23 พ.ย. 2021 เวลา 00:30 • ธุรกิจ
การผูกขาดแย่ยังไง?
1
.
15
หลาย ๆ คนคงเคยได้ยินคำว่า การผูกขาด และได้ยินแต่ว่ามันแย่ แต่ไม่รู้ว่ามันแย่ยังไง วันนี้เรามาเรียนรู้กันครับ
7
.
1
การผูกขาด คือ การมีอำนาจควบคุมตลาดของกิจการใดกิจการหนึ่ง ซึ่งถ้ารุนแรงมาก ๆ อาจจะทำให้คู่แข่งอื่นไม่สามารถเข้ามาแข่งขันได้
2
.
ซึ่งในประเทศเศรษฐกิจเสรี มักจะไม่ยอมให้เกิดการผูกขาดขึ้น เพราะการผูกขาดทำให้เกิดปัญหาหลัก ๆ ดังนี้
3
.
4
- ทำให้ผู้ขายสามารถตั้งราคาที่ไหนก็ได้ รวมทั้งราคาที่สูงเกิดความจริงไปมาก ทำให้เกิดการผลิต และบริโภคสินค้าและบริการต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งทางเศรษฐศาสตร์เรียกว่า deadweight loss ถ้าดูตามรูปที่สอง จะเป็นส่วนพื้นที่สีเหลือง
- ทำให้ผู้ขายไม่จำเป็นต้องผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ เพราะรู้ว่าทำอย่างไรก็ขายได้อยู่ดี
11
- ทำให้ผู้ขายไม่มีการแข่งขัน จึงไม่มีแรงจูงใจให้สร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ มาจูงใจผู้บริโภค
10
- ทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อขึ้น เพราะสินค้าและบริการมีราคาสูง ทำให้คนสามารถบริโภคได้ลดลง
7
.
นอกจากนี้ การผูกขาดยังส่งผลกระทบอื่น ๆ ในระดับเศรษฐกิจมหภาค (macroeconomics) อีกด้วย เช่น
.
- การที่ธุรกิจผูกขาดสามารถมีกำไรได้มากกว่าธุรกิจที่ไม่มีการผูกขาด ทำให้เงินลงทุนไหลลงไปในธุรกิจที่ผูกขาดได้ ทำให้ไม่เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ควรจะลงทุน
2
- การผูกขาดทำให้เกิดการเหลื่อมล้ำ เจ้าของกิจการที่ผูกขาดจะแบ่งส่วนของมูลค่าไปเกินควร จนในที่สุดคนรวยก็จะรวยมากขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่คนจนก็จะจนลงเรื่อย ๆ
8
- การผูกขาดทำให้เกิดการใช้อำนาจในทางที่ไม่ควร ทำให้ผู้ผลิตรายอื่นต้องออกจากตลาดเอง ทั้งแบบสมัครใจ และแบบไม่สมัครใจ
5
- การผูกขาดมีส่วนส่งเสริมให้เกิดการคอรัปชั่น เพราะหากการผูกขาดสามารถซื้อได้ ย่อมมีคนต้องการจ่าย เพื่อให้ได้อำนาจนั้นมา
3
.
อย่างไรก็ดี มันมีสิ่งที่เรียกว่า การผูกขาดโดยธรรมชาติ (natural monopoly) ซึ่งเกิดจากการที่มีทรัพยากรจำกัด หรือจากต้นทุนคงที่ที่สูง เช่น อุตสาหกรรมเหมืองแร่ หรืออุตสาหกรรมโทรคมนาคม นั่นเอง
.
หากให้ใครก็ได้มาลงทุนในอุตสาหกรรมเหล่านี้อย่างอิสระ จะเกิดปัญหาหลายประการ ซึ่งจะขอยกตัวอย่างของธุรกิจโทรศัพท์มือถือ จะได้เห็นภาพกันครับ
3
.
2
- ผู้ประกอบการจะต้องลงทุนติดตั้งสถานีรับส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือ (cell site) ทั้งประเทศ มีต้นทุนในการติดตั้งสูง
2
- ถ้าหากลงทุนสูงแล้ว มีผู้ใช้งานน้อย ก็จะขาดทุนได้
2
- หากเลือกติดตั้งสถานีเฉพาะบริเวณ ก็จะมีปัญหาว่า ลูกค้าจะไม่สามารถใช้โทรศัพท์ได้ เวลาที่ออกนอกบริเวณ
- การติดตั้งสถานีโดยผู้ประกอบการหลาย ๆ เจ้า ก็จะทำให้มีคลื่นความถี่ไม่เพียงพอใช้งานอีกแล้ว เพราะแต่จะเจ้า จะต้องใช้ช่องสัญญาณของตัวเอง
1
- ยิ่งไปกว่านั้น มันยังทำให้เกิดการลงทุนที่ไม่จำเป็น และซ้ำซ้อนอีกด้วย
1
.
ดังนั้น ในฐานะรัฐผู้ควบคุมทรัพยากรเหล่านี้ รัฐจึงเลือกที่จะดำเนินธุรกิจเหล่านี้เอง หรือไม่ก็ให้ธุรกิจเข้ารับสัมปทาน หรือมาเช่าคลื่นความถี่เหล่านี้ไปดำเนินงาน เพื่อแก้ปัญหาข้างต้น และแบ่ง deadweight loss ที่เกิดขึ้นกลับเข้ารัฐผ่านการเก็บเงินค่าสัมปทาน และใบอนุญาต
.
ธุรกิจโทรคมนาคมจึงเป็นธุรกิจที่มีการผูกขาดอยู่แล้วโดยธรรมชาติ แต่มันเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะบังคับให้เกิดการแข่งขันอยู่ในระดับที่เหมาะสม ไม่มากเกินจนกระทั่งเกิดการลงทุนที่ไม่จำเป็น หรือจนธุรกิจอยู่ไม่รอด แต่ก็ไม่น้อยจนเกิดภาวะเหนือตลาด ทำให้ราคาสินค้าและบริการสูงเกินจริง และลดนวัตกรรมใหม่ ๆ
1
.
1
จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจที่ กสทช. จะมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาอนุมัติการควบรวมกิจการของ TRUE และ DTAC ในครั้งนี้ครับ
4
.
เดี๋ยวตอนหน้า เรามาดูตัวอย่างการผูกขาดที่เกิดขึ้นกันบ้างครับ
Cr: ภาพจาก The Balance / Bailey Mariner และ wikipedia
โฆษณา