27 พ.ย. 2021 เวลา 19:48 • ความคิดเห็น
• ทักษะในการเรียนรู้ของคนเราแต่ละคนนั้นแตกต่างกันไป โดยเรียงลำดับจากง่ายสุดไปยากสุดคือ
3
• การฟัง พูด อ่าน เขียน โดยทักษะแต่อย่างนั้นมีประโยชน์ และมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ถึงแม้ทักษะบางอย่างจะดูง่ายกว่าแต่ก็ตัดทิ้งไม่ได้เลย
3
  • การฟัง: เราอาจจะได้ไอเดียบางอย่างที่กำลังตามหาอยู่ ได้เห็นมุมมองใหม่ๆ ถ้าเราจับใจความและสรุปเนื้อหาได้ดี เราจะกลายเป็นคนที่เรียนรู้เร็วในเวลาที่เรียนหนังสือและเวลาทำงาน
5
  • การพูด: พูดจากเรื่องที่ฟังอย่างเดียว (คล้ายๆ กับจำคำพูดคนอื่นมาพูดอีกที อาจดูเป็นแค่การเล่าเรื่องทั่วไป) พูดจากเรื่องที่อ่านอย่างเดียว (มีความมั่นใจ ลงรายละเอียดลึกๆ ได้ ยิ่งมีข้อมูลจากหลายแหล่ง) พูดข้อมูลจากการเขียน (ที่รวบรวมจากการฟัง การอ่าน ประมวลรวมกันเป็นภาษาของตัวเอง พูดจากการเรียบเรียงความคิดที่ดีมาระดับหนึ่งแล้ว ยิ่งพูดยิ่งมั่นใจ ตัวเองได้ความรู้ความเข้าใจมากขึ้นทุกครั้งที่ได้พูด)
3
  • การอ่าน: เป็นการเพิ่มทักษะการคิดได้เป็นอย่างดี และเราจำเป็นต้องอ่านได้เข้าใจ เพราะต้องใช้ในการเรียน พัฒนาตนเองให้มีหน่วยความจำเพิ่มในเซลล์สมองของเรา และเป็นการฝึกให้เป็นคนที่มีวิธีคิดแบบเติบโต (Growth Mindset)
3
  • การเขียน: เป็นทักษะเดียวที่เน้นการเรียบเรียงความคิดออกมาให้ชัดเจนที่สุด เช่น การเขียนบันทึกประจำวันต่างๆ การค้นหาไอเดียความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ และการจดบันทึกการฟังบรรยายต่างๆ เป็นต้น ซึ่งคล้ายเป็นการชี้วัดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการฟังและการอ่านของเรานั้นว่าเป็นอย่างไร
3
• อย่างไรก็ตาม เราต้องมีเป้าหมายในการหาความรู้ให้ชัดเจนว่า “เราจะทำไปเพื่ออะไร” เพื่อท่องจำ เพื่อใช้สอบ หรือเพื่อให้เราเชี่ยวชาญในเรื่องที่เราอยากเรียนรู้
3
• ยกตัวอย่าง สมมติว่ามีนักศึกษาคนไทยที่กำลังเรียนปริญญาโทสายสังคม ที่ประเทศนิวซีแลนด์ เมื่อนักศึกษาต้องฟังเลคเชอร์จากอาจารย์ที่เป็นภาษาอังกฤษให้ออก อย่างน้อยต้องเห็นภาพรวมทั้งหมด และคีย์เวิร์ดสำคัญในเนื้อหา และบันทึกด้วยการจด
3
• ต่อมา นักศึกษาก็ต้องมานั่งอ่านหนังสือแนะนำทั้งหมดจากอาจารย์ ทำความเข้าใจ สรุปใจความสำคัญ อาจไม่จำเป็นต้องอ่านทุกตัวอักษร แต่เน้นรายละเอียดจากภาพรวมและคีย์เวิร์ดที่ได้ฟังในเลคเชอร์ อย่างน้อยเพื่อทำการสอบมิดเทอมและไฟนอล
3
• รวบรวมความรู้เหล่านั้นนำมาเขียนบทความเพื่อส่งตามที่กำหนด เพื่อให้ได้ไอเดียและแนวคิดใหม่ๆ ถ้าเขียนบทความไม่ผ่านก็จะไม่มีโอกาสนำเสนองาน มันก็เป็นเรื่องน่าอายพอสมควรถ้าไม่ได้นำเสนองานเชิงสาธารณะ
3
  • ส่วนตัวผมเองตั้งเป้าหมายการศึกษาตลอดชีวิต เพื่อให้จดจำได้นาน และใช้เวลาว่างไปกับการอ่านทบทวน และฝึกฝน ด้วยการฟัง พูด อ่าน เขียน ในเรื่องที่สนใจและอยากจะชำนาญ เพื่อไม่ให้ความรู้และทักษะนั้นมันเลือนหายไป
6
  • แต่เนื่องจากคำถามต้องเลือกทักษะอย่างใดอย่างหนึ่ง ระหว่าง “การฟังและการอ่าน” ผมจึงต้องเลือก “การอ่าน” จากกระดาษ เพราะมีรายละเอียดมากกว่า เจาะลึกได้มาก มีแหล่งอ้างอิงสมบูรณ์กว่า และเชื่อมั่นว่าผู้พูดไม่สามารถลงรายละเอียดเท่าหนังสือแน่นอน ถ้าผู้พูดพูดได้ละเอียดเท่าหนังสือคงน่าเบื่อไม่น้อยเลยทีเดียว (หนังสือเสียงน่าสนใจมาก แต่ไม่มีเรื่องที่เราต้องการฟังจริงๆ เสียดายครับ)
7
Credits photo for the only education to www.wired.com
เพิ่มเติมเทคนิคการอ่าน:
3
  • 1.
    อ่านผ่านๆ เพื่อค้นหาและจับประเด็นสำคัญของเนื้อหานั้น เราสามารถอ่านสารบัญ ดัชนี และอ่านบทความผ่านๆ ได้ โดยไม่ต้องใช้สมาธิในการอ่านมากนัก
  • 2.
    อ่านอย่างละเอียด จะได้เข้าใจและจินตนาการให้เห็นภาพตาม เพื่อให้สามารถเก็บรายละเอียดและเรียนรู้ได้ดีขึ้น ซึ่งการอ่านแบบนี้ต้องใช้สมาธิมากพอสมควร
  • 3.
    ยิ่งถ้าเราได้อ่านบ่อยๆ เราจะสามารถจับใจความได้เร็วขึ้นเท่านั้น ยิ่งอ่านเร็ว ก็ยิ่งทำงานได้เร็วขึ้น ถ้าเราอ่านมาก เราก็จะยิ่งมีความรู้และมีความคิดที่ดีมากขึ้น เราสามารถนำทักษะนี้ไปช่วยให้ทักษะการพูดและการเขียนดีขึ้นได้อีกด้วย
12
โฆษณา