24 พ.ย. 2021 เวลา 07:47 • ประวัติศาสตร์
*** สงครามกลางเมืองล่าสุดของไทย: ประวัติพคท. เข้าใจง่าย ***
สมัยสงครามเย็น ประเทศฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้ส่งออกการปฏิวัติไปยังประเทศต่างๆ เพื่อพยายามโค่นล้มรัฐบาลเก่าตั้งเป็นรัฐคอมมิวนิสต์ขึ้น ทำให้เกิดสงครามตัวแทนระหว่างค่ายคอมมิวนิสต์กับค่ายโลกเสรีไปทั่วโลก ประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในนั้น
ระหว่างปี 1965 - 1983 ประเทศไทยเกิดสงครามกลางเมือง ระหว่างฝ่ายรัฐบาลที่ได้รับการสนับสนุนจากอเมริกา กับฝ่ายพรรคคอมมิวนิสต์ไทย (พคท.) ที่ได้รับการสนับสนุนจากจีน
สงครามนี้ใช้ทหารต่อสู้กันหลักแสน มีคนตายหลายพัน มีการยึดครองพื้นที่ และชิงพื้นที่กันด้วยกำลังทางบกทางอากาศเป็นศึกใหญ่กินระยะเวลาถึง 18 ปี แต่ทั้งหมดกลับมีการพูดถึงไม่มากเท่าที่ควร แม้กระทั่งหลีกเลี่ยงจะเรียกสิ่งนี้ว่าสงคราม เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ผู้เกี่ยวข้องหลายคนยังมีชีวิตอยู่
บทความนี้จะพาทุกท่านย้อนไปดูประวัติความเป็นมาของพรรคคอมมิวนิสต์ไทย โดยจะพูดถึงเส้นทางการต่อสู้ ซึ่งได้จบลงเมื่อพวกเขาเลือกเปลี่ยนมาเป็น “ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย” กันครับ
*** ช่วงกำเนิดคอมมิวนิสต์ไทย (ก่อน ค.ศ. 1947) ***
สำหรับประวัติศาสตร์การเคลื่อนไหวของลัทธิคอมมิวนิสต์ในประเทศไทยนั้นอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ช่วง...
ช่วงที่ 1 เป็นช่วงที่อยู่ใต้การบริหารของชาวจีนกับเวียดนาม
ช่วงที่2 คือการก่อตั้งเป็นพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสยามอย่างเป็นทางการ
ภาพแนบ: ปกการ์ตูนโฆษณาชวนเชื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ในยุคนั้น ชื่อเรื่อง “ไฟเย็น” โดยเป็นการเปรียบคอมมิวนิสต์เหมือนไฟเย็นที่ดูแต่แรกไม่มีอันตราย แต่แท้จริงอาจทำร้ายคนได้
ภาพแนบ: หนังสือพิมพ์กรรมกร
แนวคิดคอมมิวนิสต์ได้มีการพูดถึงในสยามมาในระยะหนึ่งแล้ว แต่กระนั้นก็เป็นในกลุ่มระดับเจ้านายชั้นสูงและเชื้อพระวงศ์ภายในราชสำนัก และกลุ่มข้าราชการ โดยรวมแนวคิดคอมมิวนิสต์ยังคงผูกขาดอยู่แต่กับชนชั้นนำที่มีทุนความรู้ ดังนั้นจึงไม่ได้มีพลังในการขับเคลื่อนมวลชน อีกทั้งราชสำนักก็คอยระวังภัยอยู่ตลอด
ต่อมา ปัญญาชน เช่น ถวัต ฤทธิเดช, ร.ต.อ.วาน สุนทรจามร, และ สุ่น กิจจำนงค์ รู้สึกนิยมแนวคิดแบบสังคมนิยม จึงได้เผยแพร่แนวคิดดังกล่าวผ่านหนังสือพิมพ์ “กรรมกร” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ “ผดุงอิศรภาพและสิทธิของพวกกรรมกร และ ปลุกพวกกรรมกรให้ตื่นขึ้นจากการหลับ” โดยเริ่มต้นจากกลุ่มกรรมกรรถรางในเวลานั้น
ภาพแนบ: ซอยผลิตผล (ซอยซุนยัดเซน) ได้ชื่อนี้มาเพราะซุนยัดเซนเคยมาปราศรัยที่นี่
ช่วงการปฏิวัติราชวงศ์ชิง "ซุนยัตเซ็น" ผู้นำการปฏิวัติ ได้เดินทางเข้ามาขอเรี่ยไรเงินสนับสนุนจากคนเชื้อสายจีนในสยาม พร้อมกับเผยแพร่ลัทธิทางเศรษฐกิจ คือ ลัทธิไตรราษฎร์ (แต่ลัทธิคอมมิวนิสต์ก็ตามติดเข้ามาด้วย)
จนเมื่อการปฏิวัติสำเร็จและซุนยัตเซ็นเสียชีวิต นายพลเจียงไคเช็ก หัวหน้าพรรคก๊กมินตั๋งคนต่อมา สั่งกวาดล้างสมาชิกพรรคฝ่ายซ้าย
ผลของการเปลี่ยนแปลงในจีนทำให้มีคนจีนฝ่ายซ้ายอพยพเข้ามาในสยามจำนวนมาก ก่อเกิดเป็นองค์กรใต้ดินหัวฝ่ายซ้ายหลากหลายกลุ่มในกรุงเทพ เช่น พรรคชาวจีนโพ้นทะเล, พรรคปฏิวัติใต้ดิน, หรือ องค์กรปฏิวัติฝ่ายซ้ายหัวเฉียว
ในปี 1928 พรรคคอมมิวนิสต์จีนอนุมัติจัดตั้งสาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กรุงสิงคโปร์ เมืองหลวงของบริติชมลายา (มาเลเซียและสิงคโปร์ในขณะที่ตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ) เพื่อรับผิดชอบและสนับสนุนการเคลื่อนไหวของแนวร่วมคอมมิวนิสต์ในคาบสมุทรมลายาและสยาม
เหตุนี้ทำให้ต่อมามีการจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีนสาขาสยาม ซึ่งทางการสยามเรียกว่า “คณะใหญ่คอมมิวนิสต์สาขาประเทศสยาม” ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน แต่เนื่องจากกลุ่มนี้ตั้งขึ้นมาเพื่อกลับไปเคลื่อนไหวในจีน ดังนั้นจึงมีบทบาทในประเทศไทยลดลงเรื่อยๆ
ภาพแนบ: โฮจิมินห์
ในปีเดียวกัน "โฮจิมินห์" นักปฏิวัติชาวเวียดนาม ปลอมตัวเป็นนักบวชเดินทางเข้าสยามมาเพื่อตั้งกองกำลังขนาดเล็กในหมู่ประชากรภาคอีสาน เช่น ในจังหวัดอุดรธานีและอุบลราชธานี เพื่อเตรียมการปฏิบัติการในอินโดจีนฝรั่งเศส (คือเขมร ลาว เวียดนามที่ตอนนั้นเป็นเมืองขึ้นฝรั่งเศส)
โฮจิมินห์ยังพยายามจัดระเบียบพรรคคอมมิวนิสต์ในอินโดจีนทั้งหมด กระทั่งต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าสาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขององค์การคอมมิวนิสต์สากลหรือโคมินเทิร์นซึ่งมีสหภาพโซเวียตเป็นแกนนำ
ภาพแนบ: โรงแรมตุ้นกี่
วันที่ 20 ม.ย. 1930 (พ.ศ. 2473) โฮจิมินห์เป็นประธานการประชุม ณ โรงแรมตุ้นกี่ หน้าหัวลำโพง เพื่อจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ในสยาม เรียกว่า “สมาคมคอมมิวนิสต์สยาม” มีจุดมุ่งหมายเพื่อโค่นล้มระบอบศักดินา เพื่อสร้างรัฐกรรมกรชาวนาแห่งสยาม
องค์กรนี้จะได้พัฒนาไปเป็นพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ในเวลาต่อมา (ข้อมูลทางการระบุว่า พคท. ก่อตั้งเมื่อค.ศ. 1942 หรือพ.ศ. 2485) ซึ่งในช่วงแรกๆ พรรคคอมมิวนิสต์ไทยนั้นยังคงเป็นกลุ่มปัญญาชนเล็กๆ ในกรุงเทพ มีสำนักงานใหญ่ลับตั้งอยู่ที่ถนนสี่พระยา
ภาพแนบ: สมุดปกเหลือง ภาพจากมติชน
ในสมัยนั้นทางการสยามได้ระแคะระคาย และมีมาตรการตอบโต้ออกมาแล้ว เช่น มีการแก้ไขกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 ระบุว่า "การสั่งสอนทฤษฎีการเมืองหรือเศรษฐกิจเพื่อให้บังเกิดความเกลียดชังดูหมิ่นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือเกิดความเกลียดชังระหว่างชนชั้น" ถือเป็นความผิด (ซึ่งก็คือห้ามลัทธิคอมมิวนิสต์นั่นเอง)
ต่อมาท่ามกลางการช่วงชิงอำนาจระหว่างกลุ่มขุนนางกับคณะราษฎร มีการโจมตีเค้าโครงเศรษฐกิจ (หรือ “สมุดปกเหลือง”) ของปรีดี พนมยงค์ว่าเป็นคอมมิวนิสต์
ภาพแนบ: ปรีดี พนมยงค์
โดยข้อโจมตีหลักๆ คือปรีดีวางแผนให้รัฐบาลเข้าควบคุมที่ดินเป็นอันมากพร้อมกับให้ประชาชนส่วนหนึ่งเข้าเป็นลูกจ้างของรัฐ แต่นักวิชาการชั้นหลังวิเคราะห์ว่าจริงๆ แล้วปรีดีมีแนวคิดผสมระหว่างสังคมนิยมกับเสรีนิยมสายฌ็อง ญัค รุสโซมากกว่า
...ไม่ว่าชนชั้นนำขณะนั้นคิดว่าปรีดีเป็นคอมมิวนิสต์จริงๆ หรือจะใช้เป็นข้ออ้างกำจัดก็ตาม แต่ทำให้รัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดาก็ได้ออกพระราชบัญญัติว่าด้วยคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2476 (1933) และปรีดีถูกบีบให้ต้องเดินทางออกนอกประเทศไปชั่วคราวเพื่อลดแรงต้าน
ภาพแนบ: ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
ถึงกระนั้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 พวกคอมมิวนิสต์ได้จับมือร่วมกับขบวนการเสรีไทยในประเทศ เพื่อช่วยกันต่อต้านญี่ปุ่นเป็นสามารถ
ต่อมาหลังสงคราม รัฐบาลปรีดี พนมยงค์ ได้ยกเลิกกฎหมายต่อต้านคอมมิวนิสต์ เพื่อแลกกับการที่สหภาพโซเวียตจะรับรองไทยให้ได้เป็นสมาชิกสหประชาชาติ
โดยหนึ่งในสมาชิก พคท. ที่มีบทบาทสำคัญในเวลาต่อมาคือ "ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร" อดีตผู้แทนราษฎรจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์มาเข้าร่วมกับ พคท. และได้รับเลือกเป็นกรรมการกลางพรรคในเวลาต่อมา
อย่างไรก็ตามพรรคการเมืองดังกล่าว ไม่สามารถจดทะเบียนและลงเลือกตั้งเหมือนพรรคอื่นๆ ได้
ภาพแนบ: จอมพล ป. พิบูลสงคราม
แต่ไม่นานหลังจากนั้นกลุ่มอนุรักษนิยมกับเครือข่ายนิยมเจ้าจับมือกันโค่นรัฐบาลซึ่งเป็นคณะราษฎรสายปรีดีได้สำเร็จในปี 1947 (เรียกว่าเหตุการณ์ รัฐประหาร พ.ศ. 2490)
ในช่วงนั้น "จอมพล ป. พิบูลสงคราม" นายกรัฐมนตรี ขาดฐานอำนาจของตนเอง จึงใช้วิธีเรียกความชอบธรรมจากการสนับสนุนของสหรัฐ ทำให้อิทธิพลของสหรัฐในไทยเพิ่มขึ้นมาก และทำให้ไทยเริ่มเข้าสู่สงครามเย็นโดยอยู่ฝ่ายโลกเสรี ณ ช่วงนี้มีการออกกฎหมายต่อต้านคอมมิวนิสต์ฉบับใหม่ ทำให้ พคท. ต้องลงต่อสู้ใต้ดิน
ภาพแนบ: สงครามเกาหลี
*** คอมมิวนิสต์ไทยในสงครามเย็นช่วงแรก (ค.ศ. 1947 - 1965) ***
ในช่วงสงครามเกาหลี พรรคคอมมิวนิสต์ยังสะสมกำลังคนและอาวุธอยู่ พร้อมกันนั้นมีบันทึกว่าได้ก่อตั้ง "คณะกรรมการสันติภาพแห่งประเทศไทย" ขึ้น เพื่อพยายามเรียกร้องไม่ให้ไทยส่งกำลังไปร่วมรบกับสหรัฐที่เกาหลี
ภาพแนบ: เจริญ สืบแสง ประธานคณะกรรมการสันติภาพแห่งประเทศไทย
หลังจากช่วงที่จีนแตกคอกับโซเวียต ช่วงปี 1950 ถึง 1960 พคท. เลือกสวามิภักดิ์ฝ่ายจีน พวกเขาส่วนหนึ่งได้เดินทางไปยังกรุงปักกิ่งเพื่อฝึกด้านอุดมการณ์และการโฆษณาชวนเชื่อ รวมทั้งมีการส่งคนไปฝึกอาวุธตามค่ายในจีน ลาวและเวียดนามเหนือ
ในปี 2507 (1964) สมาชิก พคท. ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ทหารอเมริกันออกจากประเทศไทยและให้เปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยแพร่สัญญาณวิทยุจากกรุงปักกิ่ง
1
ภาพแนบ: พโยม จุลานนท์ภาพแนบ: พโยม จุลานนท์
นอกจากนี้ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันนั้นยังมีการก่อตั้งกลุ่มเอียงซ้ายต่างๆ ได้แก่ ขบวนการไทยอิสระ (Thai Independent Movement) เป็นกลุ่มการเมือง และแนวร่วมกู้ชาติไทย (Thai United Patriotic Front) เป็นกลุ่มติดอาวุธ ซึ่งมีพโยม จุลานนท์เป็นหัวหน้า
กลุ่มเหล่านี้มักมีพวกชาวเขา และชนกลุ่มน้อยจีนและเวียดนามเป็นกำลังพลหลัก ในปี 1960 ถึง 1964 ได้ก่อเหตุลอบสังหาร 17 ครั้ง แต่ยังเลี่ยงการปะทะกับรัฐบาล
*** วันเสียงปืนแตก และการต่อสู้แรกๆ (ค.ศ. 1965 - 1970) ***
วันที่ 7 ส.ค. 2508 (1965) เป็นวันที่ถูกจารึกว่าเป็น “วันเสียงปืนแตก” โดยเป็นวันแรกที่ พคท. เปิดฉากปะทะกับกำลังของรัฐไทยตรงๆ ที่อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม (แม้นักประวัติศาสตร์บางส่วนแย้งด้วยหลักฐานว่าอาจเป็นวันที่ 8 ส.ค.) นอกจากนี้ พคท. ยังประกาศให้ฝ่ายประชาชนจัดกองกำลังติดอาวุธด้วย ใช้ชื่อว่า “พลพรรคประชาชนต่อต้านอเมริกาแห่งประเทศไทย”
ต่อมา พคท. พยายามขยายพื้นที่ปฏิบัติการ จนถึงปี 1969 ได้มีการก่อเหตุขึ้น ณ เทือกเขาเพชรบูรณ์และผีปันน้ำทางเหนือ นอกจากนี้ยังมีการขยายลงไปถึงชายแดนไทย-มาเลเซีย (ซึ่งมีกำลังพรรคคอมมิวนิสต์จีนมลายาอยู่ด้วย)
ภาพแนบ: อินโฟกราฟิก "เผาลงถังแดง"
"ปฐม ตันธิติ" ตัวแทน พคท. ปัจจุบัน เล่าว่ารัฐบาลใช้ความรุนแรงต่อสมาชิก พคท. เหมือนไม่ใช่มนุษย์ โดยระบุว่า
"รัฐบาลขณะนั้น ทำร้ายประชาชน มีความเหี้ยมโหดทารุณ นับตั้งแต่เริ่มต้นก็เผาสวนยางชาวเบตงนับหมื่นไร่ หาว่าชาวสวนสนับสนุน พ.ค.ท. ต่อมาก็ทำพฤติกรรมเหี้ยมโหด จับคนเผาทั้งเป็นในถังน้ำมันสองร้อยลิตร ในกรณีถังแดง จับคนขึ้นเฮลิคอปเตอร์ถีบลงเขาร่วม 700 ศพ ที่พัทลุงนั่นก็ 3,000 กว่าชีวิต แล้วใครใช้ความรุนแรงต่อกันก่อน”
ทั้งนี้เขาอ้างถึงมาตรการ "ถีบลงเขา เผาลงถังแดง" ที่รัฐบาลปราบปรามสมาชิก พคท. ในจังหวัด พัทลุง ตรัง นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี อย่างโหดเหี้ยม ในช่วงปี 1967 ถึง 1972
*** ตัดเข้าช่วงโฆษณา ***
เมื่อเขียนเรื่องคอมมิวนิสต์ เลยขอโฆษณาว่าหนังสือ "เชือดเช็ดเชเชน" ที่พิมพ์ครั้งก่อนขายหมดจากตลาดไปนานแล้ว มีแผนจะพิมพ์ใหม่ปลายปีนี้นะครับ ตอนนี้เปิดให้จองแล้ว
- หนังสือเล่มนี้เล่าเรื่องประวัติของชนกลุ่มน้อยเชเชน ตลอดจนประวัติศาสตร์รัสเซียยุคหลัง โดยเน้นบทบาทของปูตินในการต่อสู้เพื่อขึ้นครองอำนาจ, ปฏิรูปรัสเซีย, และทำสงครามปราบชาวเชเชน
- หนังสือเล่มนี้มีผู้วิจารณ์มากมายว่า "โหดสัสรัสเซีย"
- ผมตั้งใจจะเพิ่มเนื้อหาให้อัพเดทถึงปัจจุบัน แน่นอนว่ามีความโหดสัสมากขึ้นไปอีก
- พิมพ์เป็นสี่สีแน่นอน
- ปกพิมพ์สีเมทัลลิก ปั้มนูนและปั้มเงินที่ชื่อเหมือนเล่มสุริยันพันธุ์เคิร์ด รับรองว่าสวยมาก เหมาะแก่การสะสม สำนักพิมพ์ The Wild Chronicles 😉
- มีเซ็นลายเซ็นพิเศษประจำเล่มให้ครับ
- ราคาอยู่ที่ 389 บาท สั่งพรีออเดอร์ตอนนี้ลดเหลือ 369 บาท และฟรีค่าส่งในประเทศ (ปกติค่าส่ง 50 บาทครับ ส่วนต่างประเทศก็ตามจริง)
- สนใจชำระและใส่ที่อยู่ที่ link แนบได้เลย อนึ่งระบบนี้จะมีเมลคอนเฟิร์มไปแต่ช้าหน่อยนะครับ
นอกจากนี้ ยังขอโฆษณาว่าหนังสือ "ประวัติย่อก่อการร้าย War on Terror" ที่พิมพ์ครั้งก่อนขายหมดจากตลาดไปนานแล้ว มีแผนจะพิมพ์ใหม่ปลายปีนี้นะครับ
ตอนแรกว่าใกล้ๆ เสร็จแล้วค่อยทำโปร แต่เหตุการณ์ในอัฟกานิสถานและรำลึก 9/11 ทำให้มีคนถามมาเยอะเหลือเกิน เลยเปิดให้จองก่อน
- หนังสือเล่มนี้เล่าเรื่องประวัติของขบวนการก่อการร้ายสากลตั้งแต่ยุคอัลเคดามาต่อ ISIS
- ผมตั้งใจจะเพิ่มเนื้อหาให้อัพเดทถึงปัจจุบัน
- พิมพ์เป็นสี่สีแน่นอน
- ปกพิมพ์สีเมทัลลิก ปั้มนูนและปั้มเงินที่ชื่อเหมือนเล่มสุริยันพันธุ์เคิร์ด รับรองว่าสวยมาก เหมาะแก่การสะสม สำนักพิมพ์ The Wild Chronicles เราพิมพ์เองแล้วจะทำอะไรก็ได้ 555
- มีเซ็นลายเซ็นพิเศษประจำเล่มให้ครับ
- ราคาอยู่ที่ 389 บาท สั่งพรีออเดอร์ตอนนี้ลดเหลือ 369 บาท และฟรีค่าส่งในประเทศ (ปกติค่าส่ง 50 บาทครับ ส่วนต่างประเทศก็ตามจริง)
- สนใจชำระและใส่ที่อยู่ที่ link แนบได้เลย อนึ่งระบบนี้จะมีเมลคอนเฟิร์มไปแต่ช้าหน่อยนะครับ
และขอโฆษณาว่าหนังสือ “สุริยันพันธุ์เคิร์ด” หรือหนังสือเล่มใหม่ของผมออกแล้วนะครับ มีรายละเอียดดังนี้...
- เรื่องนี้เป็นหนังสือประวัติศาสตร์ชาวเคิร์ด ผลงานเล่มล่าสุดในชุด The Wild Chronicles
- พิมพ์เป็นสี่สี!
- ยาวที่สุดเท่าที่พิมพ์มา ยาวกว่าพยัคฆ์ทมิฬสิ้นชาติราว 2 เท่า
- รูปโหดๆ ที่ทำให้เข้าใจสถานการณ์ดีขึ้น จะไม่เซนเซอร์ แต่จะรวมอยู่ท้ายเล่ม และมีคำเตือนก่อน
- มีลายเซ็นทุกเล่ม!
- ราคา 439 บาท รวมค่าส่งแล้ว
ท่านที่ต้องการพรีออเดอร์สามารถชำระ และใส่ที่อยู่ทาง link แนบได้เลย
อนึ่งชาวเคิร์ดเป็นชนกลุ่มน้อยในตะวันออกกลาง มีราว 30 ล้านคน หากไม่มีประเทศของตนเอง พวกเขาแตกเป็นหลายส่วนและถูกกดขี่อย่างหนัก แต่การถูกกดขี่เคี่ยวกรำนั้นทำให้พวกเขากลายเป็นนักรบที่เก่งกาจ
หนังสือเล่มนี้เขียนเรื่องราวของชาวเคิร์ดตั้งแต่ยุคตำนานจนถึงประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ซึ่งมีความพีคแล้วพีคอีก ผ่านสงครามใหญ่ๆ มากมาย เช่นสงครามอิรัก - อิหร่าน, สงครามอ่าวเปอร์เซีย, สงครามปราบซัดดัม, สงครามกลางเมืองอิรัก, สงครามปราบกลุ่มก่อการร้าย แต่ละสงครามที่ว่ามานี้มีสเกลใหญ่เป็นรองแค่สงครามโลก
ชาวเคิร์ดมีส่วนร่วมในสงครามเหล่านี้ทั้งหมดในฐานะชนกลุ่มน้อยที่ไม่รวยแต่รบเก่ง พอมีคนมาติดอาวุธให้เลยมักกลายเป็นไพ่โจ๊กเกอร์ที่เปลี่ยนผลชี้ขาดของสงคราม
อย่างไรก็ตามศัตรูอันดับหนึ่งของชาวเคิร์ดคือเผด็จการซัดดัม ฮุสเซนนั้นก็โหดมาก โหดโคตรๆ ใครเคยอ่านพยัคฆ์ทมิฬสิ้นชาติ หรือเชือดเช็ดเชเชน ผมบอกได้ว่าไอ้นี่ก็โหดไม่แพ้กัน หรือเผลอๆ โหดกว่า ดังนั้นการต่อสู้ของชาวเคิร์ดมันจึงเป็นเรื่องที่หลอนและดุเดือดมากๆ
หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นจากประสบการณ์ที่ผมได้ไปเยือนดินแดนเคอร์ดิสถานอิรัก (และหนีมิสไซล์มา) เมื่อต้นปี 2020 เพื่อนชาวเคิร์ดที่ผมสัมภาษณ์ทุกคนเป็นผู้รอดชีวิตจากทุกสงครามข้างต้น ทำให้มีข้อมูล ความเห็น และมุมมองของคนต่างๆ ที่ลึกกว่าในตำรา แน่นอนว่าประสบการณ์ของพวกเขาดาร์คมาก แต่เขาหลายคนไม่ได้มองโลกในแง่ร้ายขนาดนั้น พวกเขาตีความสิ่งที่พบเจออย่างไร ลองตามอ่านดูนะครับ
"สุริยันพันธุ์เคิร์ด" ตั้งใจพิมพ์เป็นสี่สี เป็นหนังสือที่ยาวที่สุดตั้งแต่ผมเขียนสารคดีชุด The Wild Chronicles มา
อีกครั้งนะครับ ท่านที่ต้องการพรีออเดอร์หนังสืออย่างเดียว สามารถชำระ และใส่ที่อยู่ทาง link นี้ได้เลย 439 บาท รวมค่าส่งแล้ว (ในประเทศ) ถ้าบางท่านอยู่ต่างประเทศมีค่าส่งพิเศษจะแจ้งอีกที
ภาพแนบ: เครื่องบินรบอเมริกันที่สนามบินอุบลราชธานี
*** ช่วงพีค และการเสื่อม (ค.ศ. 1970 - 1980) ***
ช่วงทศวรรษ 1970s เป็นช่วงที่พรรคได้รับการสนับสนุนจากจีนและเวียดนามสูงสุด ทำให้สามารถก่อเหตุถึงขั้นลอบตีฐานบินของกองทัพอากาศสหรัฐในไทยได้
...อนึ่งต้องเท้าความไปว่าสหรัฐมองว่าไทยเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ เพราะตาม “ทฤษฎีโดมิโน” เชื่อว่าถ้าประเทศหนึ่งกลายเป็นคอมมิวนิสต์ไป ประเทศเพื่อนบ้านก็จะมีโอกาสกลายเป็นคอมมิวนิสต์ตามไปด้วย
สมัยหนึ่งไทยจึงเป็นเสมือนหน้าด่านระหว่างโลกเสรีกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ในช่วงสงครามเย็น สหรัฐจึงทุ่มทั้งกำลังทหารและงบประมาณเพื่อหวังหยุดยั้งกระแสคอมมิวนิสต์ไม่ให้แพร่กระจายต่อ
ภาพแนบ: พระกิตติวุฒโฒ
สมัยนั้นยังเป็นช่วงที่กระแสความเกลียดกลัวคอมมิวนิสต์ถูกปลุกปั่นขึ้นมามาก เห็นได้จากคำสอนขอพระสงฆ์ฉายากิตติวุฑโฒที่บอกว่า “ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป แต่กลับได้บุญ เปรียบเหมือนการฆ่าปลาเพื่อตักบาตรถวายพระ”
...นับเป็นลางไม่ดีว่าสุดท้ายจะต้องเกิดความรุนแรงขึ้นในที่สุด...
ภาพแนบ: เหตุการณ์ 6 ตุลาฯ
...และก็เกิดขึ้นจริงๆ ในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 (1976) หรือในตอนที่มีการปราบปรามประชาชนผู้ประท้วงการเดินทางกลับประเทศของจอมพลถนอม กิตติขจร อย่างโหดร้ายด้วยข้อหา “ปราบคอมมิวนิสต์”
ภาพแนบ: จิระนันท์ พิตรปรีชา เป็นหนึ่งในนักศึกษาที่หนีเข้าป่า
การปราบนักศึกษาและกลุ่มหัวเอียงซ้าย บวกกับการปิดกั้นความคิดอย่างหนัก ทำให้มีนักศึกษาหลายคนหนีเข้าป่าไปสวามิภักดิ์กลุ่ม พคท. และทำให้พรรคมีกำลังเป็นนักศึกษา และปัญญาชนเพิ่มเป็นอันมาก
ช่วงหนึ่ง พคท. มีนักรบติดอาวุธถึงราว 6,000 - 8,000 คน และมีผู้สนับสนุนอีกราว 1 ล้านคน รายงานของทางการระบุว่าจังหวัดเกือบครึ่งถูกคอมมิวนิสต์แทรกซึม
ภาพแนบ: ภาพทหารในยุทธการผาเมืองเผด็จศึก ปี 1983
ตัวอย่างของการเผชิญหน้ากันระหว่าง พคท. กับรัฐบาลไทยที่มีชื่อเสียง เช่น สมรภูมิเขาค้อและภูหินร่องกล้า ในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์กับพิษณุโลก ซึ่ง พคท. เคยยึดพื้นที่อยู่
ตอนนั้นรัฐบาลไทยค่อยๆ ล้อมปราบ โดยตั้งแต่ปี 2508 (1965) ถึง 2526 (1983) ทางการไทยพยายามยกพลไปกวาดล้างพื้นที่ดังกล่าวถึง 12 ครั้ง เช่น ยุทธการภูขี้เถ้า ยุทธการรามสูร ยุทธการผาเมืองเผด็จศึก แต่ไม่สำเร็จ เพราะ พคท. สามารถกลับเข้ามาในพื้นที่ได้
ภาพแนบ: อนุสาวรีย์เขาค้อ
ต่อมาทางการไทยเปลี่ยนมาใช้วิธีการมาเป็นตัดถนนขึ้นภูเขาไปเพื่อพัฒนาพื้นที่ให้เจริญขึ้น ป้องกัน พคท. กลับเข้ามาในพื้นที่อย่างถาวร
ในยุทธการเหล่านี้มีกองทัพชาวจีนจากกองพล 93 ที่สวามิภักดิ์รัฐบาลไทยเข้าร่วมรบด้วย สุดท้ายทางการสามารถยึดพื้นที่ดังกล่าวได้สำเร็จ มีการเปิดอนุสาวรีย์ที่จารึกว่ามีผู้เสียชีวิตของฝ่ายทางการ 1,171 คน
ภาพแนบ: ภาพจากเอกสารยุทธการกรุงชิง
อีกตัวอย่างหนึ่งคือ “ยุทธการกรุงชิง” ซึ่งเป็นปฏิบัติการของหน่วยนาวิกโยธินต่อ พคท. ในพื้นที่อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อปี 2520 (1977) ที่ทางการปะทะกับ พคท. ในพื้นที่ถึง 77 ครั้ง ฝ่ายรัฐบาลเสียชีวิต 8 นาย, พคท. เสียชีวิต 5 นาย มอบตัวและถูกจับกุมอีกเกือบ 200 คน
แม้ช่วงหลัง พคท. จะได้รับการสนับสนุนจากในประเทศเพิ่มขึ้นมาก แต่การสนับสนุนจากต่างชาติกลับแย่ลง เพราะโลกคอมมิวนิสต์ยุคนั้นมีความสับสนวุ่นวาย จากการที่อเมริกาผูกมิตรกับจีน ทำให้การแตกร้าวระหว่างจีนกับโซเวียตหนักขึ้น
ภาพแนบ: ผู้แทนจีนหัวเราะร่าเมื่อทราบข่าวสมัชชาสหประชาชาติ (UN) ลงมติให้รับจีนเป็นสมาชิก และยกให้เป็นสมาชิกถาวรคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ พร้อมขับไต้หวันออก เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 1971
ภาพแนบ: ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมชพบกับเหมาเจ๋อตง
สุดท้าย พคท. พีคได้ไม่นาน กลับต้องพบว่าตนเองอยู่ในสภาพที่อิหลักอิเหลื่อเพราะ:
1. ตนเองสวามิภักดิ์จีน แต่ตอนนั้นรัฐบาลไทยได้ผูกมิตรกับจีนตามอเมริกา ทำให้จีนมีเหตุให้ช่วย พคท. น้อยลง
2. พคท. กับพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามแตกคอกันเพราะพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามเลือกสวามิภักดิ์โซเวียต สิ่งนี้มีความสำคัญ เพราะพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามเป็นใหญ่ในอินโดจีน และตอนนั้นยังทำสงครามรวมประเทศสำเร็จแล้ว
ภาพแนบ: ทหารเวียดนามบุกเข้าพนมเปญในปี 1979
ผลของข้อสองยังทำให้ พคท. เสียฐานในลาวเพราะรัฐบาลคอมมิวนิสต์ในเวลานั้นอยู่ข้างเวียดนาม นอกจากนั้นสมาชิก พคท. บางส่วนยังแยกไปตั้งพรรคปลดปล่อยประชาชนไทยอีสาน (หรือ “พรรคใหม่”) ซึ่งเป็นพรรคโปรโซเวียตที่หนุนเวียดนามกับลาว คอยปฏิบัติการจากในลาว
...ตอนนั้นจีนไม่เพียงแต่ลดการสนับสนุน พคท. แต่ถึงกับร่วมมือกับรัฐบาลไทยในการพยายามจำกัดพรรคอำนาจพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม พร้อมทั้งแนะนำให้ พคท. เปลี่ยนจากการโฆษณาชวนเชื่อโจมตีรัฐบาลไทยไปเป็นสนับสนุนฝ่ายกัมพูชาประชาธิปไตย (เขมรแดง) ที่ยังโปรจีนอยู่ เพื่อต่อสู้กับเวียดนามแทน
...ความนี้ทำให้ พคท. เสียกำลังใจ อ่อนกำลังลงเรื่อยๆ สุดท้ายวิทยุของ พคท. ที่ทำการในจีนก็ยกเลิกการทำการไปในปี 1979 เท่ากับว่าจีน “ตัดหางปล่อยวัด” พคท. แล้วนั่นเอง
ภาพแนบ: อีวาน ยาคูชิน เอกอัครราชทูตโซเวียตประจำประเทศไทยคนแรก
อีกตัวแปรหนึ่งที่น่าสนใจคือสหภาพโซเวียตแทบไม่ได้ให้การสนับสนุน พคท. เลย เพราะเคยเจรจากับไทยไว้ตั้งแต่เมื่อครั้งรับเป็นสมาชิกสหประชาชาติ
นอกจากนั้นยังมีปัจจัยที่ทำให้ไม่เลือกแผ่อิทธิพลในไทย ได้แก่:
1) ปัญหาการแตกคอระหว่างจีนกับโซเวียต โดยโซเวียตเห็นว่า พคท. ได้รับอิทธิพลจากพรรคคอมมิวนิสต์จีนมาก ถึงอย่างไรก็ขยายอิทธิพลเข้ามาไม่ได้แน่
2) ประเทศไทยมีการกล่อมเกลาชนกลุ่มน้อยได้ค่อนข้างดี รวมทั้งไม่มีประวัติเป็นอาณานิคมตะวันตก ทำให้ไม่ผ่านการแบ่งแยกแล้วปกครอง รากฐานสังคมยังมั่นคง โอกาสเปลี่ยนแปลงเป็นสังคมนิยมมีต่ำ
สรุปด้วยทั้งด้วยปัจจัยภายในและภายนอก ทำให้ไทยกับโซเวียตร่วมมือกันเพื่อผลประโยชน์นั่นเอง
ภาพแนบ: พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ผู้ประกาศนโยบายนิรโทษกรรม พคท.
*** จากผู้ก่อความไม่สงบเป็น “ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย” (หลัง ค.ศ. 1980) ***
เมื่อ พคท. อ่อนแอลงมาก รัฐบาลไทยจึงเริ่มใช้นโยบายเกลี้ยกล่อม โดยในปี 2523 (1980) รัฐบาลไทยออกคำสั่ง 66/2523 ประกาศนิรโทษกรรมแกนนำ พคท. เพื่อเป็นจิตวิทยาโน้มน้าวให้ยอมแพ้
ในปีนั้น หัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์ไทยได้ขอเจรจากับทางการไทยแต่ทางการบอกว่าจะต้องวางอาวุธทั้งหมดเสียก่อน และในปีเดียวกัน ทางการประกาศว่าได้ทำลายฐานทัพในภาคเหนือและภาคอีสานไปทั้งหมดแล้ว
ภาพแนบ: งานรำลึกของ พคท. ในพื้นที่ภูซาง จังหวัดหนองบัวลำภู
ในปี 2525 (1982) รัฐบาลออกคำสั่งที่ 65/2525 อีกฉบับหนึ่ง เพื่อนิรโทษกรรมสมาชิก พคท. ระดับล่างทุกคน ทำให้มีคนออกจากป่ามาวางอาวุธเป็นอันมาก ตอนนั้นรัฐบาลก็ลดความเข้มข้นในการปราบปรามลง และภายในพรรคมีความเห็นแตกแยกกันในเรื่องอุดมการณ์ เพราะบางส่วนก็ไม่เห็นด้วยกับแนวทางเผด็จการแบบจีนมานานแล้ว
ทางการเรียกผู้วางอาวุธเหล่านี้ว่า “ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย” สะท้อนให้เห็นถึงแนวทางให้โอกาสอดีต พคท. ในการวางอาวุธอย่างสันติ ดีกว่าทำลายล้างอีกฝ่ายจนสิ้นซาก
ภาพแนบ: งานศพ ธง แจ่มศรี อดีตเลขาธิการ พคท.
ในปี 2000 รัฐบาลไทยยังยกเลิกกฎหมายคอมมิวนิสต์ ทำให้หน่วยงานต่างๆ หมดอำนาจในการจับกุมปราบปรามผู้ต้องหาโดยการใช้คำว่า “คอมมิวนิสต์”
ปัจจุบัน พคท. ถือว่าป็นพรรคที่มีความเคลื่อนไหวอยู่ โดยในปี 2018 มีความพยายามจดทะเบียนชื่อพรรคกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง แต่ถูกห้ามด้วยเหตุผลว่า “คอมมิวนิสต์เป็นปรปักษ์กับประชาธิปไตย” กระนั้นกลุ่มอดีต พคท. และลูกหลานก็ยังสามารถจัดงานรำลึกความหลังอยู่เสมอ
ทั้งหมดนี้คือเส้นทางประวัติศาสตร์ของผู้ที่เคยหยิบอาวุธขึ้นสู้กับทางการเนื่องจากเลื่อมใสในอุดมการณ์ที่พวกเขาเคยเชื่อว่าดี ซึ่งจบลงด้วยการวางอาวุธกลับมาช่วยกันพัฒนาชาติบ้านเมือง
::: อ้างอิง ::::
- silpa-mag (ดอต) com/history/article_36771
- mca-marines (ดอต) org/gazette/communist-insurgency-thailand
- bbc (ดอต) com/thai/thailand-43603766
- phetvariety (ดอต) com/?p=2923
- marines (ดอต) navy (ดอต) mi (ดอต) th/htm56/htm_old55/yuttakan55/kungchei (ดอต) html
- rbth (ดอต) com/arts/2016/12/19/why-the-ussr-backed-thailand-in-its-fight-against-communist-insurgents_661844
ท่านที่สนใจอ่านเรื่องราวแปลกๆ จากรอบโลกสามารถสมัครเข้ากลุ่ม illumicorgi
อนึ่งกลุ่มนี้เป็นกลุ่ม exclusive ผมจะใช้ลงบทความพิเศษ ซึ่งมีเนื้อหาเจาะลึกกว่าที่ลงในเพจ The Wild Chronicles และบทความส่วนใหญ่ในกลุ่มจะเกี่ยวกับธีมของหนังสือที่ผมกำลังเขียน
ผู้ที่ต้องการสมัครเข้ากลุ่มให้ทำดังนี้เลยนะครับ
(1) กดสมัคร Line OA ของ The Wild Chronicles มาทาง link นี้ https://lin.ee/fNEO1jr
(2) กด add เป็นเพื่อน
(3) กด chat
(4) จากนั้น พิมพ์ชื่อที่ท่านใช้ใน Facebook มาทางช่องแชทของ Line OA เพื่อให้ทีมงานบ่งชี้ได้ว่าบัญชีของท่านสมัครมาแล้ว
(5) จากนั้นจะมีแอดมินมาคุยกับท่าน ให้แจ้งประเภทสมาชิกที่ท่านต้องการสมัคร แอดมินจะส่ง link เพื่อชำระค่าสมาชิก และแนะนำวิธีการเข้ากลุ่มต่อไป
::: ::: :::
ประวัติศาสตร์ สงคราม เรื่องต่างประเทศ กดติดตาม เพจ The Wild Chronicles ได้เลยนะครับ https://facebook.com/pongsorn.bhumiwat
โฆษณา