18 ต.ค. 2021 เวลา 13:00 • ครอบครัว & เด็ก
ตัวอย่างปัญหาที่เกิดได้จากการไม่เข้าใจการเลี้ยงดูทารกในวัย 0-6 เดือน
👩🏻‍🍼 การเข้าเต้าในท่าที่ผิด ไม่ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ ทำให้น้องไม่มองหน้าคุณแม่ ไม่มีสายใยที่แน่นแฟ้นกับคุณแม่ โดยส่วนตัวน้องจะรู้สึกไม่มีตัวตน ขาดความมั่นใจในวัยต่อมา
👩🏻‍🍼 การเข้าเต้าในท่าที่ผิด กอดรัดแน่น หรือการให้นมขวดในท่าที่ผิด ทำให้น้องขาดความสามารถที่จะใช้มือในการสำรวจ ไม่เข้าใจการสำรวจ ทำให้น้องโฟกัสกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากจนเกินไป และใช้พื้นที่ในการแสดงตัวตนไม่เป็นในวัยต่อมา
🧑‍🍼การขาดปฏิสัมพันธ์ที่กระตุ้นการใช้สมองของน้อง ขาด social learning และ mental stimulation หรือการกระตุ้นการเรียนรู้ ทำให้น้องเป็นเด็กค่อนข้างเงียบ ไม่มีความสนใจอะไรรอบตัว ตอบสนองช้า ถ้าไม่รีบแก้ไขอาจส่งผลถึงความสามารถในการเรียนรู้ในวัยต่อมา
🧑‍🍼 การขาดความเข้าใจเรื่องพื้นฐานทางอารมณ์น้อง ทำให้วางแผนการเลี้ยงดูได้ไม่ถูกต้อง แทนที่จะสนับสนุนสิ่งที่ขาด กลับมองว่าเลี้ยงยากและรับมือไม่ถูกต้อง ส่งผลให้หลัง 2 ขวบจะไม่สามารถเปลี่ยนพื้นฐานทางอารมณ์ให้ลดลงได้
👶🏻 การอุ้มมาก และตอบสนองด้วยการอุ้มทันทีที่ร้อง ทำให้น้องรู้ว่าถ้าต้องการอะไรก็แค่ร้อง และติดนิสัยที่จะเรียกให้อุ้ม การไม่ค่อยได้คว่ำทำ tummy time ทำให้กล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ ไม่แข็งแรง จะคลานช้า ขาดความสงสัยที่จะสำรวจ และส่งผลให้เดินช้า
👶🏻 การเร่งพัฒนาการ หรือการพยายามข้ามขั้นตอนของพัฒนาการน้อง ส่งผลต่อสรีระ พัฒนาการของกล้ามเนื้อ และบุคลิกภาพในวัยต่อมา
👶🏻 ปัญหาการติดพี่เลี้ยง เพราะพี่เลี้ยงเป็นคนให้นมและนอนด้วย ปัญหาที่จะเห็นได้ชัดคือมือคลานได้แล้วยิ่งจะติดพี่เลี้ยงมากขึ้น เมื่อไหร่ที่พี่เลี้ยงลาจะไม่มีใครสามารถเอาน้องนอนได้ หรือถ้าพี่เลี้ยงลาออกน้องจะร้องไห้หนักมาก เท่ากับต้องเริ่มต้นนับศูนย์กันใหม่
👶🏻 ปัญหาการเล่นคนเดียวไม่เป็น การเล่นคนเดียวของเด็กนั้นมักทำได้ตั้งแต่ให้คว่ำทำ tummy time คุณแม่จะเห็นได้ว่าน้องจะคว่ำอยู่ได้นานถ้ามีของเล่น ยิ่งเมื่อคลานได้ควรที่จะเล่นคนเดียวเป็น แต่ถ้ามีการต้องคอยเชียร์ คอยอุ้ม และขัดจังหวะด้วยการชี้แนะตลอดเวลา น้องจะขาดความสามารถที่จะเล่นคนเดียว เล่นคนเดียวไม่ได้ก็เท่ากับอยู่คนเดียวไม่ได้ในวัยต่อมา
ทั้งหมดเป็นแค่ตัวอย่าง แต่ที่หนักกว่านั้นคือถ้าไม่ได้รับการแก้ไขปรับเปลี่ยนการเลี้ยงดูก่อนวัย 2 ขวบ ซึ่งมักเป็นวัยเข้าสังคม เข้าโรงเรียน ได้เริ่มมีเพื่อนและอยู่ร่วมกับคนอื่นของน้อง คุณแม่จะแก้ไขและจัดการกับปัญหาได้ยากมาก เพราะเมื่อเดินได้ความเป็นตัวตนของน้องจะชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ และจะมีความสามารถที่จะต่อต้าน ไม่เหมือนตอนที่ยังคลานอีกต่อไปค่ะ
การวิเคราะห์การเคลื่อนไหวเท่านั้นที่จะทำให้เราเห็นปัญหาที่เกิดจากการเลี้ยงดู เพราะเด็กในวัยที่ยังพูดไม่ได้ ใช้การเคลื่อนไหวในการสื่อสารค่ะ
การวิเคราะห์การเคลื่อนไหวน้องจะใช้หลักการของ Kestenberg Movement Profile ซึ่งใช้โดยนักจิตวิทยาที่ทำงานกับเด็กมาตั้งแต่ปี 1960 Kestenberg Movement Profile ยังเป็นงานวิจัยของ Judith Kestenberg กว่า 30 ปี เพื่อที่จะหาทางเข้าใจความต้องการของเด็กในวัย 0-2 ขวบที่ยังพูดไม่ได้ จึงจะแสดงออกจากการเคลื่อนไหวได้ชัดเจนที่สุด
การวิเคราะห์การเคลื่อนไหวน้องนั้นจะทำโดยผู้เชี่ยวชาญ 2 ท่านในประเทศไทยและญี่ปุ่น นอกนั้นยังติดตามให้คำแนะนำต่อถึง 1 ปีค่ะ
คุณแม่ที่สนใจ ขอรายละเอียดได้ที่ Inbox ของเพจ Raising Parents ตามลิงค์ด้านล่างค่ะ
โฆษณา