4 พ.ย. 2021 เวลา 12:21 • กีฬา
🟠 ตอนที่ 14 งานยุ่งมาก แต่ก็ยังอยากวิ่ง จะทำอย่างไรดี?
mindful and productive running
🔹 วันนี้นำบทความที่น่าสนใจจากหนังสือ Run Well ของ Dr.Juliet McGrattan ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Bloomsbury Publishing Plc ในปี 2021 มาเล่าให้ฟังนะครับ
🟠 คำถามคือ ถ้าเราเป็นคนที่งานยุ่งมาก ๆ แต่ก็ยังรักการวิ่งอยู่ พอออกวิ่งไปก็กังวลว่างานยังค้างอยู่เยอะ เราจะมีวิธีจัดสรรเวลา หรือความคิดอย่างไรดี?
🔹️ ในหนังสือเล่มนี้แนะนำไว้แบบนี้ครับ
1. ปรับ mindset เกี่ยวกับการวิ่งก่อน เป็นอันดับแรกครับ การออกวิ่ง ไม่ได้เป็นการเบียดบังเวลาการทำงาน หรือเป็นการเอาเวลาไปใช้เรื่องส่วนตัว แต่การวิ่งนั้น เป็นการเสริมสร้างร่างกายและจิตใจ ให้ดียิ่งขึ้น พร้อมที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. ปรับตารางงาน หรือ to-do list ให้ realistic หรือเป็นไปได้จริงมากที่สุด พยายามอย่าจบวันด้วยงานที่ยังคั่งค้างอยู่มากเกินไป
3. ลองเช็คดูกิจวัตรประจำวัน ว่ามีอะไรที่ดึงเวลาในแต่ละวันมากเกินไปไหม เช่น การเข้าใช้ social media ที่นานเกินไป เป็นต้น เราสามารถจัดสรรเวลา จากกิจวัตรต่าง ๆ เอามารวมกันให้ได้สักครึ่ง - 1 ชั่วโมงต่อวันได้หรือไม่ เป็นต้นครับ
4. เมื่อจัดสรรหาเวลาวิ่งได้แล้ว ให้ลองวิธีการวิ่ง 2 แบบคือ mindful running และ productive running ครับ
🟠 Mindful running
🔹️ เมื่อจิตใจเวลาวิ่งมันไม่สงบ ฟุ้งซ่าน คอยจะคิดกังวลเรื่องงานที่คั่งค้าง หรือเรื่องอื่น ๆ ตลอดเวลาให้ลองวิ่งแบบ mindful running ดูครับ ซึ่งแนะนำไว้ดังนี้ครับ
🔹️ ใช้เวลา 2-3 นาที ในการรับรู้ลมหายใจ ให้ลองยืนหรือนั่งนิ่ง ๆ สูดหายใจลึก ๆ พร้อมกับรับรู้ลืหายใจจากการพอง การยุบของท้องสักพักหนึ่ง ก่อนออกวิ่ง
🔹️ วิ่งแบบไม่ต้องคำนึงถึง pace หรือความเร็ว ถ้าเป็นไปได้ ถอดนาฬิกา sport watch และหูฟังไว้ที่บ้าน ก่อนออกวิ่งครับ
🔹️ เมื่อออกวิ่ง ให้รับรู้ความรู้สึกของตนเองเวลาวิ่ง เช่น รับรู้ลมหายใจที่เข้าออก รับรู้จังหวะการเต้นของหัวใจ รับรู้อากาศที่พัดผ่านสัมผัสกับผิวหนัง รับรู้ความรู้สึกที่เท้าในขณะที่สัมผัสพื้น รับรู้ความรู้สึกที่แข็งแรงขึ้น รวมถึงความอ่อนล้าที่เกิดขึ้น
🔹️ รับฟังเสียงที่เกิดขึ้นรอบตัว เสียงรองเท้าที่สัมผัสพื้น เสียงเด็กเล่นในสนาม เสียงนกที่ร้องอยู่บนต้นไม้เป็นต้น
🔹️ รับรู้ภาพที่เห็น สิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวที่วิ่งผ่านไป แสงและเงา รูปร่างของต้นไม้สีและสัญลักษณ์ต่าง ๆ บนถนน
🔹️ รับรู้รสชาติ ที่สัมผัสทางปาก ไม่ว่าจะเป็นรสของยาสีฟันที่แปรงเมื่อเช้า รสของน้ำดื่ม หรือ sport drink รสของอากาศที่พัดผ่านมา
🔹️ รับรู้กลิ่นที่ได้สัมผัส กลิ่นของต้นไม้ใบหญ้า กลิ่นควันท่อไอเสียรถที่วิ่งผ่านไป กลิ่นกับข้าวที่ลอยมาตามลม
🔹️ ในขณะที่เรารับรู้จะอย่างใดอย่างหนึ่งตลอดการวิ่ง หรือจะทีละอย่างแบบแบ่งช่วงเวลาก็ได้ครับ ให้จิตใจจดจ่ออยู่กับปัจจุบัน ไม่ครุ่นคิดเรื่องอดีต และไม่กังวลเรื่องอนาคต
🔹 หลังจากวิ่งเสร็จ หยุดพักหายใจเข้าออกลึก ๆ รับรู้ความรู้สึกสงบ และความพร้อมของร่างกายและจิตใจ ที่พร้อมทำงานต่อในวันนั้น ๆ ครับ
🟠 Productive running
🔹️ ในหนังสือเล่มนี้ กล่าวไว้ว่า การวิ่ง มีความสามารถในการช่วยให้เราสามารถแก้ปัญหาได้ดี รวมถึงก่อให้เกิด idea ใหม่ ๆ ได้อย่างมากมายในขณะออกวิ่ง
🔹️ เลือกปัญหาที่ต้องการแก้ หรืองานที่ต้องคิดไว้หนึ่งเรื่อง เช่นการเตรียมงาน presentation, การแก้ปัญหาบางอย่าง
🔹️ เลือกเส้นทางการวิ่งที่ทางแยกน้อย ๆ เพื่อให้สามารถวิ่งยาว ๆ แบบไม่ทำให้จิตใจว้าวุ่นเกินไป
🔹️ เริ่มตั้งใจต้ั้งแต่ตอนแต่งตัว และ warm up ให้ชัดเจนถึงปัญหาที่ต้องการจะแก้ และมองเห็นภาพความสำเร็จที่จะเกิดขึ้นหลังวิ่งเสร็จ
🔹️ วิ่งแบบที่ใจจดจ่อ คิดถึงปัญหาที่ตั้งไว้ อาจจะปล่อยใจให้คิดเรื่องอื่น ๆ ไปได้บ้าง เพื่อไม่ให้น่าเบื่อเกิดเรื่องไป แต่อย่าลืมที่จะกลับมาเรื่องที่เป็นเป้าหมายไว้ด้วย
🔹️ เมื่อจิตใจ คลายจากความจดจ่อ เริ่มออกนอกทาง ให้ค่อย ๆ ดึงกลับมาสู่เรื่องที่ต้องการคิด ซึ่งหากเป็นคนที่เคยทำวิปัสสนามาก่อน อาจจะทำได้ง่ายขึ้น
🔹️ ค่อย ๆ คิดงานอย่างเป็นขั้นเป็นตอน step by step ไม่คิดย้อนไปมาในสิ่งที่ทำเสร็จแล้ว หรือปัญหาที่แก้ไปแล้ว ส่วนระยะเวลาหรือระยะทางที่วิ่ง จะขึ้นกับปัญหาว่าต้องใช้ระยะเวลาแก้นานเท่าไหร่
🔹️ เมื่อวิ่งเสร็จ ให้เขียนบันทึกทุกอย่างที่จำได้ หรืออาจจะใช้การบันทึกดสียงพูดเอา เพื่อให้ง่าย และประหยัดเวลาก็ได้
- เมื่อลองประยุกต์ใช้วิธีการวิ่งทั้งสองแบบนี้ จะทำให้เราสามารถใช้เวลาได้อย่างคุ้มค่า ความกังวลต่องานที่คั่งค้างน้อยลง ความสุข และประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการวิ่งก็มากขึ้นไปด้วย
- อย่างไรก็ตาม ไม่ได้แนะนำให้ทำแบบนี้ในการวิ่งทุก ๆ ครั้งนะครับ การวิ่งที่ดีควรจะเป็นการวิ่งที่มีความสุข สามารถปรับตามเวลา และเหตุปัจจุบัน น่าจะเป็นทางที่ดีที่สุดครับ
🏃‍♂️ ขอบคุณที่ให้ความสนใจ และขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการวิ่งนะครับ 🙂
โฆษณา