21 ต.ค. 2021 เวลา 20:45 • สุขภาพ
เข้าใจโรคไตวายเฉียบพลัน...อาลัยหมอเส็ง "เรื่องสมุนไพรไว้ใจผม" จากไปในวัย 83 ปี
83
หมอเส็ง ได้เสียชีวิตแล้ว (โรคปัจจุบัน ไตวายเฉียบพลัน) ด้วยวัย 83 ปี เมื่อช่วงบ่ายวันนี้ (21 ต.ค.64) ที่ รพ.บำรุงราษฎร์ กทม. โดยจะมีพิธีรดน้ำศพ และบำเพ็ญบุญกุศล ในวันเสาร์ ที่ 23 ต.ค.64 ที่วัดเสมียนนารี ถ.วิภาวดี กรุงเทพฯ
23
รู้เท่าทันโรคไตวาย
3
ภาวะไตวาย (ไตล้ม ไตไม่ทำงาน ก็เรียก) หมายถึง ภาวะที่เนื้อไตทั้ง 2 ข้างถูกทำลายจนทำงานไม่ได้หรือได้น้อย กว่าปกติ ทำให้น้ำและของเสียไม่ถูกขับออกมา จึงเกิดการคั่งจนเป็นพิษต่อร่างกาย นอกจากนี้ยัง ทำให้เกิดผลกระทบต่อดุลของ อิเล็กโทรไลต์ และความเป็นกรดด่างในเลือด รวมทั้งเกิดภาวะพร่องฮอร์โมน บางชนิดที่ไตสร้าง การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้นำไปสู่อาการผิดปกติของอวัยวะแทบทุกส่วนของร่างกาย
10
ภาวะไตวาย สามารถแบ่งเป็น ไตวายเฉียบพลัน (มีอาการเกิดขึ้นฉับพลัน และเป็นอยู่นานเป็นวันและ เป็นสัปดาห์) กับไตวายเรื้อรัง (ค่อยๆ เกิดขึ้นทีละน้อยนานเป็นแรมเดือน แรมปี)
2
โรคนี้จัดเป็นภาวะที่มีอันตรายร้ายแรง พบได้บ่อยในผู้ใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งไตวายเรื้อรัง จะพบได้บ่อย ขึ้นในคนที่มีอายุมากขึ้นเนื่องจากจะมีโอกาสเจ็บป่วย ด้วยโรคต่าง ๆ (เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคไต โรคติดเชื้อ เป็นต้น) ที่มีภาวะแทรกซ้อนต่อไต หรือมีการใช้ยาที่มีพิษต่อไตมากขึ้น
สาเหตุ ภาวะไตวาย
1
ไตวายเฉียบพลัน (acute renal failure)  อาจมีสาเหตุมาจากโรคไตโดยตรงหรือภาวะผิดปกติที่อยู่นอกไต ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำงานของไตก็ได้
1
ไตวายเรื้อรัง (chronic renal failure) ส่วนใหญ่ มักเกิดจากภาวะแทรกซ้อนของเบาหวาน และ ความดันโลหิตสูงที่ขาดการรักษาอย่างจริงจังอาจเกิดจากโรคไตเรื้อรัง เช่น หน่วยไตอักเสบ กรวยไตอักเสบเรื้อรัง โรคไตเนโฟรติก นิ่วไต โรคถุงน้ำในไตชนิดหลายถุง
2
นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากโรคเกาต์  เอสแอลอี ภาวะยูริกในเลือดสูง ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง โรคเอดส์ พิษจากยา (เช่น ยาแก้ปวดลดไข้เฟนาซิติน ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์ ลิเทียม ไซโคลสปอรีน ยาต้านมะเร็ง เป็นต้น) พิษจากสารตะกั่วหรือแคดเมียม เป็นต้น
6
อาการ ภาวะไตวาย
ไตวายเฉียบพลัน อาการเด่นชัด คือ มีปัสสาวะออกน้อยกว่า 400 มล.ใน 24 ชั่วโมง หรือไม่มีปัสสาวะออกเลย (ไม่มีอาการปวดปัสสาวะ และส่วนปัสสาวะ ก็ไม่มีปัสสาวะออกมากกว่านี้) ต่อมาไม่นานผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษา ในที่สุดผู้ป่วยจะมีอาการซึม สับสน ชักและหมดสติ
ผู้ป่วยอาจมีประวัติการใช้ยาหรือมีอาการเจ็บป่วยนำมาก่อน เช่น ไข้ ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต โรคตับ งูกัด ต่อต่อย ตกเลือด  ภาวะช็อกจากสาเหตุต่าง ๆ เป็นต้น
ไตวายเรื้อรัง อาการขึ้นกับความรุนแรงของโรคโดยในระยะแรกอาจไม่มีอาการให้สังเกตได้ชัดเจน และ มักจะตรวจพบจากการตรวจเลือด (พบว่ามีระดับครีอะตินีนและบียูเอ็นสูง)ในขณะตรวจเช็กสุขภาพหรือมาพบแพทย์ด้วยโรคอื่น
ผู้ป่วยจะมีอาการชัดเจนเมื่อเนื้อไตทั้ง 2 ข้างถูกทำลายจนทำหน้าที่ได้น้อยกว่าร้อยละ 5 ของไตปกติ โดยจะสังเกตว่ามี ปัสสาวะออกมาก และปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ท้องเดินบ่อย นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ขาดสมาธิตามัวผิวหนังแห้งและมีสีคล้ำ คันตามผิวหนังชาตามปลายมือปลายเท้า
5
บางรายอาจมีอาการหอบเหนื่อย สะอึก เป็นตะคริว ใจหวิว ใจสั่น เจ็บหน้าอก บวม หรือมีเลือดออกตามผิวหนัง เป็นจุดแดงจ้ำเขียว หรืออาเจียน เป็นเลือด ถ่ายเป็นเลือด
เมื่อเป็นถึงขั้นสุดท้าย ผู้ป่วยจะมีอาการซึม ชัก หมดสติ
การป้องกัน ภาวะไตวาย
การรักษา ภาวะไตวาย
1.หากสงสัยเป็นไตวายเฉียบพลัน ควรส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว ผู้ป่วยจะต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
มักจะวินิจฉัยโดยการตรวจเลือด (พบระดับบียูเอ็นและครีอะตินีสูงกว่าปกติ ยิ่งสูงมากก็แสดงว่าโรคยิ่งรุนแรง ระดับโพแทสเซียมฟอสเฟต และแมกนีเซียมสูง ระดับแคลเซียมต่ำ เลือดมีภาวะเป็นกรดระดับ เฮโมโกลบินต่ำ) ตรวจปัสสาวะ (พบสารไข่ขาว น้ำตาลเม็ดเลือดแดง 
เม็ดเลือดขาว) เอกซเรย์ อัลตราซาวนด์ และตรวจพิเศษอื่น ๆ ถ้าจำเป็น
การรักษา ให้การรักษาโรคหรือภาวะที่เป็น สาเหตุ และแก้ไขภาวะผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น จำกัดปริมาณของน้ำ โซเดียม  โพแทสเซียม แมกนีเซียม และโปรตีน ฉีดยาขับปัสสาวะ-ฟูโรซีไมด์ ให้โซเดียมไบคาร์บอเนต แก้ภาวะเลือดเป็นกรดให้เลือดในรายที่ตกเลือด เป็นต้น
ถ้าจำเป็นอาจต้องทำการฟอกล้างของเสีย หรือ ล้างไต (dialysis)
ผลการรักษาขึ้นกับสาเหตุที่พบ ถ้าเกิดจากการอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ ภาวะช็อกจากบริมาตรของเลือดลดลงโรคติดเชื้อ พิษจากยาบางชนิด ก็อาจมีทางรักษาให้หายขาดได้อย่างไรก็ตาม ภาวะไตวายเฉียบพลันมักเกิดขึ้นรวดเร็ว และมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง จึงมีโอกาสเป็นอันตรายถึงตายได้ค่อนข้างสูง
2. หากสงสัยเป็นไตวายเรื้อรัง ควรส่งโรงพยาบาลเพื่อทำการตรวจเลือดตรวจปัสสาวะ เอกซเรย์อัลตราซาวนด์ หรือตรวจพิเศษอื่น ๆ  บางรายอาจต้องทำการเจาะเนื้อไตออกพิสูจน์ (renal biopsy)
ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง นอกจากจะตรวจพบระดับ บียูเอ็นและครีอะตินีนในเลือดสูง รวมทั้งการเปลี่ยน แปลงของระดับเกลือแร่ในเลือดแบบเดียวกับที่พบในภาวะไตวายเฉียบพลันแล้ว ยังตรวจพบจากเอกซเรย์ หรืออัลตราซาวนด์ว่าไตทั้ง 2 ข้างฝ่อตัว (ขนาดน้อยกว่า 10 ซม.)
ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะท้ายบางราย แพทย์ อาจพิจารณาทำการผ่าตัดปลูกถ่ายไตหรือเปลี่ยนไต (renal transplantation) ซึ่งนับว่าเป็นวิธีรักษาที่ได้ผลดีที่สุดในปัจจุบัน  สามารถช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีเหมือนคนปกติ  และมีอายุยืนยาว (อายุการทำงานของไตใหม่ ร้อยละ 18-55 อยู่ได้นาน10 ปี) แต่การปลูกถ่ายไตเป็นวิธีรักษาที่ยุ่งยาก ราคาแพงและจะต้องหาไตจากญาติสายตรงหรือผู้บริจาคที่มีไตเข้ากับเนื้อเยื่อของผู้ป่วย ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้ป่วยอาจต้องทำการล้างไตไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะหาไตที่เข้ากันได้ นอกจากนั้นภายหลังการปลูกถ่ายไต ผู้ป่วยต้องกินยากดภูมิคุ้มกัน (เช่น สตีรอยด์ ไซโคลสปอริน อะชาไทโอพรีน) ทุกวันตลอดไป เพื่อป้องกันมิให้ร่างกายมีปฏิกิริยาต่อต้านไตใหม่
2
จากหมอสมุนไพร สู่นักธุรกิจพันล้าน
คำพูดที่คุ้นหู
“เรื่องสมุนไพรไว้ใจผม”
เป็นวลีเด็ด สร้างแบรนด์ หมอเส็ง ให้เป็นที่จดจำ  สำหรับ หมอเส็ง หรือ นายฉัตรชัย แสงสุริยะฉัตร
หมอเส็ง คือใคร
ซึ่งเป็นแพทย์ที่ปรึกษาสุขภาพไตรเวชศาสตร์ด้านการแพทย์แผนตะวันออกคลีนิค และหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรไทยและจีน คลุกคลีกับร้านขายยาแผนโบราณมาตั้งแต่ยังเด็ก จึงมีประสบการณ์เกี่ยวกับสมุนไพรมายาวนาน
หมอเส็งมีการพัฒนาแผนการตลาดใหม่แนวใหม่ การวางแผนการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ใหม่ เพื่อตอบรับทุกความต้องการ พัฒนาให้มีความทันสมัยมากขึ้น เข้าถึงได้ทุกกลุ่มเป้าหมายพร้อม ทั้งพัฒนากลยุทธ์ทางธุรกิจสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท หมอเส็ง (ไทยแลนด์) จำกัด ในปัจจุบัน  ขยายตลาดไปยังต่างประเทศ ทำยอดขายแต่ละปีหลักหลายร้อนล้าน ไปจนกระทั่งมากกว่าพันล้านบาท
1
ขอแสดงความเสียใจและไว้อาลัย
โฆษณา