8 พ.ย. 2021 เวลา 07:06 • กีฬา
📌11 ขั้นตอน การตรวจสารต้องห้าม
1. การเลือกนักกีฬา
นักกีฬาสามารถถูกตรวจสารต้องห้ามได้ทุกที่ ทุกเวลา
2. การแจ้ง เจ้าหน้าที่ควบคุมสารต้องห้าม
หรือเจ้าหน้าที่ติดตามนักกีฬาจะแจ้งให้ทราบว่าทำไมถึงได้รับการตรวจ รวมถึงบทบาทและหน้าที่ของนักกีฬาที่พึงกระทำ
3. การรายงานตัว ณ ห้องควบคุมสารต้องห้าม
นักกีฬาควรไปรายงานตัวที่สถานีควบคุมการใช้สารต้องห้ามในทันทีหลังจากได้รับการแจ้ง เจ้าหน้าที่ควบคุมสารต้องห้าม(DCO) จะอนุญาตให้คุณรายงานตัวล่าช้าได้ในเฉพาะกรณีที่ รับเหรียญ, ให้สัมภาษณ์กับสื่อ, บาดเจ็บ/ต้องปฐมพยาบาลและมีรายการแข่งขันต่อในวันเดียวกันนั้น
4. อุปกรณ์เก็บตัวอย่างปัสสาวะ
นักกีฬาจะต้องเลือกอุปกรณ์เก็บตัวอย่างด้วยตัวเองและตรวจดูความเรียบร้อยว่าอุปกรณ์นั้นไม่มีการปนเปื้อนหรือชำรุด
5. การเก็บตัวอย่าง
ในการให้ตัวอย่างปัสสาวะ นักกีฬาต้องได้รับการสังเกตการณ์จากเจ้าหน้าที่ควบคุมสารต้องห้าม (DCO) หรือเจ้าหน้าที่ติดตามนักกีฬา(Chaperone) ที่เป็นเพศเดียวกัน และนักกีฬาอาจจะต้องให้ตัวอย่างเลือดด้วย
6. ปริมาณปัสสาวะ
นักกีฬาจะต้องปัสสาวะให้ได้อย่างน้อย 90 มิลลิลิตร
7. การแบ่งตัวอย่างปัสสาวะ
ตัวอย่างปัสสาวะจะถูกแบ่งไปในขวด A และขวด B
8. กระบวนการของห้องปฏิบัติการตัวอย่างปัสสาวะ
ทั้งหมดจะถูกส่งไปตรวจยังห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองจากองค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก (WADA)
9. การปิดผนึกตัวอย่าง
นักกีฬาจะต้องปิดผนึกขวด A และขวด B ตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ควบคุมสารต้องห้าม (DCO)
10. การวัดค่าความถ่วงจำเพาะของปัสสาวะ
เจ้าหน้าที่ควบคุมสารต้องห้าม (DCO) จะวัดค่าความถ่วงจำเพาะของปัสสาวะเพื่อให้แน่ใจว่าเป็นปัสสาวะที่นำไปตรวจวิเคราะห์ได้
11. การกรอกแบบฟอร์มเก็บตัวอย่างปัสสาวะ
นักกีฬามีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการเก็บตัวอย่างและตรวจสอบเพื่อยืนยันว่าข้อมูลทั้งหมดในแบบฟอร์มถูกต้อง รวมไปถึงหมายเลขขวดด้วย นักกีฬาจะได้รับสำเนาของแบบฟอร์มทันทีหลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการ
🤔ใครจะต้องถูกตรวจบ้าง ในช่วงการแข่งขันกีฬา
1. การแข่งขันกีฬาแห่งชาติและการแข่งขันกีฬาแห่งชาติรอบคัดเลือกตัวแทนระดับภาค
2. การแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติและการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติรอบคัดเลือกตัวแทนระดับภาค
3. การแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งชาติและการแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งชาติรอบคัดเลือกตัวแทนระดับภาค
4. การแข่งขันกีฬาที่การกีฬาแห่งประเทศไทยเป็นผู้อนุญาตหรือให้การสนับสนุนงบประมาณในการจัดการแข่งขัน
5. การแข่งขันกีฬาที่สมาคมกีฬาเป็นผู้จัด ร่วมจัด หรือรับรองการจัดการแข่งขัน ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้อำนวยการสำนักงานควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา
นอกช่วงการแข่งขันกีฬา ได้แก่ นักกีฬาที่ขึ้นทะเบียนไว้กับสมาคมกีฬา
นักกีฬาสามารถถูกตรวจสารต้องห้ามได้โดยวิธีการสุ่ม สุ่มอันดับที่แข่งขันหรือโดยการระบุตัวสำหรับนอกช่วงการแข่งขัน นักกีฬาอาจถูกตรวจได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยไม่มีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปีจะต้องมีผู้ติดตามไปด้วย 1 คนเสมอ
สำหรับนักกีฬาคนพิการ อาจมีการปรับเปลี่ยนวิธีการเก็บตัวอย่างเล็กน้อยเพื่อความเหมาะสม
โฆษณา