21 พ.ย. 2021 เวลา 13:52 • หนังสือ
วันนี้ผมจะมารีวิวและสรุปหนังสือที่มีชื่อว่า
‘ศาสตร์แห่งสมองที่รู้จักหยุดพัก’
3
หนังสือเล่มนี้เขียนโดยคุณ คุงายะ อากิระ
แปลโดยคุณช่อลดา เจียมวิจักษณ์
เล่มนี้ว่าด้วยเรื่องของการพักสมอง
เราจะพักสมองอย่างแท้จริงได้อย่างไร
พบคำตอบได้ในเล่มครับ
หนังสือเล่มนี้โดยหลักๆจะบอกถึงการหายใจแบบจดจ่อครับ
คล้ายๆกับวิธีนั่งสมาธิของศาสนาพุทธครับ
แต่เล่มนี้ยกงานวิจัยมากมายมาสนับสนุนการหายใจแบบจดจ่อ
ไม่ว่าจะช่วยรักษาบางโรคที่ยารักษาได้ยาก
เป็นวิธีที่บริษัทระดับโลกอย่าง Google ใช้ ครับ
ซึ่งแต่ละเทคนิคที่ยกมาล้วนช่วยให้สมองได้พักอย่างแท้จริงครับ
โดยหนังสือเล่มนี้เล่าในรูปแบบนิยาย
ซึ่งสนุกและอ่านง่ายครับ
อยู่นิ่งๆสมองไม่ได้พักนะ
1
สมองของเราหนัก 2 % แต่กินพลังงานไปถึง 20% ของทั้งหมด
ซึ่งสมองใช้พลังงานไปกับ สมองส่วนที่เรียกว่า
Default mode network (DMN) หรือที่เรียกว่า สมองส่วนเครือข่ายอัตโนมัติ
ซึ่งเจ้าสมองส่วนนี้มันจะทำงานเมื่อเราพักครับ
และมันจะยิ่งทำงานหนักขึ้นเมื่อเราไม่ได้คิดอะไรครับ
DMN ใช้พลังงานไป 60-80 % ของที่สมองใช้ครับ
1
ความเหนื่อยเป็นสิ่งเรารับรู้ผ่านสมอง
ภาวะสมองเหนื่อยจึงทำให้ร่างกายเหนื่อยมากกว่าเดิมครับ
เราจะลดหรือบรรเทาภาวะสมองเหนื่อยนี้ได้อย่างไร
วิธีแก้คือ เราต้องใช้การจดจ่อ
หรือในแบบที่เราเรียกกันว่าทำสมาธิครับ
ซึ่งรายละเอียดการทำจะเป็นอย่างไร
พบกันในหน้าถัดไปครับ
สิ่งที่ควรทำเมื่อสมองเหนื่อย
จากหน้าที่แล้ว การที่เราจะลดการทำงานของสมองส่วน DMN ได้
จะต้องใช้วิธีหายใจแบบจดจ่อครับ
โดยจะต้อง
1
1 นั่งให้ถูกท่า
นั่งบนเก้าอี้โดยนั่งหลังตรงและไม่พิงพนักพิง
ไม่เกร็งและหลับตา
2
2 จดจ่อกับสิ่งที่ร่างกายรู้สึก
สังเกตสิ่งที่ร่างกายสัมผัสอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเราที่แตะพื้นหรือการนั่งบนเก้าอี้
1
3 กำหนดลมหายใจเข้าออก
สังเกตการณ์หายใจของตนเอง
แล้วหายใจให้เป็นธรมมชาติ ไม่ต้องฝืนหายใจลึกเกินไป
1
4 ไม่สนความคิดฟุ้งซ่านที่อยู่ในหัว
ทันทีที่รู้ว่า มีสิ่งฟุ้งซ่านเข้ามาให้กลับมาสังเกตลมหายใจเราอีกครั้ง
1
ทำวันละ 5 -10 นาทีอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้สมองหายเหนื่อยได้ครับ
1
วิธีปฏิบัติเมื่อเครียด
โดยใช้เทคนิคพักหายใจ หายคอ
1 สังเกตว่าความเครียดส่งผลต่อร่างกายอย่างไรบ้าง
นั่งให้ถูกท่าแบบในหน้าที่แล้ว
แล้วพิจารณาหรือสรุปความเครียดในตอนนั้นออกมา
1
2 จดจ่อกับลมหายใจ
หายใจแบบกำหนดตัวเลขหายใจเข้าออก
เมื่อค่อยๆทำ ร่างกายจะเริ่มคลายตัวมากขึ้น
1
3 ลองสังเกตร่างกายทั้งตัว
เปลี่ยนจากที่จดจ่อแต่ละส่วนมาเป็นทั้งร่างกาย
แล้วคิดว่าได้พัดพาความเครียดออกจากร่างกายไปแล้ว
2
วิธีปฏิบัติเมื่อคิดลบกับผู้อื่น
โดยใช้วิธีแผ่เมตตา
1 ปรับจิตใจให้อยู่ในภาวะจดจ่อไม่วอกแวก
ใช้เทคนิคหายใจแบบจดจ่อที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ประมาฯ 10 นาที
จากนั้นหันมาจดจ่อที่นี่ตอนนี้ แทนความคิดลบ
2 นึกถึงคนที่คิดลบด้วย
นึกถึงคนที่ทำให้เราคิดแบบนั้น
แล้วสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงร่างกาย
3 ท่องประโยคที่เป็นความรู้สึกเชิงบวก
เช่น ขอให้คุณสุขภาพแข็งแรง
ขอให้คุณปลอดภัยจากอันตรายต่างๆ เป็นต้น
ที่ทำแบบนี้ เพราะเป็นอีกวิธีที่ช่วยให้สมอง DMN ทำงานน้อยลงได้ครับ
1
ขอบคุณสำหรับการรับชมครับ
1
โฆษณา