15 พ.ย. 2021 เวลา 06:00 • ไลฟ์สไตล์
"พันธบัตรออมทรัพย์" และ "พันธบัตรรัฐบาล" ซื้อแล้วได้อะไร แบบไหนเหมาะกับเรา
2
ทำความรู้จัก "พันธบัตรออมทรัพย์" และ "พันธบัตรรัฐบาล" พร้อมข้อดี ข้อเสีย ที่ช่วยประเมินว่าการลงทุน "พันธบัตร" เหล่านี้มีรายละเอียดอย่างไร และเหมาะกับเราจริงหรือไม่ ?
6
"พันธบัตรออมทรัพย์" และ "พันธบัตรรัฐบาล" ซื้อแล้วได้อะไร แบบไหนเหมาะกับเรา
"พันธบัตรออมทรัพย์" และ "พันธบัตรรัฐบาล" กลับมาอยู่ในความสนใจของประชาชนคนไทยอีกครั้ง หลังรัฐบาลเปิดขาย "พันธบัตรออมไปด้วยกัน" รุ่นใหม่ล่าสุดที่จะเปิดให้จองซื้อผ่านแอพฯ "เป๋าตัง" 15 พ.ย. 64
1
แม้การลงทุนในพันธบัตรจะถือว่าเป็นการลงทุนที่ความเสี่ยงต่ำแต่ยังถือว่าเป็น "การลงทุน" มีความเสี่ยงบางอย่างที่ผุ้ลงทุนจำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง
สำหรับคนที่ยังลังเล หรืออยากลองเริ่มต้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลครั้งแรก "กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" จึงชวนไปทำความรู้จักกับพันธบัตรให้มากขึ้น ทั้งในมิติของโอกาส ความเสี่ยง
1
พันธบัตรคืออะไร ?
"พันธบัตร" หรือ "ตราสารหนี้รัฐบาล" เป็นตราสารหนี้ประเภทหนึ่งที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ โดยผู้ซื้อหรือนักลงทุนจะมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ ที่จะได้รับการชำระหนี้ และผลประโยชน์อื่นๆ เช่น ดอกเบี้ย จากลูกหนี้ คือ รัฐบาลหรือหน่วยงานที่ออกพันธบัตรนั้นๆ
3
พันธบัตรรัฐบาล คือ โดยตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลเพื่อระดมทุนไปใช้ในการบริหารประเทศ ลดการขาดดุลทางการเงิน ฯลฯ
พันธบัตรออมทรัพย์ คือ การซื้อพันธบัตรเพื่อออมทรัพย์ ขายให้กับบุคคลทั่วไป และองค์กรไม่แสวงหากำไรในสังกัดของรัฐบาล
1
ซื้อพันธบัตรแล้วได้อะไร ?
เมื่อลงทุนหรือซื้อพันธบัตรแล้ว ผู้ลงทุนจะมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของผู้ออกพันธบัตร หรือเจ้าหนี้ของรัฐบาล โดยมีโอกาสได้รับ "ดอกเบี้ย" "เงินปันผล" หรือผลประโยชน์อื่นๆ ตามที่ผู้ขายกำหนด
2
เช่น จะได้รับดอกเบี้ยเฉลี่ย X% มีการจ่ายดอกเบี้ยสม่ำเสมอ ทุกๆ X เดือน โดยผู้ลงทุนมีสิทธิ์ที่จะได้รับผลตอบแทนนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะครบอายุพันธบัตรที่ซื้อ และจะได้รับเงินต้นคืนทั้งหมด เมื่อถึงเวลาที่พันธบัตรกำหนด
2
จุดเด่นของพันธบัตร
- ได้รับผลตอบแทนระยะยาวสูงกว่าเงินฝากออมทรัพย์ สำหรับพันธบัตรออมทรัพย์ที่รัฐบาลออกมา เช่น พันธบัตรออมไปด้วยกันรุ่นอายุ 5 ปี มีผลตอบแทนเฉลี่ย 2.1 % ต่อปี ซึ่งมากว่าดอกเบี้ยของการฝากเงินธรรมดาที่เฉลี่ย 0.25% ต่อปี เป็นต้น
1
- ได้รับผลตอบแทนที่แน่นอน เนื่องจากพันธบัตรจะมีการระบุว่าจะให้ผลตอบแทนรูปแบบใด มีการจ่ายผลตอบแทนเมื่อไรก่อนให้นักลงทุนพิจารณาก่อนซื้อ
- มีความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ค่อนข้างต่ำ เนื่องจากรัฐเป็นลูกหนี้เอง แต่ผลตอบแทนก็ต่ำกว่าสินทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นเช่นกัน
ความเสี่ยงของพันธบัตร
- ด้านอัตราดอกเบี้ย : กรณีที่อัตราดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้น ผู้ลงทุนจะไม่ได้ปรับดอกเบี้ยขึ้นตาม
- ด้านสภาพคล่อง : พันธบัตรมีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน ทำให้สภาพคล่องต่ำกว่าเงินฝาก และจะได้เงินคืนครบต่อเมื่อถือจนครบเวลาที่กำหนด
- ด้านสภาวะเงินเฟ้อ : กรณีที่ค่าเงินเฟ้อสูงขึ้นมากๆ ดอกเบี้ยจากพันธบัตรยังเท่าเดิม อาจไม่คุ้มค่ากับการลงทุน
1
- ด้านราคา : กรณีนำพันธบัตรไปขายก่อนครบกำหนด อาจได้รับเงินคืนไม่เท่าเดิม ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ณ เวลานั้น เช่น อัตราดอกเบี้ย ณ เวลานั้นด้วย
ช่องทางการซื้อขายพันธบัตร
1
ตลาดซื้อขายพันธบัตร แบ่งเป็น 2 ตลาดเช่นเดียวกับการลงทุนประเภทอื่น คือมีการซื้อขายในตลาดแรก (Primary Market) และในตลาดรอง (Secondary Market) ซึ่งมีความแตกต่างกัน ดังนี้
1. ตลาดแรก คือ การซื้อขายพันธบัตรที่เปิดตัวครั้งแรก โดยเป็นการซื้อขายระหว่างสถาบันออกพันธบัตรกับนักลงทุน ราคาขายจะเป็นราคาหน้าพันธบัตร หรือราคาที่ต่ำกว่า
2. ตลาดรอง คือ การซื้อขายพันธบัตรระหว่างนักลงทุนด้วยกันเองที่ไม่ได้ซื้อผ่านตลาดแรก หรือนักลงทุนที่ซื้อผ่านตลาดแรก แต่ต้องการขายพันธบัตรก่อนครบกำหนดสัญญา นักลงทุนต้องมาขายผ่านตลาดรอง การซื้อขายมีทั้งแบบซื้อขายแบบตกลงกันเอง และการซื้อขายในตลาดตราสารหนี้ (Bond Electronic Exchange, BEX) ซึ่งเป็นการซื้อขายผ่านโบรกเกอร์
โฆษณา