2 พ.ย. 2021 เวลา 09:13 • ความคิดเห็น
ประสบการณ์ดีๆ จากการนั่งรถไฟไทย..
ไม่ใช่จากตั๋วชั้น 1 หรือ 2 หรือ 3
ตั๋วที่ว่าคือชั้นอะไร ? เหตุใดถึงเรียกอย่างนั้น ?
ปูพื้นกันก่อนครับ
🔸ประเทศไทยมีทางรถไฟยาวรวมกัน : 4,346 กิโลเมตร
🔸ทางรถไฟสายใต้คือสายที่ยาวที่สุด : ระยะทาง 1,159 กิโลเมตร
(สถานีกรุงเทพฯ - สุไหงโกลก)
🔸ในเชิงประวัติศาสตร์ไทยเราเริ่มมีรถไฟใกล้เคียงกับประเทศญี่ปุ่น
(สมัย ร.5 หลังญี่ปุ่น 24 ปี)
แผนที่เส้นทางรถไฟของไทย (เครดิต : การรถไฟแห่งประเทศไทย)
ชนิดตั๋วรถไฟของรถไฟไทย เป็นไปตามลักษณะโบกี้ :
▪️รถนั่ง - นอนปรับอากาศชั้น 1 : ตั๋วนอน ราคาสูงที่สุด
▪️รถนั่ง - นอนชั้นที่ 2 ปรับอากาศ :
▪️รถนั่ง - นอนชั้นที่ 2 (พัดลม)
▪️รถนั่ง - ชั้นที่ 2 ปรับอากาศ (เก้าอี้เอน)
▪️รถนั่ง - ชั้นที่ 2 พัดลม (เก้าอี้เอน)
▪️รถนั่ง - ชั้นที่ 3 : ราคาย่อมเยาว์ที่สุด
คนใต้สุดแดนสยามอย่างผม หากจะเดินทางไป บางกอก ...
แน่นอนครับ .. การเดินทางด้วยรถไฟ เป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ง่ายที่สุด
จากยะลา บ้านผมไปบางกอก ใช้เวลาเดินทางราว 20 ชั่วโมง
ต้องนอนค้างคืนบนรถไฟ 1 คืน
เครดิตภาพ : การรถไฟแห่งประเทศไทย
เด็กวัยมหาลัยจากปลายด้ามขวาน .. ไปบางกอกด้วยรถไฟ
3 สิ่งที่เขาจะต้องเตรียมไปด้วยคือ ..
1️⃣ พกข้าวห่อ อย่างน้อยก้อ 1 มื้อ สำหรับมือเย็น
2️⃣ หนังสือไว้อ่านแก้เหงา
3️⃣ อุปกรณ์สำหรับการนั่งรถไฟชั้นพิเศษ หลังพระอาทิตย์ ตกดิน
(เดี๋ยวมาเฉลย ว่าคืออะไร?)
ด้วยงบประมาณที่จำกัด ไหนค่าเทอม ค่าหนังสือ ค่าหอ ฯ
การประหยัดค่าเดินทางเป็นสิ่งจำเป็นครับ … (เราเอื้อมถึง)
🔘 เมื่อทานข้าวเย็นที่พกมาเสร็จ ได้สนทนากับผู้ร่วมเดินทางซักพัก
สิ่งที่พกมาตามข้อ 3 ก้อได้เริ่มขึ้น
🔘 สิ่งที่เตรียมมา “หนังสือพิมพ์” ก้อทำการปูบนพื้นโบกี้รถไฟ
เพื่อเอียงตัวงีบ (นอน)
🔘 บางคนเลือกใช้หนังสือพิมพ์หัว “สีเขียว” บางท่าน “สีแดง”
แล้วแต่ชอบครับ
เรามักจะเรียก ตั๋วรถไฟชั้นนี้ว่า “ชั้นไทยรัฐ” หรือบางท่าน “ชั้นเดลินิวส์ “
เราซื้อตั๋วนั่งชั้น 3 ราคาถูกที่สุด - และเราก้อได้นอนด้วย
นานกว่า 30 ปีแล้วที่ผม .. ซึมซาบความรู้สึกนั้น
อมยิ้ม .. เสมอเมื่อย้อนเวลากลับไปนึกถึง
จบโพสต์นี้ด้วย : ขอบคุณรถไฟไทย 🌹
1
ขอขอบคุณคุณอาม เจ้าของเพจ “เรื่องราวจากของเก็บ”
ที่ฉุดความรู้สึกนี้ขึ้นมาอีกครั้ง
1
เรียนรู้ .. จากรถไฟ
เรียนรู้ .. ไปพร้อมๆกัน
2 พฤศจิกายน 2564
เครดิตภาพ : pixabay
โฆษณา