6 พ.ย. 2021 เวลา 22:51 • ไลฟ์สไตล์
ขออนุญาตบังอาจตอบในภาพรวมนะครับ เพราะว่าลักษณะสภาพปัญหา ขนาดปัญหา ปัจจัย บุคคล เศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา ตลอดจนอาชีพการงาน ของคนเราแต่ละคนล้วนแตกต่างกัน
1
อันดับแรก ต้องทำจิตใจให้สงบ ตั้งสติให้มั่น
จากนั้นก็เรียงไล่ไตร่ตรองให้ถี่ถ้วนว่า ต้นเหตุแท้จริงของปัญหานั้นเกิดจากอะไร? ซึ่งตรงนี้สำคัญมากทีเดียว จำเป็นต้องใช้เหตุผลที่ดีและถูกต้อง ไม่อคติ หรือคิดเข้าข้างตัวเอง
1
ซึ่งหากผ่านจุดนี้ไปได้ ก็จะมองเห็นเหตุแท้จริงแห่งปัญหา เกิดการยอมรับ และมีความเข้าใจในผลที่เกิดตามมา
1
เมื่อรู้เหตุ - เข้าใจผล ก็จะมีความสุขเล็ก ๆ ผุดขึ้นมาให้ชื่นใจบ้าง เราจะรู้วิธีดูและแก้ปมปัญหาได้ถูกจุด
1
เริ่มจากดูว่า ปัญหานั้นเกิดจากตัวเรา หรือผู้อื่น
ถ้าเกิดจากตัวเรา ปัญหานั้นก็อาจจะแก้ไขได้ง่าย เพราะแก้ไขได้ที่ตัวเรา ไม่ต้องขอร้องพึ่งพาวุ่นวายกับใคร
1
แต่ถ้าเกิดจากผู้อื่น อาจจะยากสักหน่อย
ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับว่าเป็นใคร? สัมพันธภาพกับเราเป็นอย่างไร? พูดจาง่ายหรือยาก เป็นต้น
1
หากเป็นปัญหาที่สามารถแก้ไขได้ ก็รีบแก้ไขเสีย
แต่หากเป็นปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ก็ต้องปล่อยมันไปและต้องทำใจยอมรับสภาพนั้น กาลเวลาจะเยียวยาปัญหานั้น ไปพร้อม ๆ กับความรับผิดชอบของเรา
และอย่างที่ผมเกริ่นไว้ข้างต้นว่า สภาพปัญหาปัจจัยต่าง ๆ ของแต่ละคนล้วนแตกต่างกัน จึงขึ้นอยู่กับการพิจารณาและวิจารณญาณของแต่ละคนในการแก้ไขปัญหานั้น ๆ เพื่อนำพาตัวเองไปยืนอยู่ในจุดแห่งความสุข และหลีกเลี่ยงปัญหาซ้ำสองได้ครับ
* ในขณะที่ ยังไม่เกิดปัญหาใด ๆ ขึ้นมา
ฉะนั้น ก่อนจะลงมือทำสิ่งใด ก็ให้ไตร่ตรองคิดพิจารณาล่วงหน้าอย่างละเอียดถี่ถ้วนว่า หากทำไปแล้วจะมีปัญหาใดตามมาหรือเปล่า? และมากน้อยอย่างไร? ซึ่งจะเป็นวิธีหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นได้ในระดับต้นทางครับ
โฆษณา