19 ต.ค. 2021 เวลา 08:22 • ข่าว
สรุปประเด็น ‘ถูกดูดเงินจากบัญชี’ เกิดอะไรขึ้น แล้วต้องทำอย่างไร ผู้เสียหายได้รับคืนหรือไม่?
หลังเกิดเหตุการณ์ลูกค้าธนาคารพาณิชย์หลายแห่ง ถูกตัดเงินออกจากบัญชีทั้งที่ไม่มีการซื้อสินค้าหรือบริการใดๆ ซึ่งมีผู้ได้รับความเสียหายจำนวนมาก ล่าสุดในวันนี้ (19 ตุลาคม) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสมาคมธนาคารไทย ได้จัดแถลงข่าวเพิ่มเติม เพื่อชี้แจงความคืบถึงสาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ปัญหา และคำแนะนำ โดยทีมข่าว THE STANDARD WEALTH สรุปประเด็นได้ดังนี้
1
ช่วงเวลาการเกิดเหตุ
ระหว่างวันที่ 1-17 ตุลาคม 2564 เริ่มพบการตัดเงินแบบผิดปกติผ่านบัตรเดบิตและบัตรเครดิตของลูกค้าในบางบัญชีทั้งที่ไม่มีการใช้งานใดๆ โดยธุรกรรมส่วนใหญ่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 14-17 ตุลาคม 2564
ผู้เสียหาย
- จำนวนบัตรที่โดน 10,700 ใบ
บัตรเครดิต 5,900 ใบ มูลค่า 100 ล้านบาท
บัตรเดบิต 4,800 ใบ มูลค่า 31 ล้านบาท
3
- มูลค่าความเสียหายรวม 131 ล้านบาท
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
มิจฉาชีพใช้โปรแกรมอัตโนมัติ (Bot) สุ่มหมายเลขบัตรและวันหมดอายุ นำไปสวมรอยทำธุรกรรมผ่านร้านค้าออนไลน์ต่างประเทศและเกมออนไลน์ ที่ไม่มีการใช้ OTP
ส่วนใหญ่ซื้อสินค้าในจำนวนเงินที่ต่ำกว่า 1 ดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ระบบยังไม่มีการแจ้งเตือนในทันที
แต่ด้วยธุรกรรมที่เกิดขึ้นซ้ำกันหลายๆ ครั้ง ธนาคารเริ่มพบความผิดปกติ และได้พยายามแจ้งเตือนลูกค้า แต่เนื่องจากมีธุรกรรมเข้ามาจำนวนมาก ทำให้ไม่สามารถแจ้งเตือนได้ทั้งหมด
6
คำแนะนำ
ควรตรวจสอบการทำธุรกรรมของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ ระมัดระวังการผูกบัตรเดบิตและบัตรเครดิตกับแพลตฟอร์มที่มีความเสี่ยง เช่น เกมออนไลน์ หรือแพลตฟอร์มที่ไม่มีการยืนยันตัวตนก่อนใช้งาน หรือไม่มี OTP
หากพบความผิดปกติ สามารถอายัดบัตรได้ด้วยตัวเองผ่านแอปพลิเคชันของธนาคาร นอกเหนือจากการติดต่อกับธนาคาร
2
การแก้ไขปัญหาของธนาคาร
ลูกค้าที่เสียหาย หากเป็นบัตรเดบิตจะได้รับเงินคืนภายใน 5 วันทำการ ส่วนบัตรเครดิต รายการดังกล่าวจะถูกยกเลิกและไม่มีการเรียกเก็บเงินหรือคิดดอกเบี้ย
ยกระดับการตรวจจับธุรกรรมที่ผิดปกติ ครอบคลุมธุรกรรมที่มีจำนวนเงินต่ำ มีความถี่สูง ระงับการใช้บัตรทันทีที่พบความผิดปกติ และแจ้งลูกค้าเพื่อรับทราบในทุกช่องทาง
หารือกับผู้ให้บริการเครือข่ายบัตร เช่น Visa, Mastercard เพื่อกำหนดให้มีการใช้การยืนยันตัวตนเพิ่มเติม เช่น OTP กับบัตรเดบิตสำหรับร้านค้าออนไลน์
เรื่อง: THE STANDARD WEALTH
โฆษณา