8 พ.ย. 2021 เวลา 00:00 • ปรัชญา
เรียนรู้ทุกอย่าง แต่ไม่ควรทำตามทุกอย่าง
ตลอดเส้นทางของ มิยาโมโตะ มูซาชิ จะสังเกตุเห็นได้ว่าตัวของเขาเป็นคนที่เปิดรับในศาสตร์ทุกแขนงไม่ว่าจะศิลปะ ปรัชญาเซน หรือแม้แต่ตำราพิชัยสงคราม ตัวของเขาพร้อมที่จะเรียนรู้ทุกอย่างเพื่อเอาศาสตร์ที่ได้เรียนรู้มาหลอมรวมกับวิชาดาบของตน เช่น วิชานิเทนอิจิริว ได้แรงบันดาลใจจากการเห็นคนตีกลองสองมือ หรือการตวัดดาบก็ได้มาจากกาตวัดมือวาดพู่กัน การเปิดกว้างและถ่อมตนของมูซาชิ คือปัจจัยที่ทำให้เขาพร้อมที่จะเรียนรู้ในหลายๆ ศาสตร์โดยไม่ดูแคลนวิชาใด
อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ตัววิชาของเขาเหนือกว่าผู้อื่นคือการเลือกคบคน ตัวของมูซาชิเลือกที่จะเข้าหาและศึกษาวิชาจากยอดคน ไม่ว่าจะเป็น
ยอดฝีมือแห่งยุคอย่าง ยางิว เซกิชูไซ พระทาคุอัน พระเซนที่นักดาบที่มีชื่อทุกคนในยุคนั้นต่างนับถือ พระอาจารย์กูโด พระเซนอีกหนึ่งท่านที่เหล่านักดาบต่างมาขอเป็นศิษย์เพื่อฝึกจิตใจ พระอินเอ แห่งวัดโฮโซอิน ยอดฝีมือที่มีฝีมือใกล้เคียงกับ ยางิว เซกิชูไซ ท่านโคเอ็ทสุ ช่างฝีมือแห่งยุคที่เชี่ยวชาญในด้านศิลปะและการลับดาบ
บุคคลเหล่านี้คือยอดคนในแต่ละด้านที่ตัวของมูซาชิได้ซึมซับหลักการ และได้รับคำสอนต่างๆ ที่มีค่ายิ่งกว่าเงินทอง ถึงแม้มูซาชิ "จะเรียนรู้ทุกอย่างแต่เขาก็ไม่ทำตามทุกอย่าง " ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ?
การเรียนรู้หลักการจากผู้อื่นนั้นเป็นเรื่องที่ดีโดยแท้ แต่ก็ใช่ว่าจะต้องทำตามเขาได้ไปเสียทุกอย่าง เช่น มูซาชิถนัดการใช้ดาบ คงจะเสียเวลาหากเริ่มนับหนึ่งฝึกวิชาทวนจากวัดโฮโซอิน เพียงแค่รู้ถึงข้อดีของวิชาทวนและปรับใช้วิชาของตนก็พอแล้ว หรือ การฝึกวาดพู่กัน ตัวของมูซาชิก็ไม่จำเป็นต้องทำตามท่านโคเอ็ทสุทุกกระเบียดนิ้ว เพียงแค่รู้ถึงการตวัดพู่กันนั้นเชื่อมโยงกับวิชาดาบอย่างไร และควรประยุกต์ใช้กับการตวัดดาบอย่างไรก็เพียงพอ
คำโบราณกล่าวไว้ว่า " ปัญญาชนควรสนิทไว้ แต่ไม่จำเป็นต้องตามเขาทุกอย่าง " ท่วงทำนองของชีวิตของคนเราไม่เหมือนกัน ต่างคนต่างลีลา ต่างท่วงท่า การเอาเยี่ยงคนอื่นนั้นดี แต่ไม่ควรเอาอย่างเขาทุกอย่างไป
1
ในเรื่องนี้ตัวของมูซาชิได้อธิบายผ่านคัมภีร์ภาคลมเอาไว้ว่า
"ในคัมภีร์ลมข้าจะเปิดเผยข้อเท็จจริงว่าไม่มีสิ่งใดในนี้เป็นวิถีที่แท้จริง ดั้งนั้นให้รู้ว่าสิ่งใดดีหรือไม่ดี สิ่งใดจริงหรือเท็จ หลักการของสำนักข้าคือบางอย่างที่แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง"

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา