25 ต.ค. 2021 เวลา 02:56 • การเมือง
UPDATE: อบจ.ยืนยันการยกเลิกกิจกรรม​ขบวนอัญเชิญพระเกี้ยวมาจากมติตัวแทนนิสิตจุฬาฯ พร้อมรับฟังทุกความเห็น และพูดคุยกับสมาคมศิษย์เก่า ย้ำถึงจุดยืนที่ไม่เห็นด้วยกับกิจกรรมที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนและไม่เป็นประชาธิปไตย
2
น.ส.นันท์นภัส เอี้ยวสกุล อุปนายกฝ่ายกิจการภายนอก องค์การบริหารสโมสรนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ อบจ. ให้สัมภาษณ์ The Reporters เปิดเผยถึงที่มาของมติคณะกรรมการบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ยกเลิกกิจกรรม ขบวนอัญเชิญพระเกี้ยวนั้น มีประเด็นต่อเนื่องมายาวนานหลายปี จากนิสิต ที่สะท้อนเสียงไม่เห็นด้วยกับการจัดกิจกรรม รูปแบบกิจกรรมที่ล้าหลัง ที่ให้มีการแบกเสลี่ยง โดยให้คน 50 กว่าคน มาแบกเสลี่ยง และมีการตั้งคำถามถึงคนที่อยู่บนเสลี่ยง ว่าเขาเป็นใคร ถึงมานั่งข้างบนนี้ หากบอกว่า ถ้าเขาเป็นตัวแทนของคนจุฬาฯ หรือความเป็น จุฬาฯ แล้วแบบไหน เป็นตัวแทนของจุฬาฯ ที่แท้จริง ซึ่งเป็นประเด็นที่เริ่มถกเถียงมาประมาณปี 2560
4
"เมื่อ อบจ.ชุดนี้เข้ามาบริหารจึงนำประเด็นนี้มาหารือ มติในรอบแรก 27:0 ไม่เห็นด้วยกับกิจกรรมที่ไม่เท่าเทียมนี้แล้ว ทั้งการคัดเลือกที่อาจไม่โปร่งใส และต่อมา มีการหารือกันจนมีแถลงการณ์ร่วมกันว่า รูปแบบขบวน มีหลายสิ่งที่สะท้อนความไม่เท่าเทียม และสะท้อนคุณค่าประชาธิปไตย เช่นการเกณฑ์คนมาแบกเสลี่ยง เพื่อหวังคะแนนหรือไม่ จึงกลายเป็นมติว่า ไม่เห็นด้วยกับการจัดกิจกรรมนี้"
น.ส.นันท์นภัส กล่าวว่า ประเด็นนี้มีการพูดคุยมายาวนาน ในนิสิตรีวิว มีการวิจารณ์ว่า อะไรคือภาพสะท้อนความเป็นจุฬาฯ อย่างเช่นงานบอล ล่าสุด มีการรีทิวิตหลักหมื่นที่ไม่เห็นด้วยกับกิจกรรมนี้เมื่อ อบจ.ชุดนี้เข้ามาทำงานบริหาร จะไม่หยิบยกเรื่องนี้มาคุยไม่ได้ เพราะเป็น Issue ที่ใหญ่ ท่ามกลางสถานการณ์บ้านเมืองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน และเพื่อนเรายังถูกคุมขังเพราะไม่มีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก จึงเป็นภาระที่ต้องหยิบยกมาพูดคุย เมื่อเรามาทำงานบริหารองค์กรนิสิต
1
"เราได้พูดเรื่องเหล่านี้ก่อนเลือกตั้ง อยู่ในนโยบายว่าเราจะทำกิจกรรมที่ส่งเสริมประชาธิปไตย อุปนายกกิจการภายนอก เป็นคนรับผิดชอบตรงนี้ จึงมีส่วนสำคัญที่ผลักดันตรงนี้ จึงกลายเป็นพันธกิจ ที่ต้องทำให้ได้ เพราะนิสิตที่เลือกเรามา"
1
อุปนายกฝ่ายกิจการภายนอก อบจ.กล่าวว่า มติของคณะกรรมการบริหารสโมสรนิสิตจุฬาฯ ทีมีทั้งหมด 30 คน เป็นกรรมการบริหารในอบจ. 10 คน ที่มาจากการเลือกตั้งของนิสิต และอีก 20 คนมาจากตัวแทนนิสิตแต่ละคณะ และมตินี้ เป็นการแสดงจุดยืนของนิสิต ที่เป็นส่วนหนึ่งในการจัดงานนี้
1
"เราสะท้อนข้อคิดเห็น ทีมบริหาร อบจ. สะท้อนเสียงประชาคมจุฬา และ นิสิต มองงานบอลอย่างไร เขาไม่อยากให้ภาพเหล่านี้ออกสู่ส้งคม เช่น เราจบจากจุฬาฯ แล้วภาพจำของสังคมบอกว่า เป็นพวกแบกเสลี่ยง อย่างนี้ เขาอาจไม่อยากสะท้อนเอกลักษณ์ตรงนี้รึเป่า เราจึงสะท้อนให้คุณเห็น เรามองว่าตรงนี้มันเป็นการแสดงจุดยืน ถ้าใครมีอำนาจตัดสินใจ สิ่งเหล่านี้จะไประงับยับยั้งได้ไหม ถ้าคนมีอำนาจจะยังอยากจัดการแล้วมาจากการเกณฑ์คนออกไป เราอยากให้ชั่งน้ำหนักกับกระแสทางสังคม จะคุ้มไหม กับการดำรงไว้ในความไม่เท่าเทียม และคุณค่าที่มาจากเสียงของประชาคมนี้ สิ่งที่สังคมมองเราเข้ามา จุฬาลงกรณ์ บอกว่า เราเป็นเสาหลัก เรามองว่า ในความเป็นเสาหลัก ถ้าคุณทำตัวเป็นเสาหลัก แล้วขึ้นไป สูงโปร่งอยู่คนเดียว โดยไม่มองคนอื่น ก็อยากชวนคิดว่า จุฬา ควรมองสังคมแบบไหน"
1
อุปนายกฝ่ายกิจการภายนอก อบจ.ยืนยันว่า พร้อมรับฟังทุกความคิดเห็น ที่ได้เปิดให้แสดงความเห็นต่อกรณีนี้ แต่คงไม่สามารถทบทวนมติ หรือยกเลิกมติได้ เพราะได้มีมติไปแล้ว หากจะมีการเปลี่ยนแปลงต้องมีการเสนอผ่านการเลือกตั้ง อบจ.ในปีหน้า ที่สามารถเสนอให้นำกลับมาได้
"เรามองว่า การที่คนหลายคน ไม่ว่าจะเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย ได้ออกมาแสดงความเห็น เป็นความสวยงามของประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ คุณมีเสรีภาพในการแสดงความเห็นได้ สังคมได้มาถกเถียง ส่วนมติที่ออกไปแล้วก็เป็นไปตามนั้นว่าเราไม่สนับสนุนกิจกรรมที่ไม่เป็นประชาธิปไตย เรามีกระดูกสันหลัง เราก็ต้องทำพันธกิจนี้ เราไม่สนับสนุนกิจกรรมที่ไม่เท่าเทียม ไม่ส่งเสริมมนุษยชน แต่เคารพในเสียงส่วนน้อยด้วย"
น.ส.นันท์นภัส เปิดเผยว่านับจากมีแถลงการณ์ออกมา ยังไม่ได้คุยกับ สมาคมศิษย์เก่า ซึ่งยินดีร่วมพูดคุยด้วย รวมถึงทางผู้บริหารของมหาวิทยาลัย เห็นว่า ถ้าคัดค้านเป็นเรื่องแปลก เพราะเป็นความเห็นของกรรมการบริหาร อบจ.ถ้ามายับยั้งคัดค้าน ก็เป็นการคัดค้านการแสดงความคิดหรือไม่ ซึ่งการยกเลิก ขบวนการอัญเชิญพระเกี้ยว ไม่ได้เกี่ยวกับการเรียกร้องปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือ การยกเลิก 112 เพราะทาง อบจ.ยังไม่ได้หยิบยกมาเป็นมติ แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน และความไม่เป็นประชาธิปไตย
"ขอบคุณสำหรับทุกคนที่สนใจมาร่วมแสดงความคิดเห็น ไม่ว่าจะเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย เป็นเครื่องยืนยันว่าเรามีเสรีภาพในการแสดงความเห็น และเราอยู่ในสังคมที่เห็นคุณค่าร่วมกันได้ เป็นความสวยงามของประชาธิปไตย การมาถกเถียงหาคุณค่าร่วมกัน ควรเกิดขึ้น เมื่อเราเป็นกรรมการบริหาร ต้องทำสิ่งที่ตอบรับกับภารกิจ เคลมตัวเองเป็นเสาหลัก โดยไม่เห็นหัวของประชาชน จะพยายามตอบรับกับความเป็นประชาชนและสังคมให้มากขึ้น " นันท์นภัส อุปนายกฝ่ายกิจการนักศึกษา อบจ. กล่าวทิ้งท้าย
2
โฆษณา