30 พ.ย. 2021 เวลา 13:43 • สุขภาพ
🔖แคลเซียมเป็นสิ่งจำเป็นที่ร่างกายนำมาใช้ในการสร้างกระดูก และฟันในร่างกาย รวมถึงซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ มีส่วนทำให้เลือดแข็งตัวเมื่อเกิดบาดแผล ช่วยควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ
🏮ผู้ที่มีความจำเป็นต้องกินแคลเซียมเสริม คือ กลุ่มผู้สูงวัยโดยเฉพาะหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ซึ่งมีความเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน 1 ใน 3 ขณะที่ผู้ชายจะกระดูกพรุนช้ากว่าเนื่องจากระดับฮอร์โมนจะลดลงช้ากว่าผู้หญิง ควรได้รับแคลเซียมเสริมอย่างน้อยวันละ 1,000 - 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเทียบกับการดื่มนม 6-7 แก้ว ต่อวัน และควรออกกำลังกาย ตากแดดยามเช้าเพื่อช่วยให้การดูดซึมแคลเซียมดีขึ้น​
🥘ควรกินแคลซียมพร้อมมื้ออาหารเย็น เพราะช่วงเวลากลางคืนเป็นช่วงที่แคลเซียมไหลออกจากกระดูกมากที่สุด ปริมาณแคลเซียมที่สูงขึ้นจะป้องกันการไหลออกจากกระดูก ป้องกันไม่ให้กระดูกบางได้
⚾กรณีที่มีส่วนผสมของแคลเซียมคาร์บอเนต​ ซึ่งอยู่ในแคลเซียมชนิดเม็ดฟู่​ หรือ​ แคลเซียมชนิดเม็ดส่วนใหญ่​ ควรกินหลังอาหาร เนื่องจากกระเพาะอาหารจะมีสภาพเป็นกรดช่วยทำให้แคลเซียมคาร์บอเนตแตกตัวและละลายน้ำได้ดียิ่งขึ้น
👰ในกลุ่มคุณแม่จะมีฮอร์โมนโพรแลคติน ออกมาจากต่อมใต้สมองอยู่แล้วในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์และให้นมลูกซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการดูดซึมแคลเซียมจากอาหารได้มากขึ้น โดยช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการกินนมหรือแคลเซียมเสริม คือ ประมาณ 15-30 นาทีก่อนเริ่มให้นมลูก โดยแคลเซียมที่เข้าสู่ร่างกายเพิ่มขึ้นนี้จะช่วยเสริมให้กระดูกของแม่แข็งแรง และมีปริมาณแคลเซียมในน้ำนมเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายลูก
☕การดื่มชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และผักที่มีออกซาเลตและไนเตรทสูง จะสกัดการดูดซึมแคลเซียม​ ขณะเดียวกันไม่แนะนำให้กินธาตุเหล็กร่วมกับแคลเซียม เนื่องจากจะลดการดูดซึมธาตุเหล็กลง 30-40%
🚫ห้ามกินแคลเซียม​ร่วมกับยาต่อไปนี้
ยาลดความดันเลือด​ แอมโลดิพีน อะทีโนลอล​
ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย​ ไซโปรฟล็อกซาซิน​ นอร์ฟล็อกซาซิน
ยาแก้วิงเวียน​ ฟลูนาริซีน
ยาขับปัสสาวะ​ ไฮโดรคลอโรไธอะไซด์
ยาธัยรอยด์​ Eltroxin Euthyrox
ยาหยุดถ่าย​ โลเพอราไมด์
ยาละลายลิ่มเลือด​ วอร์ฟาริน
🐸มีปัญหา​เรื่องยา​ เชิญปรึกษา​เภสัชกร​ประจำร้านยา
🤹‍♂️ผลิตภัณฑ์แคลเซียมในรูปแบบต่าง ๆ
• แคลเซียมคาร์บอเนต ถูกนำมาใช้มากที่สุดเนื่องจากมีราคาถูก คุณสมบัติไม่ละลายน้ำ แต่ละลายได้โดยอาศัยกรดในกระเพาะ มีความสามารถในการดูดซึมได้พอ ๆ กับแคลเซียมจากน้ำนม
หากกินแคลเซียมคาร์บอเนต 1,000 มิลลิกรัม จะมีปริมาณแคลเซียม 40% คือ 400 มิลลิกรัมแต่ดูดซึมได้น้อยเพียง 15% ซึ่งทำให้ร่างกายได้รับแคลเซียม 60 มิลลิกรัมซึ่งยังไม่พอแก่ความต้องการของร่างกาย (ที่ 70-90มิลลิกรัม) แคลเซียมคาร์บอเนตเป็นรูปที่นิยมใช้กันมากในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
• แคลเซียมซิเตรต มีปริมาณแคลเซียม 21% คือ 210 มิลลิกรัม และดูดซึมได้น้อยเพียง 15% ดังนั้น ต้องรับประทานแคลเซียมซิเตรต 3,000 มิลลิกรัม จึงจะเพียงพอแก่ความต้องการของร่างกายในหนึ่งวัน
• แคลเซียมแล็คเตท มีปริมาณแคลเซียมเพียง 13% เป็นรูปแบบสังเคราะห์ซึ่งดูดซึมดี การใช้แคลเซียมแล็กเตตบำรุงร่างกายจะทำให้แล็คเตทที่สามารถทำให้ร่างกายอ่อนเพลียเข้าสู่ร่างกายไปด้วย ฉะนั้นจึงไม่เหมาะใช้รับประทานในระยะยาว และแคลเซียมแล็คเตทและแคลเซียมกลูโคเนตอยู่ในรูปที่ทำให้เข้มข้นยาก จึงไม่เหมาะที่จะนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริม
• แคลเซียมกลูโคเนต มีปริมาณแคลเซียมค่อนข้างต่ำ (8.9%) ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ปัจจุบันทางคลินิกมักนำเอาแคลเซียมกลูโคเนตมาเป็นยาฉีดเข้าเส้นเลือดดำเพื่อใช้บำรุงแคลเซียมในภาวะฉุกเฉิน
• แคลเซียมอะมิโน แอซิต คีเลต เป็นคีเลตของแคลเซียมกับกรดอะมิโนซึ่งละลายน้ำได้ดี ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ 80-90% ขึ้นไป ไม่ต้องอาศัยวิตามินดีเพื่อดูดซึม ไม่ตกค้างในร่างกายให้เกิดนิ่วหรือสิ่งไม่พึงประสงค์ ส่วนที่เหลือเพียง 10-20% จะถูกขับออกทางเหงื่อ ปัสสาวะ ซึ่งคนเป็นโรคไตสามารถกินได้
• แคลเซียมแอล-ทรีโอเนต สกัดมาจากข้าวโพด สามารถดูดซึมได้ 90-95% จึงทำให้การกินแคลเซียมแอล-ทรีโอเนต 750 มิลลิกรัมก็เพียงพอแก่ความต้องการของร่างกายใน 1 วันคือดูดซึมได้ถึง 90 มิลลิกรัม (ความต้องการ 70-90 มิลลิกรัม)
ทำงานในรูปแบบของ passive transport หรือที่เรียกว่าซึมผ่านระหว่างเซลล์โดยไม่ต้องผ่านการใช้วิตามินดีแบบแคลเซียมประเภทอื่น เป็นแคลเซียมจากพืช มีการวิจัยซึ่งค้นพบว่านอกจากจะบำรุงกระดูกแล้วยังสามารถเสริมสร้างมวลกระดูกให้แข็งแรงดีขึ้น
ยังมีส่วนในการเสริมสร้างคอลลาเจนและเนื่องจากดูดซึมดีจึงไม่ตกค้างให้เกิดนิ่วและไม่ทำให้ท้องผูกด้วย อีกทั้งกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนในกระดูกและกระดูกอ่อน รวมทั้งสร้างน้ำไขข้อไปพร้อมกันด้วย เสริมสร้างกระดูกและข้อให้แข็งแรง
• แคลเซียมจากปะการัง ปะการังเป็นแหล่งแคลเซียมจากธรรมชาติที่ดีที่สุดชนิดหนึ่ง ประกอบไปด้วย แร่ธาตุต่าง ๆ มากมาย เช่น แมกนีเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ฯลฯ มีส่วนช่วยรักษาภาวะสมดุลให้ร่างกายเรา โดยทั่วไปแคลเซียมจากปะการังจะได้จากการผุกร่อนของปะการัง (ปะการังที่ตายแล้ว) นำมาแยกเกลือออก แล้วนำไปเผาเพื่อแยกสารอินทรีย์ที่ไม่จำเป็นออก จากนั้นจึงบดละเอียดเพื่อให้ร่างกายดูดซึมได้ง่ายขึ้น
🤼‍♀️ปัจจัยส่งเสริมการดูดซึมแคลเซียม
• วิตามินดีเป็นตัวเร่งให้มีการสังเคราะห์โปรตีนในชั้นเยื่อมูกของผนังลำไส้ ซึ่งแคลเซียมจะเกาะติดและถูกลำเลียงผ่านผนังลำไส้เข้าสู่กระแสโลหิต ดังนั้น เมื่อมีวิตามินดี การดูดซึมแคลเซียมที่ลำไส้เกิดได้ดีกว่า วิตามินดีได้จาก 2 แหล่ง คือ จากแสงแดดและอาหารจำพวกปลา ไข่แดง ตับ เนย เป็นต้น
• ความเป็นกรดอ่อน ๆ ในอาหาร แคลเซียมจะละลายได้ง่ายในอาหารที่เป็นกรดอ่อน ๆ • แลคโตสช่วยในการดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น 15-50% ดังนั้น นมสดจึงเหมาะที่จะเป็นอาหารสำหรับแหล่งแคลเซียม
🧙‍♂️ข้อควรระวังในการใช้ผลิตภัณฑ์แคลเซียม
1. การใช้แคลเซียมควรกินหลังอาหารทันที เพราะความเป็นกรดจะช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมให้ดียิ่งขึ้น ยกเว้นแคลเซียมซิเตรตที่ดูดซึมได้ดีในทุกสภาวะ
2. การให้แคลเซียมแต่ละครั้งไม่ควรให้ผลิตภัณฑ์ที่มีธาตุแคลเซียมมากกว่า 500 มิลลิกรัม เพราะปริมาณนี้เป็นปริมาณที่แคลเซียมถูกดูดซึมได้ดีที่สุด ถ้ามีปริมาณมากกว่านี้ควรแยกเป็น 2-3 มื้อของอาหาร จะถูกดูดซึมได้ดีกว่า
3. แคลเซียมอาจทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารและทำให้ท้องผูกได้ จึงควรกินพร้อมผักและผลไม้ที่มีกากใย พร้อมทั้งดื่มน้ำตามมาก ๆ
4. ควรหลีกเลี่ยงการกินแคลเซียมร่วมกับยากลุ่มเตตราไซคลิน หรือธาตุเหล็ก เพราะแคลเซียมจะไปรบกวนการดูดซึมยาทั้ง 2 ชนิดนี้​ควรกินแคลเซียมห่างจากยาทั้ง 2 ชนิดนี้ประมาณ 2 ชั่วโมง
.
.
💢
​POSTED 2021.11.30
UPDATED 2022.02.20
โฆษณา