18 ต.ค. 2021 เวลา 08:03 • การตลาด
BRIEF: งานศิลป์คืออะไร? มองความหมายของงานศิลป์ผ่านมุมมองการตลาดด้วย ทฤษฎีของมาสโลว์เรื่องลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์
น้องรุ่นใหม่ๆ ที่สนใจ Digital Marketing แล้วไปไล่เทคคอร์สทุกอันในโลก ถือว่าดีมากครับ ถ้าสนใจเราก็ต้องหาทางเรียน ถูกต้องแล้วครับ
แต่ในความคิดของหมาป่านะ การทำการตลาดดิจิตัล ต่อให้เราไม่รู้ GA ไม่เคยติด Pixel ไม่ใช้ Heatmaps แต่ถ้าเราเข้าใจ Maslow อันนี้หมาป่าว่ายังสามารถบรรลุเป้าหมายได้แน่นอน
ทำนองกลับกัน ถ้าทำ A/B Test ทุกอย่าง วาง funnel วาง flow ดู cohort เป็นหมด แต่ไม่เคยคิดเรื่อง Maslow เลย
หมาป่ามองว่า อันนี้คือ รู้ How-To Do แต่ไม่รู้ What-To-Do ซึ่งอย่างนี้น่ากลัวครับ
เหมือนไปไล่อ่าน Help อ่านคู่มือ ศึกษาทุกฟังก์ชั่นของ Microsoft Words เลย แต่ไม่รู้จะเขียนอะไรลงไป
สำหรับผู้ประกอบการ นักขาย นักการตลาดมือเก๋า หลายๆท่านน่าจะรู้อยู่แล้ว หรือ บางท่านอาจเข้าใจเรื่องนี้จากประสบการณ์ทำงาน แต่อาจไม่เคยได้มองมันจากมุมของหลักการ
เรียนเชิญครับ ตามหมาป่ามาครับ
จะพาไปดู ผ่านซีรีย์ 12 บทความ ที่จะอธิบายและชี้ให้เห็นว่ามันสำคัญอย่างไร แล้วเราจะใช้ประโยชน์สูงสุดจากมันได้อย่างไร
บอกเลยว่า มันอาจทำให้คุณคิดถึงขนาดว่า A/B Testing ไม่ใช่ประเด็นเลย
ตั้งทาร์เก็ตแอดส์ให้ตรงก็ไม่ใช่ประเด็นหลักอีกต่อไป
Funnel ไม่ใช่ประเด็น
SEO ไม่ใช่ประเด็น
ที่ผ่านมานี่เราไปนั้่งโฟกัสกับอะไรเนี่ย !?
ไม่มีอะไรเป็นประเด็นเลย ถ้าเราพลาดเรื่องนี้ไปตั้งแต่ต้น!
BRIEF: งานศิลป์คืออะไร? มองความหมายของงานศิลป์ผ่านมุมมองการตลาดด้วย ทฤษฎีของมาสโลว์เรื่องลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์
“Ars longa, vita brevis ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น” เป็นวลีที่ท่านศาสตาจารย์ “ศิลป์ พีระศรี” กล่าวเป็นประจำ
“MOCA Bangkok” คือ พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย ที่เจ้าสัว “บุญชัย เบญจรงคกุล” อดีตเจ้าของ DTAC สร้างขึ้น อยู่บริเวณริมถนนวิภาวดีขาออก เพื่อเชิดชูเกียรติของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ซึ่งถือเป็น “บิดาแห่งศิลปะไทยร่วมสมัย”
ทำไม เจ้าสัว บุญชัย ถึงรักงานศิลปะมาก ถึงขนาดลงทุนเงินส่วนตัวเพื่อสร้างหอศิลป์? อันนี้เราคงไม่ทราบความจริงในใจของคุณบุญชัย
แต่จากมุมมองการตลาด เราสามารถเข้าใจได้ ว่าคนแบบไหนกันที่จะรักงานศิลปะได้มากขนาดนั้น
===
ในทางการตลาด ถ้าตัดเรื่องการลงทุนในภาพศิลปะออกไป งานศิลป์ ก็ถือเป็นสินค้าอย่างหนึ่ง เป็นสินค้าที่ตอบสนองความต้องการบางอย่าง ของคนบางกลุ่ม และหนึ่งในคนกลุ่มนั้น ก็เช่น เจ้าสัว บุญชัย งานศิป์เหล่านี้มีความสวยงามและมีคุณค่าทางใจกับผู้เป็นเจ้าของ จนทำให้ราคาสูงลิ่ว ในแบบที่คนธรรมดาๆอย่างเราๆ อาจไม่สามารถเข้าใจได้
.
ถ้าเรานำงานศิลป์ที่เจ้าสัว บุญชัย สะสมไว้ ไปมอบให้ ผู้ยากไร้ในสาธารณรัฐคองโก ซึ่งเป็นประเทศที่แร้นแค้นที่สุด
.
เขาจะเอาผืนผ้าใบนั้น ไปทำอะไร?
.
แน่นอนว่า เอาไปขาย ถ้าเค้ารู้มูลค่าเงินตราของมัน แต่ถ้าเราไม่นับเรื่องมูลค่าในตลาดซื้อขาย ผืนผ้าใบสวยงามนั้นมีคุณค่าอะไรกับผู้ยากไร้บ้าง?
.
เขาอาจเอาไปมุงผนังบ้าน เพื่อป้องกันความหนาวยามค่ำคืน
===
Abraham Harold Maslow เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ที่คิดค้นทฤษฎีทางจิตวิทยาชื่อ Maslow’s Hierarchy of Needs
หรือ แปลไทยว่า ทฤษฎีลำดับชั้นของความต้องการของมนุษย์
.
Maslow ได้นำเสนอ ทฤษฎีเรื่องลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์นี้ ไว้ถึง 2 ครั้ง โดยครั้งแรกกล่าวว่า ความต้องการของมนุษย์ มีทั้งหมด 5 ขั้น และในครั้งที่สองได้มีการแบ่งย่อยเพิ่มเติมจาก 5 ขั้น ออกมาเป็นทั้งหมด 8 ขั้น
===
ความต้องการของมนุษย์ทั้ง 8 ขั้น ตามทฤษฎีของมาสโลว มีดังนี้
ขั้นที่ 1 Physiological needs: ความต้องการทางกายภาพ เช่น อาหาร น้ำ ความอบอุ่น การพักผ่อน
ขั้นที่ 2 Safety needs: ความต้องการเรื่องความปลอดภัย เช่น ปลอดภัยจากอันตราย จากโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งข้อนี้หมายรวมถึง ความต้องการความมั่นคงจากการมีงาน มีเงิน ด้วย
ขั้นที่ 3 Belongingness and love needs: ความต้องการได้รับความรัก ได้รับการยอมรับ เป็นส่วนร่วม เช่น ความสัมพันธ์ของคู่รัก หรือ กลุ่มเพื่อน
ขั้นที่ 4 Esteem needs: ความต้องการการยกย่อง ทั้งจากตนเองและ ผู้อื่น เช่น การมีเกียรติ ความรู้สึกประสบความสำเร็จ ความภูมิใจ
ขั้นที่ 5 Cognitive needs: ความต้องการเกี่ยวกับความรู้ หรือ การคิด เช่น ความรู้ ความอยากรู้อยากเข้าใจในเรื่องต่างๆ การสำรวจต่างๆ
ขั้นที่ 6 Aesthetic needs: ความต้องการทางด้านสุนทรียศาสาตร์ เช่น การชื่นชมในความงาม ศิลปะ
ขั้นที่ 7 Self-actualization needs: ความต้องการในการตระหนักรู้ถึงตนเอง เช่น ได้รู้ว่า เราจะเป็น จะทำ ได้ดีที่สุดแค่ไหน
ขั้นที่ 8: Transcendence needs: ความต้องการที่จะช่วยผู้อื่นให้ตระนักรู้ถึงศักยภาพสูงสุดของเค้า
===
ทฤษฎีของมาสโล ไม่ได้เจ๋งตรงที่เค้าแบ่งความต้องการของมนุษย์เป็น 8 แบบนะครับ
แต่มันเจ๋ง ตรงที่เค้าบอกว่า...
.
.
พฤติกรรมของมนุษย์ล้วนถูกกระตุ้นโดยความต้องการ
.
โดยความต้องการบางแบบมาก่อนบางแบบ (หมายถึง 1 และ 2 มาก่อน 3 และ 4 เป็นต้น)
.
ความต้องการพื้นฐานที่สุด ที่มาก่อนเลย คือ ความต้องการอยู่รอดทางกายภาพ นี่คือสิ่งแรกที่กระตุ้นเรา
.
เมื่อความต้องการนี้ถูกตอบสนองจนเป็นที่พอใจแล้ว ความต้องการในลำดับถัดไปก็จะกระตุ้นเราต่อไป
.
.
===
ผมเข้าใจว่า มาสโลว ไม่ได้สื่อความหมายว่ามันเป็นขั้นบันได ที่จะต้องขึ้นไปทีละขั้น
ในขณะหนึ่งๆ ในคนๆหนึ่ง อาจมีความต้องการได้รับการยอมรับ (ขั้นที่ 3) ต้องการได้รับการยกย่อง (ขั้นที่ 4) ไปพร้อมๆกันก็ได้
แต่ความหมายของ มาสโลว คือ
“ถ้าคนๆหนึ่ง ยังได้รับการตอบสนองต่อความต้องการในข้อก่อนหน้าไม่เพียงพอ ความต้องการข้อก่อนหน้าจะมีความเด่นชัด กว่าความต้องการข้อหลังๆ และจะเป็นควาต้องการหลักที่กระตุ้นพฤติกรรมต่างๆของคนๆนั้นในช่วงขณะนั้น”
===
พอเราเข้าใจ ทฤษฎีของ มาสโลว ดังนี้แล้ว เราจึงจะเห็นว่า เหตุใด เจ้าสัวบุญชัยจึงสร้างหอศิป์และทุ่มเงินซื้อสะสมงานศิลป์
ถ้าอธิบายตามหลักของ มาสโลว เราก็คงอธิบายได้ว่า เจ้าสัวบุญชัยถูกขับเคลื่อนด้วยความต้องการ ขั้นที่ 6 (Aesthetic needs: ความต้องการทางด้านสุนทรียศาสาตร์ เช่น การชื่นชมในความงาม ศิลปะ) และ ชีวิตของเจ้าสัวบุญชัย ณ ขณะนั้น เขาได้รับการตอบสนองเพียงพอแล้วสำหรับความต้องการในขั้นก่อนหน้า
ส่วนผู้ยากไร้นั้น แม้ได้รับภาพศิลป์ไปไว้ในมือ ก็อาจเห็นค่าของมันเป็นเพียงผืนผ้าใบไว้บุผนังกันหนาวเท่านั้น
เพราะ ความต้องขั้น 1, 2, 3 ของเหล่าผู้ยากไร้นั้นยัง active อยู่ และมันเด่นชัดมาก จนเค้าไม่มีความรู้สึกต้องการอยากเสพศิลป์แต่อย่างใด
.
.
-((w)- หมาป่า
(รูป MOCA BANGKOK – เครดิต: https://pantip.com/topic/35630147)
(รูป ประชาชนใน สาธารณรัฐ คองโก – เครดิต https://intpolicydigest.org/…/instability-in-the-democrati…/)
โฆษณา