15 พ.ย. 2021 เวลา 01:00 • ไลฟ์สไตล์
ชอบลงมือทำด้วยตัวเองหรือชอบเป็นคนจัดการ? หรือบางทีอาจจะชอบทั้งสองอย่าง
.
บางครั้งเราก็มีวันทำงานที่ขึ้นอยู่กับอารมณ์ แต่จะดีกว่าถ้าอย่างน้อยเรารู้ว่าเรากำลังสวมหมวกใบไหนอยู่ เพื่อให้ได้วิธีการทำงานที่เหมาะสมและหลีกเลี่ยงการจัดการเวลาที่ไร้ประโยชน์
.
วันนี้ Career Fact จะมาบอกความแตกต่างของรูปแบบการทำงานระหว่าง Maker กับ Manager ว่าแตกต่างกันอย่างไร และถ้าเราเป็นแบบใดแบบหนึ่ง เราจะมีวิธีจัดการการทำงานได้อย่างไร?
.
.
[ Maker คือใคร? ]
.
Maker หรือ ผู้สร้าง ชอบทำงานคนเดียวหรืออยู่ภายใต้ผู้จัดการ แม้ว่าอาจมีคนทำงานร่วมด้วยก็ตาม โดยส่วนใหญ่แล้วตารางเวลาของผู้สร้างจะประกอบด้วยช่วงเวลาอันยาวนานที่สงวนไว้สำหรับงานเฉพาะ หรือทั้งวันนั้นอาจทุ่มเทให้กับกิจกรรมเดียว โดยที่ผู้สร้างอาจเป็นได้ทั้งนักเขียน ศิลปิน พ่อครัว นักพัฒนาซอฟต์แวร์ หรือแม้กระทั่งช่างไม้ ใครก็ตามที่ออกแบบสร้าง ให้บริการและคิดค้นมักจะถูกรวมไว้ในหมวกของความเป็นผู้สร้าง
.
ผู้สร้างส่วนใหญ่มักจะใช้เวลาทำสิ่งชอบ ด้วยสมาธิที่แน่วแน่ นอกจากนี้งานที่เหล่าผู้สร้าง หรือ Maker ทำอยู่นั้นต้องไม่สะดุด ห้ามมีการแจ้งเตือนจากโทรศัพท์ เพราะเวลาเป็นที่สิ่งที่ต้องใช้ไปกับการทำงานทั้งหมด
.
.
[ Manager คือใคร? ]
.
Manager หรือ ผู้จัดการ มักจะมีงานหลักคือการจัดการบุคคลและจัดการระบบอื่นๆ พวกเขาวนเวียนอยู่กับการจัดระเบียบคนอื่น และมีสล็อตเวลาการทำงานที่เป็นสัดส่วน แน่นอนว่าเมื่อต้องการประชุมหรือเขียนอีเมล พวกเขาคือคนที่วางแผนการนัดไว้เป็นอย่างดีเพื่อให้งานบรรลุเป้าหมายและเสร็จสิ้นและจะคอยจัดการคนในทีมให้เหมาะสมเพื่อให้แต่ละโปรเจคมีความก้าวหน้าและสำเร็จได้
.
โดยที่ผู้จัดการไม่จำเป็นต้องสร้างสมาธิเพื่อจดจ่อกับอะไรนานๆ หลักๆ แล้วคนประเภทนี้ต้องการความสามารถในการตัดสินใจที่รวดเร็วและชาญฉลาด เขาจะคอยจัดการให้ทุกเรื่องเป็นไปอย่างเรียบร้อยไม่ว่าจะเป็นการประชุมแบบตัวต่อตัว หรือรายงานโดยตรงกับหัวหน้า และพวกเขาก็จะเป็นคนที่รู้เสมอว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นกับทีมหรือบริษัท
.
.
1
#สวมหมวกแบบไฮบริด
.
บางครั้งเราก็เป็นผู้สร้าง บางครั้งเราก็เป็นผู้จัดการ ฉะนั้นเราอาจจำเป็นต้องทำความเข้าใจว่าเรากำลังเล่นบทบาทใดหรือสวมหมวกแบบไหนอยู่ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการสื่อสารกับทีมและเพื่อนร่วมงานว่าจะสามารถคาดหวังอะไรจากเราในวันนั้นๆ
.
การสื่อสารให้ทุกคนในทีมรู้ว่าตารางการทำงานของเราในวันนี้เป็นเรื่องสำคัญเมื่อนึกถึงคนที่ทำหน้าที่ทั้งผู้สร้างและผู้จัดการก็คงนึกถึง อีลอน มัสก์ ที่เป็นตัวอย่างหนึ่งของคนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการมากมายในฐานะหัวหน้าของบริษัทระดับโลก และในฐานะผู้ลงมือออกแบบแต่ละโปรเจคที่เป็นงานวิศวกรรมของบริษัทด้วย เขาสามารถทำทั้งสองหน้าที่ได้อย่างดีเยี่ยมนั้นเป็นเพราะเขามีความเชี่ยวชาญในการสลับไปมาระหว่างตารางงานทั้งสองแบบและทำมันได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยวางแผนวันของเขาในช่วง 5 นาทีที่จะต้องจัดการทุกอย่างและหลีกเลี่ยงการโทรหรือตอบอีเมลเวลาที่ลงมือสร้างสรรค์งาน
.
.
#ทำงานแบบMaker
.
อย่างที่ได้เขียนไว้ตอนต้นว่าผู้สร้างหรือ Maker ต้องการใช้สมาธิจมอยู่กับงานที่ทำ ฉะนั้นถ้าเราจัดอยู่ในหมวดของผู้สร้างอาจจะลองปิดกั้นการแจ้งนัดหมายที่ลงไว้ในปฏิทินสักพักเพื่อไม่ถูกขัดจังหวะเวลาทำงาน และกำจัดสิ่งรบกวนอื่นๆ เช่น การแจ้งเตือนทางโทรศัพท์ ก็เป็นวิธีที่จะช่วยให้การทำงานราบรื่นและมีประสิทธิภาพ เราควรมีเวลาประชุมเท่าที่จำเป็นเร่งด่วนเท่านั้นเพื่อใช้เวลาเหล่านั้นไปกับการทำงานให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้น
.
.
#จัดการแบบManager
.
แน่นอนว่าการเป็นผู้จัดการหรือ Manager มีงานหลักคือการจัดการ ซึ่งบางครั้งอาจจะจัดการในสิ่งที่คิดว่าดีที่สุดสำหรับตัวเอง ด้วยเหตุนี้ควรหาจังหวะที่ดีที่สุดสำหรับการประชุมอยู่เสมอและใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในการนัดพบหรือพูดคุย ผู้จัดการบางคนต้องการให้มีการประชุมแบบ 1:1 ทั้งหมดพร้อมรายงานโดยตรงในวันเดียวกัน แต่สำหรับคนอื่นๆ แล้วนี่เป็นการประชุมมากเกินไป ซึ่งบางทีเราควรแจ้งกำหนดการทีมไว้ล่วงหน้าเพื่อให้พวกเขาได้มีเวลาและควรใส่ใจพวกเขาเสมอ และสิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจคนอื่นๆ ในทีมที่อาจทำตามตารางเวลาที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สร้างหรือ Maker ที่ต้องให้เวลากับเขามากๆ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีสำหรับทีมและองค์กร
.
.
หากคิดว่าตัวเองเป็นผู้สร้าง เราก็ควรที่จะประสบความสำเร็จในการจัดลำดับความสำคัญและโครงสร้างในหนึ่งวันไปกับการทำงานที่มุ่งเน้นเป็นเวลานาน แต่หากคิดว่าตัวเองเป็นผู้จัดการก็จงเตรียมพร้อมสำหรับการเข้าไปจัดการคนอื่นหรือทีม และต้องใส่ใจที่จะดูว่าพวกเขาต้องการเวลาแบบที่เราต้องการหรือไม่ ประสิทธิภาพในการทำงานที่มั่นคงและการจัดการที่เหมาะสมช่วยให้เราทำงานอย่างชาญฉลาดขึ้น
.
.
#careerfact #cariber
………………
Career Fact เพราะทุกอาชีพ... มีเรื่องราว
ติดตาม Career Fact ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/careerfact
.
อ้างอิง
โฆษณา