31 ต.ค. 2021 เวลา 05:14 • สุขภาพ
+++ สลัดอกไก่ไข่ต้ม อุดมไปด้วยสารสร้างภูมิคุ้มกัน
สลัดอกไก่ไข่ต้ม
เพราะร่างกายต้องมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงตลอดเวลา เพื่อให้สามารถรับมื้อกับเชื้อโรคมากมายที่อยู่ภายนอกได้ แต่ในวันที่ต้องรีบเร่ง อาจทำให้เราไม่ได้รับประทานที่มีสารอาหารครบถ้วนนัก ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันทำงานไม่สมบูรณ์ อาจเป็นสาเหตุของการติดเชื้อได้
จึงขอแนะนำเมนูง่าย ๆ ที่ให้สารอาหารเสริมภูมิคุ้มกันแบบอัดแน่น จะทำรับประทานที่บ้าน หรือใส่กล่องนำไปเก็บไว้เป็นมื้อกลางวันที่ทำงาน ก็สามารถทำได้แบบไม่ยุ่งยาก ไม่น่าเบื่อ เพราะสามารถเลือกเปลี่ยนน้ำสลัดได้ตามใจต้องการ เป็นอีกหนึ่งทางเลือก สำหรับการใช้ชีวิตยุคนี้ได้ดีทีเดียว
อกไก่
อกไก่ เป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างการทำงาน ของอิมมูโนโกลบูลิน (Immunoglobulins , Ig) ซึ่งเป็นสารภูมิคุ้มกันที่ทำหน้าที่หลัก ในการตรวจจับ , จดจำและตอบสนองต่อเชื้อโรค นอกจากนี้โปรตีนยังช่วยให้การทำงาน ของเนื้อเยื่อน้ำเหลืองที่อยู่ใต้เยื่อบุลำไส้ (Gut-Associated Lymphoid Tissue , GALT) ซึ่งเป็นหัวใจหลักของระบบภูมิคุ้มกัน ทำงานได้อย่างสมบูรณ์
โปรตีนจากอกไก่จะค่อย ๆ ย่อย และผ่านไปยังลำไส้อย่างช้า ๆ ทำให้ระดับน้ำตาลหลังมื้อออาหาร จะอยู่ในระดับค่อนข้างคงที่ ไม่พุ่งขึ้นสูงแล้วลดลงต่ำ จนทำให้เกิดภาวะอยากน้ำตาล เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ซึ่งจะลดประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันลงอย่างมาก แนะนำให้ทานโปรตีนอย่างน้อย 0.8 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของทุกระบบในร่างกาย
ไข่ไก่
ให้สารอาหารชนิดโปรตีน มีวิตามินดี, วิตามินเอ, วิตามินบี 1, บี 2, บี 3, บี 6 และบี 12, แคลเซียม, ฟอสฟอรัส, ธาตุเหล็ก และยังมีอาร์จีนีน (Arginine) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนในไข่แดง ช่วยเพิ่มการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน โดยเพิ่มจำนวนของทีเซลล์ (T-Cells) ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาว ที่ทำหน้าที่หลักในระบบนี้ และยังช่วยให้ทีเซลล์ฟื้นตัวได้ดี หลังตอบสนองกับเชื้อโรคอีกด้วย
ผักโขม
นอกจากอาร์จินีนแล้ว ผักโขมยังมีกลูตามีน (Glutamine) ที่เป็นกรดอะมิโนจำเป็น ใช้เป็นแหล่งพลังงานของเม็ดเลือดขาว สำหรับการทำงานสารพันธุกรรมในระบบภูมิคุ้มกัน ที่ช่วยควบคุมการเพิ่มจำนวน และการทำหน้าที่ของเม็ดเลือดขาวชนิดต่าง ๆ (Lymphocytes , Neutrophils , Macrophages) ทั้งยังช่วยเสริมสร้างการทำงานของโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ทำให้เกิดการซ่อมแซมร่างกายขณะหลับ และช่วยฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกันได้อีกด้วย
บร็อคโคลี
บร็อคโคลีเป็นผักที่ให้เส้นใยไฟเบอร์สูง นอกจากจะทำให้เกิดการดึงน้ำเข้าสู่ลำไส้ กระตุ้นให้เกิดการขับถ่ายปกติแล้ว ไฟเบอร์มีส่วนสำคัญในการทำงานของแบคทีเรียดี (Normal Flora) ที่อยู่ในทางเดินอาหาร ที่จะช่วยทำให้เกิดกระบวนการหมัก จนเกิดไขมันสายสั้น (Short-Chain Fatty Acids , SCFAs) ซึ่งจะช่วยลดสารอักเสบในร่างกายลงได้อย่างชัดเจน หากรับประทานไฟเบอร์ให้ได้อย่างน้อยวันละ 30 กรัม ในระยะยาว จะช่วยลดความเสี่ยง ของการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ , โรคเบาหวาน , โรคความดันโลหิตสูง , โรคมะเร็ง และภาวะอ้วนลงพุงได้
มีการศึกษาพบแล้วว่า แบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ มีความสัมพันธ์โดยตรงกับการติดเชื้อโวรัส เช่น เชื้อไข้หวัดใหญ่ , เชื้อไวรัสเริม ถ้ารับประทานอาหารไฟเบอร์สูง แบคเรียชนิดดีในลำไส้จะทำงานได้ สามารถทำให้ไวรัสเสียรูปร่าง , ยับยั้งการแบ่งตัว และรบกวนการทำงานของไวรัสได้ โดยร่างกายจะควบคุมการทำงานผ่านทาง ระบบการเชื่อมโยงของลำไส้และสมอง (Brain-Gut-Axis) อย่างสมดุล
มะเขือเทศ
ถือเป็นสุดยอดผักต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่ง (Superfood) ที่มีวิตามินซี , วิตามินเอ และสารอาหารอีกหลายชนิด ที่สำคัญคือมีไลโคปีน (Lycopene) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่นอกจากลดการอักเสบ , ป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ แล้ว ยังมีส่วนสำคัญในการสร้างระบบภูมิคุ้มกัน โดยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของทีเซลล์ ให้สามารถทำงานต่อต้านสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ได้อย่างดี
พริกหวาน
พริกหวานสีเหลืองมีวิตามินซีสูงที่สุด เป็นส่วนประกอบสำคัญในขั้นตอนต่าง ๆ ของการทำงาน ในระบบภูมิคุ้มกัน , มีวิตามินบี 1 และบี 2 ที่ช่วยสร้างฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต ทำให้การทำงานของฮอร์โมนเป็นปกติ มีผลต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในทางอ้อม มีการศึกษาพบว่า หากรับประทานวิตามินซี และวิตามินอี ขนาด 80 และ 60 มก./น้ำหนักตัว 1 กก. ตามลำดับ จะช่วยลดการเกิดอนุมูลอิสระ โดยลดการเกิดลิพิดเปอร์ออกซิเดชัน (Lipid Peroxidation) ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่ทำให้ไขมันแปรสภาพได้ (เช่น เวลาที่น้ำมันประกอบอาหารมีกลิ่นหืน)
น้ำมันมะกอก
วิตามินอีในน้ำมันมะกอก ช่วยควบคุมการเจริญเติบโตและการสื่อสาร ของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน (Dendritic Cells , T Cells) , กระตุ้นการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว ชนิดที่มีหน้าทำลายเชื้อโรค (Natural Killer Cell , NK Cells) และตอบสนองต่อการก่อตัวของมะเร็ง
พาร์มีซานชีส
เป็นอาหารที่มีโปรไบไอติกส์ (Probiotics) ซึ่งเป็นอาหารของ แบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์แมคโครฟาจ (Macrophage) ที่ทำหน้าที่ดักจับเชื้อโรค , เพิ่มการสร้างอิมมูโนโกลบูลินเอ (IgA) และปรับสมดุลการทำงานของเม็ดเลือดขาว (Regulatory T Cells)
#สาระดีดี
📌 ติดตาม Blackmores Thailand ได้ที่นี่
☑สั่งซื้อ : https://bit.ly/3cDo48d
ติดตามเรื่องราวสาระดีดีอีกได้ที่
เว็บไซต์ : http://saradede.net/
กดถูกใจ กดติตาม กดไลค์กดแชร์ หรือเมนท์ เป็นกำลังใจ
หากเนื้อหา บทความนี้ มีคุณค่าเป็นประโยชน์
ขอขอบพระคุณ ทุกๆๆท่านครับ
โฆษณา