสู่Vimeo
.
ในปี 2014 ชีวิตของอัญชลีก็เดินทางมาสู่ก้าวสำคัญ เมื่อเธอเข้ามาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดให้กับ Vimeo แพลตฟอร์มวิดีโอออนไลน์ที่กำลังใกล้ตายเพราะความยิ่งใหญ่ที่ยากจะต่อกรของ Youtube และ Netflix
.
ในช่วงที่อัญชลีพึ่งย่างเท้าเข้ามา Vimeo กำลังจัดสรรเนื้อหาและลงทุนในการทำคอนเทนต์ของตัวเองอย่างหนักเพื่อทำให้บริษัทยังคงหายใจต่อไปได้ อย่างไรก็ตาม อัญชลีคิดว่า Vimeo มีศักยภาพไม่พอทีจะทำคอนเทนต์ของตัวเองให้ประสบความสำเร็จได้อย่าง Netflix ในขณะเดียวกันการแข่งขันกับ Youtube ก็แพ้ขาดลอยไปนานแล้ว และแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่กลับมาเอาชนะ
.
.
2
#คืนชีพบริษัท
.
จากทั้งหมดทั้งมวลที่เกิดขึ้นทำให้อัญชลีต้องคิดหาโซลูชั่นใหม่ที่จะเปลี่ยน Vimeo ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง จนกระทั่งเธอมองเห็นโอกาสในการสนับสนุนเหล่าคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่ผุดขึ้นมามากมายในช่วงปัจจุบัน เกิดเป็นไอเดียในการเปลี่ยน Vimeo ให้กลายเป็นของเครื่องมือทำวิดีโอคอนเทนต์ที่ใช้ง่ายสำหรับครีเอเตอร์ โดยเธออยากทำให้ Vimeo เป็นเว็บไซต์ที่คนนึกถึงเวลาจะทำคอนเทนต์วิดีโอ เหมือนกับที่ GoDaddy ทำกับการสร้างเว็บไซต์
.
อัญชลีนำเสนอไอเดียนี้กับ CEO อย่าง โจอี้ เลวิน (Joey Levin) ทันที ซึ่งเลวินก็ชื่นชอบและเห็นด้วยกับไอเดียนี้ อัญชลีจึงได้ไฟเขียวในการดำเนินโปรเจ็คนี้ และจัดการรวมทีมเพื่อพลิกโฉมบริษัท และแล้ว Vimeo ก็เปลี่ยนจากแพลตฟอร์มวิดีโอคอนเทนต์ออนไลน์กลายเป็นแพลตฟอร์มเครื่องมือช่วยตัดต่อวิดีโอสำหรับคอนเทนต์ครีเอเตอร์ไปจนถึงคนทำธุรกิจ
.
1
ในปี 2017 หลังจากที่บริษัทประกาศเปลี่ยนแปลงโมเดลธุรกิจได้ไม่นาน อัญชลีก็ถูกแต่งตั้งเป็น CEO คนใหม่ของ Vimeo ก้าวใหม่สำหรับอดีตแพลตฟอร์มวิดีโอใกล้ตายนี้ถือเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องเพราะรายได้ของบริษัทพัฒนาขึ้นมากกว่าปีก่อนอย่างชัดเจน โดย Vimeo มีรายได้ถึง 84 ล้านเหรียญในปี 2020 ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่าปีก่อนถึง 54%
.
.
#ประสบความสำเร็จ
.
ด้วยไอเดียที่บรรเจิดและการตัดสินใจที่เด็ดขาด ทำให้อัญชลีมีชื่อไปติดใน 40 อันดับบุคคลอายุน้อยที่มีอิทธิพลมากที่สุดในแวดวงธุรกิจ หรือ 40 under 40 ของ Fortune นิตยสารธุรกิจชื่อดังในปี 2018 นอกจากนั้น เธอยังได้รับตำแหน่งสมาชิกบอร์ดบริหารของบริษัทด้านระบบเสียงชื่อดังอย่าง Dolby Laboratories และยังได้รับเลือกให้เป็น Young Global Leaders ของสภาเศรษฐกิจโลกอีกด้วย
.
1
ปัจจุบัน Vimeo มีผู้ใช้งานมากกว่า 200 ล้านบัญชี โดยมีลูกค้าที่เป็นสมาชิกถึง 1.5 ล้านบัญชี ส่วนมูลค่าของบริษัทถูกประเมินอยู่ราวๆ 5 พันล้านเหรียญหลังจากระดมทุนได้ 300 ล้านเหรียญและเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ เป็นที่เรียบร้อย
.
.
พวกเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าด้วยประสบการณ์และวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกลบวกกับการตัดสินใจที่แน่วแน่ของเธอนั้นพลิกโฉมแพลตฟอร์มวิดีโอที่ใกล้ตายให้รุ่งโรจน์ได้ สิ่งที่สำคัญที่เราได้เรียนรู้คือ “ความล้มเหลวย่อมนำมาสู่ความสำเร็จ” เพราะการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา จะทำให้เรามีประสบการณ์และนำไปสูความสำเร็จได้ถึงแม้จะเคยล้มเหลวก็ตาม
.
#careerfact #cariber
………………
Career Fact เพราะทุกอาชีพ... มีเรื่องราว
ติดตาม Career Fact ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/careerfact
.
เรียนรู้จากคนที่ประสบความสำเร็จในแต่ละแวดวงได้ที่ https://www.cariber.co/
แพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าถึงความรู้และประสบการณ์จากผู้นำองค์กรและผู้เชี่ยวชาญในทุกแวดวง ไร้ข้อจำกัดด้านสถานที่และเวลา
.
5
โฆษณา