15 ต.ค. 2021 เวลา 05:28 • ประวัติศาสตร์
《"99" ที่ไม่ได้ต่อท้ายด้วยสาธุ|九九重阳传统故事》
“เทศกาลซ้อนเก้า” หรือ “ฉงหยางเจี๋ย(重阳节)” เป็นหนึ่งในเทศกาลดั้งเดิมของจีน ซึ่งจะจัดขึ้นทุกวันที่ 9 เดือน 9 ตามปฏิทินจันทรคติจีน(农历九月初九)
.
ในคัมภีร์อี้จิง《易经》กล่าวว่า: เลข “9” เป็นเลขของพลังหยาง และเทศกาลนี้จัดขึ้นวันที่ 9 เดือน 9 จึงเรียกว่า “ฉงจิ่ว(重九;ซ้อนเก้า)” หรือ “ฉงหยาง(重阳;พลังหยางซ้อนกัน)” นั่นเอง
วันที่ 9 เดือน 9 ตามปฏิทินจันทรคติจีนเป็นวันเทศกาลฉงหยาง คนโบราณถือเลข “9” เป็นเลขของพลังหยาง และเทศกาลนี้ก็จัดวันที่ 9 เดือน 9 ซึ่งมีเลขหยางซ้อนกันสองตัวจึงเรียกว่า “ฉงจิ่ว(重九)” หรือ “ฉงหยาง(重阳)” นอกจากนี้คำว่า “จิ่ว(九)” ที่หมายถึงเลขเก้ายังไปพ้องเสียงกับคำว่า “จิ่ว(久)” ที่แปลว่าเวลาที่ยาวนาน ซึ่งเหมือนถึงอายุยืนได้อีกด้วย
เทศกาลฉงหยางมีต้นกำเนิดมาจากการบูชาปรากฏการณ์บนท้องฟ้า เริ่มขึ้นมาครั้งบุพกาล แพร่หลายในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก เจริญรุ่งเรื่องในสมัยราชวงศ์ถัง ตามข้อมูลในในตำราหลวี่สื่อชุนชิว บันทึกฤดูใบไม้ร่วง《吕氏春秋·季秋纪》ระบุไว้ว่า: ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงผู้คนจะจัดกิจกรรมเซ่นไหว้บรรพบุรุษและบวงสรวงเทพเจ้าบนสวรรค์ เพื่อเป็นการตอบแทนที่เทพเจ้าประธานพรให้ได้ผลผลิตที่ดี ซึ่งนี่คือประเพณีดั้งเดิมของเทศกาลนี้
เมื่อเข้าสู่สมัยราชวงศ์ถัง เทศกาลนี้ก็เจริญรุ่งเรืองมากจนกลายเป็นเทศกาลที่สำคัญของยุคนั้น นานวันเข้ากิจกรรมหรือธรรมเนียมบางก็ก็ยังได้รับการสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
.
“เทศกาลฉงหยาง(重阳节)” “วันฉูซี(除夕)” “เทศกาลเช็งเม้งหรือชิงหมิง(清明节)” และ “เทศกาลอุลลัมพน(盂兰盆节)” ได้รับการยกย่องว่าเป็นมหาสี่เทศกาลดั้งเดิมแห่งการเคารพบรรพชนของจีน(中国传统四大祭祖节日)
เทศกาลบูชาพรรพบุรุษ(祭祖节):
ดังที่กล่าวไปเมื่อข้างต้นว่าเทศกาลฉงหยาง วันฉูซี เทศกาลชิงหมิงและเทศกาลอุลลัมพนเป็นสี่เทศกาลใหญ่ในการบูชาบรรพบุรุษ ซึ่งเป็นธีมหลักของเทศกาลนั้นๆ เนื่องด้วยสังคมจีนในสมัยโบราณเป็นสังคมเกษตรกรรมเป็นหลัก การบูชาบรรพบุรุษจึงเป็นส่วนสำคัญในการขอพรและตอบแทนที่คนยุคก่อนได้สร้างคุณงามความดีแก่อนุชนรุ่นหลัง
เทศกาลปีนเขา(登高节):
สภาพอากาศในช่วงฤดูใบไม้ร่วงเริ่มเย็นตัวและสามารถเกิดโรคได้ง่าย ผู้คนจึงพากันปีนขึ้นที่สูง (ภูเขา) เพื่อเป็นการออกกำลังกายและขึ้นไปรับพลังหยางด้วย
เทศกาลผู้สูงอายุ(敬老节):
วันที่ 9 เดือน 9 ในยุคปัจจุบันถือว่าเป็นวันผู้สูงอายุ เนื่องด้วยเลข “9” เป็นเลขที่มีค่ามากที่สุดและยังพ้องกับคำว่า “จิ่ว(久)” ที่แปลว่าเวลาที่ยาวนาน ดังนั้นเมื่อเลขเก้าซ้อนกันจึงอุปมาถึงการมีอายุยืนและเป็นคำอวยพรแก่ผู้สูงอายุได้อีกด้วย
เถายวนหมิง (ค.ศ.365-427) เป็นคนที่ชื่นชอบดอกเก๊กฮวยหรือดอกเบญจมาศมาก ซึ่งทุกคนรู้เขาในชื่อ “จวี๋โหย่ว(菊友;เพื่อนดอกเก๊กฮวย)” หลังจากเขาออกจากราชการก็กลับมาอยู่ในชนบท ชีวิตประจำวันก็ไม่มีอะไรมากนอกจากรดน้ำดอกเก๊กฮวย พวนดินและจับแมลงจนกลายเป็นกิจวัตร ดอกเก๊กฮวยที่ปลูกก็เพื่อไว้ประกอบอาหาร การเชยชมในฤดูใบไม้ร่วง
.
เมื่อดอกเก๊กฮวยบาน ชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียงและเพื่อนที่อยู่ไกลมักจะมาเยี่ยมบ้านเขาเพื่อชม เขาก็ทอดขนมและชงชาเบญจมาศให้กับทุกคน จนมีคำเปรยติดปากว่า “วันนี้ส่งแขกตะวันตก วันรุ่งรับแขกตะวันออก【今日送走西方可,明日又接东方人。】” ในขณะที่เขารดน้ำก็นึกบทกลอนในใจว่า: “เบญจมาศดั่งใจข้า ครั้นเก้าเดือนเก้าจึงเบ่งบาน แขกทั้งหลายเข้าใจ เมื่อฉงหยางจึงเร่งมา【菊花如我心,九月九日开;客人知我意,重阳一日来。】”
ดอกเบญจมาศหรือดอกเก๊กฮวยเป็นพืชสมุนไพรพื้นบ้านของชาวฮั่นมาช้านาน ซึ่งเป็นที่นิยมทั่วไปในประเทศ เนื่องจากดอกเบญจมาศจะบานในช่วงฤดูใบไม้ร่วง การวิจัยกล่าวว่า: ดอกเก๊กฮวยมีกลิ่นฉุน รสหวาน-ขมและมีฤทธิ์เย็น ซึ่งสามารถล้างพิษในร่างกาย บรรเทาอาการร้อนในและปรับสมดุลร่างกายได้
เทศกาลฉงหยางจัดขึ้นในช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เหามะต่อการชมใบเมเปิล ในจีนมีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย เช่น เขาเซียงซานที่ปักกิ่ง(北京香山)เขาชีเสียที่หนานจิง(南京栖霞山)เป็นต้น ทุกครั้งเมื่อสู่ช่วงใบไม้ร่วง ใบเมเปิลจะร่วงลงจนพื้นแดงราวกับไฟ ภูเขาแต่ละรูปเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง ซึ่งสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้อย่างดี
1. อาบแดดในช่วงใบไม้ร่วง|晒秋
.
เทศกาลฉงหยางเป็นช่วงเวลาที่เหมาะต่อการชมบรรยากาศในฤดูใบไม้ผลิ หมู่บ้านบรืเวณภาคใต้ของจีนยังมีกิจกรรมหนึ่งเรียกว่า “ส้ายชิว” ซึ่งเป็นกิจกรรมทางเกษตรกรรมอย่างหนึ่งของหมู่บ้านที่อยู่บนเขา เนื่องด้วยที่ราบน้อยชาวบ้านจึงใช้บริเวณหน้า-หลังบ้าน หน้าต่างและหลังคาในการวางและแขวนพืชผลต่างๆ เพื่อให้มันแห้ง ถือว่าเป็นกิจกรรมที่ยังมีอยู่ในปัจจุบัน
2. เล่นว่าว|放纸鸢
.
การเล่นว่าวถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมหลักของเทศกาลนี้ สาเหตุหนึ่งที่ให้ผู้ใหญ่และเด็กเล่นว่าวในเทศกาลนี้ก็เพราะสภาพอากาศที่ดี ท้องฟ้ายังสดใสและแรงลมที่มากพอที่จะสามารถทำให้ว่าวกระดาษลอยได้สูงขึ้น กล่าวกันว่าการเล่นว่าวมีนัยยะของการ “กระจายความสุข(放福气)” และ “กระจายความสิริมงคล(放吉祥)” ได้อีกด้วย
3. ปีนเขา|登高
.
การปีนเขาหรือขึ้นที่สูงเป็นหนึ่งในกิจกรรมของเทศกาลฉงหยาง สมัยก่อนเชื่อว่าการขึ้นที่สูงสามารถหายจากอาการเจ็บไข้ได้ป่วยและปรับสมดุลหยินหยางในร่างกายได้ ต่อมาในยุคหลังถือเป็นการกำลังกายและสนุกสนานไปในตัว
4. ทานขนมฉงหยาง|吃重阳糕
.
ตามบันทึกทางประวัติศาสตร์ขนมฉงหยางสามารถเรียกชื่ออื่นได้ เช่น ขนมดอกไม้(花糕)ขนมเบญจมาศ(菊糕)ขนมเบญรงค์(五色糕)เป็นต้น เมื่อถึงเช้าของวันที่ 9 เดือน 9 ผู้คนจะทำขนมฉงหยางขาย ซึ่งคำว่า “เกา(糕)” ที่หมายถึงขนมพ้องเสียงกับคำว่า “เกา(高)” ที่หมายถึงที่สูง ดังนั้นการทานขนมชนิดนี้จึงมีนัยยะของความรุ่งเรืองนั่นเอง
5. ชมดอกเบญจมาศ|赏菊
.
ในเทศกาลฉงหยางมีกิจกรรมหนึ่งเรียกว่า “การชมดอกเบญจมาศ” ซึ่งสามารถเรียกเทศกาลฉงหยางในอีกชื่อว่า “เทศกาลดอกเบญจมาศ(菊花节)” ดอกเบญจมาศจะบานในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของอายุยืน อีกทั้งยังมีนัยยะของการไม่อ่อนข้อต่ออุปสรรคโดยง่ายได้ด้วย
6. ท่องเที่ยวในฤดูใบไม้ร่วง|重阳辞青
.
เนื่องด้วยสภาพอากาศที่เย็นกำลังดี ใบเมเปิลเปลี่ยนเป็นสีแดง ดังนั้นผู้คนจึงนิยมท่องเที่ยวเป็นครั้งสุดท้ายก่อนหน้าหนาวจะมาถึง มีคำกล่าวที่ว่า “ชิงหมิงย่ำหญ้าเขียว ฉงหยางย่ำหญ้าแดง【清明踏青,重阳辞青】” ซึ่งคำกล่าวข้างต้นเกิดจากการที่ช่วงชิงหมิงเป็นอนุฤดูที่สวยสุดของฤดูใบไม้ผลิและฉงหยางเป็นช่วงที่กำลังจะเข้าสู่ฤดูหนาวนั่นเอง
7. ร่ำสุราดอกเบญจมาศ|饮菊花酒
.
เหล้าดอกเก๊กฮวยหรือดอกเบญจมาศ เป็นเหล้าประจำเทศกาลฉงหยาง ในอดีตนิยมหมักไว้ตั้งแต่เทศกาลฉงหยางเมื่อปีก่อนและดื่มปีถัดมา ซึ่งการดื่มเหล้าดอกเก๊กฮวยไม่ใช่เป็นเพียงแค่เหล้า แต่สามารถดื่มเป็นยาได้ด้วย
8. ประดับกิ่งจูอวี๋|佩茱萸
.
จูอวี๋(茱萸)เป็นต้นไม้ประจำเทศกาลฉงหยาง มีกลิ่นฉุน ใช้ไล่แมลงได้ เมื่อถึงเทศกาลผู้คนจะนิยมคล้องกิ่งจูอวี๋ไว้ที่แขนบ้าง ที่ศีรษะบ้าง โดยเชื่อกันว่าสามารถกำจัดเชื้อโรคได้และเชื้อราในเสื้อผ้าได้
1
.
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่
.
สามารถอ่านฉบับย่อได้ที่
โฆษณา