29 พ.ย. 2021 เวลา 08:45 • ข่าวรอบโลก
*** ส่องกฎหมายสมรสเพศเดียวกันจากรอบโลก ***
ความเชื่อเรื่องเพศสภาพและรสนิยมทางเพศนี้เป็นเรื่องปัจเจกที่จะไปบังคับใครไม่ได้ และเมื่อคนสองคนจะรักกันนี่ยิ่งห้ามยากเข้าไปใหญ่
แต่ประเด็นการสมรสเพศเดียวกันแทนที่จะเป็นเรื่องของคนสองคน กลับถูกสกัดด้วยกฎหมายสมรสของแต่ละประเทศ ซึ่งมักถือว่าการสมรสเป็นเรื่องระหว่างคู่หญิง-ชายเท่านั้น
แม้บางประเทศจะให้การยอมรับการแต่งงานเพศเดียวกัน ถึงขั้นให้จดทะเบียนสมรสเพศเดียวกันได้แม้กระทั่งคนต่างชาติที่เดินทางเข้าไป แต่อีกหลายชาติก็ยังมองเรื่องนี้เป็นเรื่องผิดศีลธรรม
บทความนี้จะพาทุกท่านไปดูประวัติศาสตร์การสมรสเพศเดียวกัน, กฎหมายสมรสเพศเดียวกันในประเทศต่างๆ, รวมทั้งผลที่เกิดขึ้นหลังเกิดกฎหมายเหล่านี้กันครับ
*** ประวัติศาสตร์ของการสมรสเพศเดียวกัน ***
การสมรสของคนเพศเดียวกันมีมาตั้งแต่อดีตกาล ในคัมภีร์เลวีนิติ (Leviticus) ของยิวมีบันทึกว่า ในแผ่นดินอียิปต์และคานาอัน (Canaan) นั้นมีการสมรสแบบ “ชายแต่งกับชาย และหญิงแต่งกับหญิง ชายแต่งกับหญิงและบุตรีของหล่อน และหญิงแต่งกับชายสองคน”
ในกรีกโบราณ มีเรื่องราวว่า กวีหญิงคนหนึ่งชื่อ แซฟโฟ (Sappho) มาจากเกาะเลสบอส (Lesbos) มีรสนิยมทางเพศแบบหญิงรักหญิง เลยกลายเป็นที่มาของคำว่า “เลสเบียน” (Lesbian)
ภาพแนบ: การสมรสของคนเพศเดียวกันแบบแอฟริกันย้อนยุค
หากนับการสมรสของเพศเดียวกันที่มีอยู่ในวัฒนธรรมของชนเผ่าแอฟริกา จะมีอยู่กว่า 30 เผ่า (เคยมีนักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ โรบิน ฟ็อกซ์ เขียนว่า หนึ่งในวัฒนธรรมแอฟริกาที่อยู่มาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงศตวรรษที่ 20 คือ การรักเพศเดียวกันและสมรสเพศเดียวกัน)
...ทั้งหมดนี้สะท้อนถึงทัศนคติของคนโบราณต่อความสัมพันธ์แบบรักเพศเดียวกัน ซึ่งจะเห็นได้ว่าเกิดขึ้นหลายพื้นที่ในโลก
ภาพแนบ: ชาวสเปนผู้ล่าอาณานิคมใช้หมาล่าเนื้อกัดชนพื้นเมืองที่ร่วมเพศทางทวารหนัก (sodomy)
อย่างไรก็ตาม อิทธิพลของกลุ่มศาสนาอับราฮัมยุคต่อมาทำให้การสมรสเพศเดียวกันได้รับการยอมรับน้อยลงเรื่อยๆ
เริ่มตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 4 ที่ทางการโรมันออกกฎว่าการร่วมเพศของคนเพศเดียวกันมีโทษถึงประหารชีวิต และในยุคกลางศาสนจักรคาทอลิกยังออกกฎว่า การสมรสถือเป็นพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ระหว่างชายและหญิง แนวคิดนี้ทำให้เกิดการปราบปรามการรักร่วมเพศอย่างหนัก ในหลายพื้นที่
ภาพแนบ: ภาพจิตรกรรมบรรยายความสัมพันธ์หญิงกับหญิงที่วัดคงคาราม
ส่วนในประเทศไทย ถึงแม้แต่โบราณมาไม่ได้มีกฎหมายหรือบทลงโทษสำหรับความคิดแบบรักร่วมเพศระบุไว้โดยเฉพาะ แต่เรื่องนี้เป็นที่ถูกติฉินนินทาอยู่เสมอ และเคยมีการสั่งลงโทษคนที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศ
ในสมัยรัชกาลที่ 3 เคยมีการถอดอิสริยยศพระองค์เจ้าไกรสร มูลเหตุหนึ่งเพราะทรงเลี้ยงบ่าวผู้ชายไว้มาก และบรรทมแต่กับบ่าวผู้ชายที่เล่นละคร ไม่ค่อยบรรทมกับเหล่านางห้าม (นางข้าหลวง) รัชกาลที่ 3 มีรับสั่งให้เอาบ่าวเหล่านั้นมาไต่สวน ได้ความว่า
"...ทรงเป็นสวาทกับพวกละคร ไม่ถึงกับชำเรา แต่เอามือพวกละครและมือของพระองค์ท่านกำคุยหฐาน (อวัยวะเพศ) ของทั้งสองฝ่ายจนภาวธาตุเคลื่อน..."
1
ภาพแนบ: เอเซล อัสกิล (ขวา) กับ ไอกิล เอสคิลด์เซน (ซ้าย) ชาวเดนมาร์ก คู่ชีวิตเพศเดียวกันคู่แรกในโลก
สำหรับกระแสเรียกร้องสิทธิของคนรักเพศเดียวกันในสมัยใหม่ นักประวัติศาสตร์หลายคนชี้ว่าเริ่มมาจากขบวนการสิทธิเกย์และเลสเบียนตั้งแต่ทศวรรษ 1980s
โดยในปี 1989 เดนมาร์กได้เป็นประเทศแรกที่รับรองความสัมพันธ์แบบคู่ชีวิตแก่คู่รักร่วมเพศ (ยังไม่ใช่สิทธิการสมรส) ให้มีสิทธิเกือบเท่าคู่สมรสต่างเพศ เพียงแต่ไม่มีสิทธิรับบุตรบุญธรรม
ภาพแนบ: การเดินขบวนของกลุ่มเกย์และเลสเบียนในสหรัฐ ปี 1987
ส่วนในปี 2001 เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรกที่รับรองการสมรสของคนเพศเดียวกันเท่ากับคนต่างเพศ หลังจากนั้นประเทศต่างๆ ได้ทยอยออกกฎหมายการสมรสเพศเดียวกันมากขึ้น
จนปัจจุบันมีกฎหมายนี้อยู่ในถึง 28 ประเทศ แอฟริกาใต้เป็นประเทศแรกในแอฟริกา และไต้หวันเป็นประเทศแรกในเอเชีย
*** เปรียบเทียบกฎหมายการสมรสเพศเดียวกัน ***
[เนเธอร์แลนด์]
เนเธอร์แลนด์เป็นชาติแรกของโลกที่อนุญาตการสมรสเพศเดียวกันตามกฎหมายในปี 2001 โดยมีการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่ง มาตรา 1:30 เป็น “การสมรสสามารถทำได้ระหว่างบุคคลสองคนที่ต่างเพศหรือเพศเดียวกัน”
ข้อแตกต่างระหว่างคู่สมรสเพศเดียวกันและต่างเพศ คือ คู่สมรสเพศเดียวกันจะไม่ได้เป็นบิดามารดาของบุตรโดยอัตโนมัติ
กฎหมายถือว่ามารดาตามกฎหมายคือมารดาที่คลอดบุตร และบิดาตามกฎหมายคือคู่สมรสหรือคู่อาศัย ...ทั้งนี้ในช่วงแรกกฎหมายยังกำหนดให้บิดาเป็นชายเท่านั้น ต่อมาจึงได้มีการแก้ไขกฎหมายให้คู่สมรสเลสเบียนเป็นมารดาของบุตรโดยอัตโนมัติ
ส่วนกรณีที่บุตรเกิดขึ้นจากผู้บริจาคอสุจิ มารดาตามกฎหมายมีสิทธิเลือกว่าจะใส่ชื่อผู้บริจาคอสุจิหรือคู่สมรสเลสเบียนเป็นผู้ปกครองคนที่สอง
1
ในปี 2021 รัฐบาลยังออกมาประกาศว่า ถ้าเชื้อพระวงศ์อภิเษกเพศเดียวกัน จะไม่เสียสิทธิในการสืบราชสมบัติ
อย่างไรก็ตาม ทางการเนเธอร์แลนด์ยังไม่อนุญาตให้คนสัญชาติอื่นเดินทางเข้าไปจดทะเบียนสมรสเพศเดียวกันในแผ่นดินของพวกเขา
[สหรัฐ]
การรับรองสิทธิการสมรสของคนเพศเดียวกันตามกฎหมายได้เพิ่มขึ้นจาก 1 รัฐในปี 2004 จนครบ 50 รัฐในปี 2015 ผ่านคำตัดสินของศาลรัฐ, กฎหมายรัฐ, การออกเสียงประชามติและเสนอร่างกฎหมายของประชาชน, และคำตัดสินของศาลกลาง
การต่อสู้เพื่อสิทธิการสมรสเท่าเทียมในสหรัฐมีชื่อเสียงจากเรื่องการยกเลิกรัฐบัญญัติการป้องกันการสมรสปี 1996 ซึ่งกำหนดว่ารัฐไม่จำเป็นต้องรับรองความชอบด้วยกฎหมายของการสมรสเพศเดียวกันในรัฐอื่น และการสมรสจะต้องทำระหว่างชายและหญิงเท่านั้น ซึ่งเป็นการปิดกั้นการเข้าถึงสวัสดิการของคู่รักเพศเดียวกัน
ภาพแนบ: ทำเนียบขาวฉายไฟสีรุ้งเพื่อฉลองคำพิพากษา
ในปี 2013 ศาลสูงสุดสหรัฐตัดสินว่าบางส่วนของกฎหมายป้องกันการสมรสไม่ชอบนั้นด้วยรัฐธรรมนูญ
ต่อมาในปี 2015 ศาลยังตัดสินว่าการสมรสของคนเพศเดียวกันได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ตลอดจนให้คู่สมรสเพศเดียวกันมีสิทธิและหน้าที่เท่ากับคู่สมรสต่างเพศ โดยระบุว่า “รัฐต้องจดทะเบียนสมรสระหว่างคนเพศเดียวกัน และรับรองความชอบด้วยกฎหมายของการสมรสระหว่างคนเพศเดียวกันแม้จดทะเบียนนอกรัฐ”
*** พื้นที่โฆษณา ***
เปิดให้จองแล้ววันนี้ Box Set ซีรีส์ “The Wild Chronicles” ครบชุด 7 เล่ม!
หลังจากหนังสือชุด The Wilds Chronicles ที่พิมพ์ครั้งก่อนทุกเล่มขายหมดจากตลาดไปนานแล้ว ผมจึงมีแผนจะพิมพ์ใหม่ทั้งหมด โดยปรับปรุงเนื้อหาเพิ่มเติมให้ดียิ่งขึ้น เป็นปัจจุบันมากขึ้น
และนอกจากนั้นแล้ว เพื่อเป็นการขอบคุณท่านผู้อ่านที่ติดตามกันมานาน ผมได้จัดทำ Box Set ขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อรวมหนังสือทั้งเก่าใหม่ไว้ด้วยกัน
หนังสือในเซ็ต มีดังต่อไปนี้นะครับ:
1. พยัคฆ์ทมิฬสิ้นชาติ: เรื่องกบฏพยัคฆ์ทมิฬในศรีลังกาเหนือ ต้นกำเนิดของการก่อการร้ายยุคใหม่
2. เชือดเช็ดเชเชน: เรื่องกบฏชาวเชเชนในรัสเซียใต้ ที่ต้องเผชิญการปราบปรามอย่างโหดสัสรัสเซีย
3. อสุราอาหม: เรื่องประวัติศาสตร์ชาวไทอาหมในอินเดียเหนือ บรรพบุรุษสุดโหดของชาวไทยในปัจจุบัน
4. โลหิตอิสราเอล: เรื่องประวัติศาสตร์การดิ้นรนของชาวยิว และดินแดนอิสราเอล แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ที่นองเลือดมานานกว่าพันปี
5. ประวัติย่อก่อการร้าย: ที่มาที่ไปของการก่อการร้ายตั้งแต่อดีตกาล และสงครามก่อการร้ายที่ยังส่งผลมาจนถึงปัจจุบัน
6. สุริยันพันธุ์เคิร์ด: เรื่องของชนกลุ่มน้อยเคิร์ดอิรักที่ลุกขึ้นสู้กับมหาอำนาจตะวันออกกลางเพื่อความฝันในการตั้งประเทศของตัวเอง
7. ดาวแดงแห่งเคิร์ด: เรื่องของชนกลุ่มน้อยเคิร์ดซีเรียที่ขับเคลื่อนด้วยพลังของสตรี
ทั้งหมดนี้รวมค่าส่งในราคา 3,150 บาทเท่านั้น! (เฉพาะในประเทศนะครับ ส่วนต่างประเทศคิดราคาตามจริง)
ท่านไหนที่สนใจ สามารถชำระและใส่ที่อยู่ที่ link แนบได้เลย (ระบบนี้จะมีเมลคอนเฟิร์มไปด้วยแต่ช้าหน่อยนะครับ)
อนึ่งท่านที่ซื้อหนังสือหรือสั่งจองบางเล่มแยกไปแล้วอยากเปลี่ยนเป็นเซ็ตนี้ สามารถติดต่อทาง Line OA https://lin.ee/fNEO1jr หรือ Inbox ของเพจเพื่ออัพเกรดได้นะครับ โดยจะคิดราคาตามจริงลดหลั่นไปตามเล่ม ส่วนราคากล่องอย่างเดียว 375 บาท (จะส่งไปแบบพับ ลดปัญหากล่องมุมยับ)
[ไต้หวัน]
ไต้หวันเป็นประเทศแรกในเอเชียที่รับรองการสมรสเพศเดียวกันตามกฎหมายในปี 2019
สำหรับเส้นทางของกฎหมายนั้น เริ่มตั้งแต่รัฐบาลไต้หวันเสนอร่างกฎหมายสมรสเพศเดียวกันต่อรัฐสภาในปี 2003 แต่ถูกตีตกไป และแม้ว่าไต้หวันจะมีกฎหมายให้จดทะเบียนคู่ (partnership registration) อยู่แล้วในเมืองและเทศบาล 18 แห่ง แต่สิทธิเหล่านี้ยังจำกัดมากเมื่อเทียบกับสิทธิที่สงวนไว้ให้คู่สมรส 498 รายการ
ในช่วงหลังมา นักการเมืองไต้หวันมีจุดยืนสนับสนุนการสมรสเพศเดียวกันมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีไช่อิงเหวินคนปัจจุบัน ได้มีความพยายามผลักดันร่างแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งเรื่องสมรส แต่ยังถูกถ่วงเวลาในสภา
จนกระทั่งศาลรัฐธรรมนูญไต้หวันมีคำพิพากษาในปี 2017 ว่า การห้ามการสมรสเพศเดียวกันในประมวลกฎหมายแพ่งขัดต่อเสรีภาพในการสมรส (มาตรา 22) และสิทธิได้รับความเท่าเทียมกัน (มาตรา 7) ตามรัฐธรรมนูญ และขอให้ฝ่ายนิติบัญญัติออกกฎหมายให้สอดคล้องกับคำสั่งนี้ภายใน 2 ปี ดังนั้นกฎหมายการสมรสเพศเดียวกันจึงออกมาในปี 2019
สำหรับการสมรสเพศเดียวกันในไต้หวันยังมีข้อจำกัดว่า พลเมืองไต้หวันจะสมรสเพศเดียวกันกับคนต่างด้าวได้เฉพาะจากประเทศที่การสมรสเพศเดียวกันชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น รวมทั้งมีข้อจำกัดในเรื่องการรับบุตรบุญธรรมและการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF)
ภาพแนบ: การประท้วงของกลุ่ม LGBT เมื่อปี 2020 ภาพจาก Khaosod English
[ไทย]
สำหรับประเทศไทย แม้จะขึ้นชื่อว่าเปิดกว้างในเรื่องการแสดงออกของกลุ่ม LGBTQ แต่ประเด็นการสมรสเพศเดียวกันยังคงไม่มีทีท่าว่าจะเกิดขึ้นได้ในเร็ววันนี้
ในช่วงไล่เลี่ยกับการประท้วงรัฐบาลที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2020 มีการเสนอกฎหมายเกี่ยวกับคู่ชีวิตและร่างแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) ว่าด้วยการสมรส ซึ่งปัจจุบันประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ยังจำกัดให้แต่งงานได้เฉพาะหญิงและชายเท่านั้น
ภาพแนบ: ตารางเปรียบเทียบเนื้อหาร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิตกับร่างแก้ไข ป.พ.พ. เรื่องสมรส โดย iLaw
ตั้งแต่ปี 2013 มีความพยายามเปิดช่องทางกฎหมายให้แก่กลุ่ม LGBTQ เริ่มจากการเสนอร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต ซึ่งมีเจตนาค่อยๆ ให้สังคมที่ยังมีความคิดแบบอนุรักษ์นิยมปรับตัวยอมรับคู่สมรสเพศเดียวกัน (สังเกตว่าใช้คำว่าคู่ชีวิตซึ่งไม่ระบุเพศ)
แต่กฎหมายตัวนี้ก็มีเสียงวิจารณ์ว่ายังให้สิทธิแก่คู่ชีวิตน้อยกว่าคู่สมรสมาก เช่น การลดหย่อนภาษีคู่สมรส และการเข้าถึงสวัสดิการของรัฐจากคู่สมรส มาถึงปีนี้ก็ปีที่ 8 แล้ว แต่เพิ่งจะได้เข้าสภาผู้แทนราษฎร
ภาพแนบ: ส.ส. พรรคก้าวไกล ประกาศผลักดันกฎหมายสมรสเท่าเทียม
อย่างไรตามก็อีกด้านหนึ่งก็มีการเสนอให้แก้ไข ป.พ.พ. ว่าด้วยสมรส โดยให้ตัดคำว่า “หญิง” และ “ชาย” ออกจากบทกฎหมาย เปลี่ยนเป็นคำว่า “บุคคล” แทน
หากดำเนินการเช่นนี้ จะทำให้ไม่ต้องออกกฎหมายฉบับใหม่, และตัดปัญหาที่เกิดขึ้นจากการให้สวัสดิการต่างๆ ไม่เท่ากัน นอกจากนี้เพื่อลดคำถามที่เกิดตามมาว่า ทำไมถึงไม่นับว่าการสมรสเป็นเรื่องระหว่างคนสองคน โดยไม่ต้องแบ่งแยกด้วยเพศ
ในช่วงสัปดาห์ที่แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าประมวลกฎหมายแพ่งว่าด้วยการสมรสในปัจจุบัน (ที่ยังจำกัดเฉพาะชายหญิง) “ไม่ขัด” ต่อรัฐธรรมนูญในส่วนที่รับรองสิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคล แต่ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรากฎหมายเพื่อรับรองสิทธิและหน้าที่ของบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ
...สังเกตว่าคำวินิจฉัยนี้ต่างจากศาลสูงสุดสหรัฐและศาลรัฐธรรมนูญไต้หวันที่วินิจฉัยตรงๆ ว่าบทบัญญัติของกฎหมายลูกในประเทศทั้งสอง “ขัด” ต่อรัฐธรรมนูญในประเด็นการเลือกปฏิบัติ...
ภาพแนบ: ผู้ชุมนุมหนุนการสมรสเพศเดียวกัน ภาพจาก Khaosod English
ถึงอย่างนั้นประเด็นการคัดค้านกฎหมายการสมรสเพศเดียวกันในไทยก็ยังมีมาอยู่เรื่อยๆ แม้ไม่มีใครเป็นผู้เสียหายชัดเจน แต่เคยมีการวิเคราะห์ไว้ว่า... ทั้งหมดเป็นค่านิยม ความเชื่อและวัฒนธรรมเกี่ยวกับเรื่องเพศที่ยังฝังรากลึกอยู่ในสังคม ซึ่งจะต้องใช้เวลาให้ความรู้ความเข้าใจเพื่อขจัดออกไป
*** ผลลัพธ์ของกฎหมายการสมรสเพศเดียวกัน ***
จากการศึกษาผลกระทบของการอนุญาตให้สมรสเพศเดียวกันถูกกฎหมาย พบว่า ได้ส่งผลดีต่อคนเพศเดียวกันในเรื่องสุขภาพกายและจิต
โดยการศึกษาในสหรัฐพบว่าอัตราฆ่าตัวตายของเด็กมัธยมที่มีความหลากหลายทางเพศลดลงร้อยละ 14 ในรัฐที่รับรองการสมรสเพศเดียวกัน, ทำให้อัตราป่วยเป็นโรควิตกกังวลลดลง และยังทำให้อัตราผู้ป่วยเอชไอวีลดลงได้ 4 ต่อ 100,000 คนด้วย
การรับรองการสมรสเพศเดียวกันยังทำให้ความเป็นอยู่ของครอบครัวผู้มีความหลากหลายทางเพศดีขึ้น ซึ่งจะทำให้เด็กที่เติบโตมาในครอบครัวนั้นได้รับผลในแง่ดีตามไปด้วย
นอกจากนี้ มีหลักฐานอีกมากมายที่ชี้ตรงกันว่าการเลี้ยงดูโดยคู่สมรสต่างเพศหรือเพศเดียวกันไม่ได้มีผลต่อความสำเร็จในชีวิต หรือต่อการปรับตัวของเด็ก
หลังการรับรองการสมรสเพศเดียวกัน ยังมีผลกระทบทางเศรษฐกิจที่สังเกตได้ในสหรัฐ โดยในปี 2019 พบว่าอัตราการจ้างงานคู่รักเพศเดียวกันสูงขึ้น ซึ่งอาจเป็นเพราะว่าถูกเลือกปฏิบัติลดลง
และในปี 2020 มีการศึกษาพบว่าการสมรสเพศเดียวกันช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นได้ราว 3.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพราะมีจำนวนเจ้าภาพและแขกที่ต้องออกค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับงานแต่งงานมากขึ้นนั่นเอง
*** บทส่งท้าย: ความหวังของคู่รักเพศเดียวกัน ***
การรับรองการสมรสเพศเดียวกันตามกฎหมาย ถือเป็นอีกก้าวสำคัญในการรับรองความหลากหลายของอัตลักษณ์ทางเพศ
จากมุมมองของคู่รักร่วมเพศ ถ้าพวกเขารักใคร และตกลงปลงใจอยากจะครองคู่กันไปนานๆ ทำไมพวกเขาจึงแต่งงานกันไม่ได้? ทั้งที่ไม่ได้ไปกระทบสิทธิของใคร? และในบางกรณี ทำไมกฎหมายถึงให้สุดได้แค่เป็น “คู่ชีวิต” ซึ่งมีสวัสดิการน้อยกว่าคู่สมรสต่างเพศ?
เหตุการณ์ความเคลื่อนไหวเรื่องสมรสเท่าเทียมนี้เป็นอีกปรากฏการณ์ของกระแสการลุกขึ้นสู้เพื่อความหลากหลาย และเสรีภาพ ที่เกิดขึ้นทั่วโลกในยุคของเรา
ภาพแนบ: ป้ายนี้เขียนว่า ฉันขอคนที่ฉันรักแต่งงาน ไม่ได้ขอมาเป็น “คู่ชีวิต” เสียหน่อย
::: อ้างอิง :::
- bbc (ดอต) com/thai/thailand-53332376
- reuters (ดอต) com/article/us-health-pediatrics-suicide-lgbt/same-sex-marriage-laws-tied-to-fewer-teen-suicide-attempts-idUSKBN1612SP
- sciencedirect (ดอต) com/science/article/abs/pii/S0167629609001441?via%3Dihub
- publications (ดอต) aap (ดอต) org/pediatrics/article-abstract/118/1/349/69577/The-Effects-of-Marriage-Civil-Union-and-Domestic (ดอต) com/2020/05/29/gay-weddings-boost-us-economy-by-3-8-billion-since-landmark-ruling/
- prachachat (ดอต) net/politics/news-804405
- workpointtoday (ดอต) com/15explainer-lgbt/
- thairath (ดอต) co (ดอต) th/topic/speak/100520
อีกครั้งนะครับ Box Set ซีรีส์ “The Wild Chronicles” ครบชุด 7 เล่ม เปิดให้จองแล้ววันนี้!
หลังจากหนังสือชุด The Wilds Chronicles ที่พิมพ์ครั้งก่อนทุกเล่มขายหมดจากตลาดไปนานแล้ว ผมจึงมีแผนจะพิมพ์ใหม่ทั้งหมด โดยปรับปรุงเนื้อหาเพิ่มเติมให้ดียิ่งขึ้น เป็นปัจจุบันมากขึ้น
และนอกจากนั้นแล้ว เพื่อเป็นการขอบคุณท่านผู้อ่านที่ติดตามกันมานาน ผมได้จัดทำ Box Set ขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อรวมหนังสือทั้งเก่าใหม่ไว้ด้วยกัน
หนังสือในเซ็ต มีดังต่อไปนี้นะครับ:
1. พยัคฆ์ทมิฬสิ้นชาติ: เรื่องกบฏพยัคฆ์ทมิฬในศรีลังกาเหนือ ต้นกำเนิดของการก่อการร้ายยุคใหม่
2. เชือดเช็ดเชเชน: เรื่องกบฏชาวเชเชนในรัสเซียใต้ ที่ต้องเผชิญการปราบปรามอย่างโหดสัสรัสเซีย
3. อสุราอาหม: เรื่องประวัติศาสตร์ชาวไทอาหมในอินเดียเหนือ บรรพบุรุษสุดโหดของชาวไทยในปัจจุบัน
4. โลหิตอิสราเอล: เรื่องประวัติศาสตร์การดิ้นรนของชาวยิว และดินแดนอิสราเอล แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ที่นองเลือดมานานกว่าพันปี
5. ประวัติย่อก่อการร้าย: ที่มาที่ไปของการก่อการร้ายตั้งแต่อดีตกาล และสงครามก่อการร้ายที่ยังส่งผลมาจนถึงปัจจุบัน
6. สุริยันพันธุ์เคิร์ด: เรื่องของชนกลุ่มน้อยเคิร์ดอิรักที่ลุกขึ้นสู้กับมหาอำนาจตะวันออกกลางเพื่อความฝันในการตั้งประเทศของตัวเอง
7. ดาวแดงแห่งเคิร์ด: เรื่องของชนกลุ่มน้อยเคิร์ดซีเรียที่ขับเคลื่อนด้วยพลังของสตรี
ทั้งหมดนี้รวมค่าส่งในราคา 3,150 บาทเท่านั้น! (เฉพาะในประเทศนะครับ ส่วนต่างประเทศคิดราคาตามจริง)
ท่านไหนที่สนใจ สามารถชำระและใส่ที่อยู่ที่ link แนบได้เลย (ระบบนี้จะมีเมลคอนเฟิร์มไปด้วยแต่ช้าหน่อยนะครับ)
อนึ่งท่านที่ซื้อหนังสือหรือสั่งจองบางเล่มแยกไปแล้วอยากเปลี่ยนเป็นเซ็ตนี้ สามารถติดต่อทาง Line OA https://lin.ee/fNEO1jr หรือ Inbox ของเพจเพื่ออัพเกรดได้นะครับ โดยจะคิดราคาตามจริงลดหลั่นไปตามเล่ม ส่วนราคากล่องอย่างเดียว 375 บาท (จะส่งไปแบบพับ ลดปัญหากล่องมุมยับ)
ท่านที่สนใจอ่านเรื่องราวแปลกๆ จากรอบโลกสามารถสมัครเข้ากลุ่ม illumicorgi
อนึ่งกลุ่มนี้เป็นกลุ่ม exclusive ผมจะใช้ลงบทความพิเศษ ซึ่งมีเนื้อหาเจาะลึกกว่าที่ลงในเพจ The Wild Chronicles และบทความส่วนใหญ่ในกลุ่มจะเกี่ยวกับธีมของหนังสือที่ผมกำลังเขียน
ผู้ที่ต้องการสมัครเข้ากลุ่มให้ทำดังนี้เลยนะครับ
(1) กดสมัคร Line OA ของ The Wild Chronicles มาทาง link นี้ https://lin.ee/fNEO1jr
(2) กด add เป็นเพื่อน
(3) กด chat
(4) จากนั้น พิมพ์ชื่อที่ท่านใช้ใน Facebook มาทางช่องแชทของ Line OA เพื่อให้ทีมงานบ่งชี้ได้ว่าบัญชีของท่านสมัครมาแล้ว
(5) จากนั้นจะมีแอดมินมาคุยกับท่าน ให้แจ้งประเภทสมาชิกที่ท่านต้องการสมัคร แอดมินจะส่ง link เพื่อชำระค่าสมาชิก และแนะนำวิธีการเข้ากลุ่มต่อไป
::: ::: :::
ประวัติศาสตร์ สงคราม เรื่องต่างประเทศ กดติดตาม เพจ The Wild Chronicles ได้เลยนะครับ https://facebook.com/pongsorn.bhumiwat
โฆษณา