4 ธ.ค. 2021 เวลา 06:40 • ข่าว
ตรรกะที่ผิดเพี้ยนของนายก เกี่ยวกับความเท่าเทียม
“คนรวยจ่ายเงินใช้ทางด่วนไป
ส่วนคนรายได้น้อยก็ใช้ถนนข้างล่าง
นี่คือความเท่าเทียม การเข้าถึงโอกาส”
1
เป็นประโยคที่พูดถึงความเท่าเทียมได้เหลื่อมล้ำที่สุดแล้ว 😅
🔺3 ธันวาคม 2564 นายกไปเป็นประธานมอบสิทธิโครงการบ้านเช่าสำหรับผู้มีรายได้น้อยในโครงการบ้านเคหะสุขประชาร่มเกล้า และพูดถึงภาระกิจของรัฐบาลคือการสร้างความเท่าเทียมกัน
👉คนไทยทุกคนต้องมีโอกาสเข้าถึงการเดินทาง ใช้รถ ใช้ถนน ใช้สะพาน ระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ
🔺ซึ่งนโยบายฟังดูดี ดูน่าจะมีความหวัง แต่เมื่อพลเอกประยุทธ์ได้ยกตัวอย่างเกี่ยวกับความเท่าเทียมในความเข้าใจของตนเองว่า
👉“คนรวยที่มีเงินก็ไปเสียเงินใช้ทางด่วน ส่วนคนรายได้น้อยก็ใช้เส้นทางข้างล่าง จะได้ไม่แออัด ผมคิดอย่างนี้นะ นี่คือความเท่าเทียมและการเข้าถึงโอกาสการเดินทาง”
1
❌ได้ฟังแล้วถึงกับอุทานในใจ “อิหยังวะลุง” 🤪
5
☝️ก่อนอื่นลุงต้องเข้าใจก่อนว่าคำว่า “เท่าเทียม” คืออะไร
1
🔺เท่ากัน เทียมกัน คือ ได้เหมือนกัน เสมอกัน
ไม่ว่ารวยว่าจนต้องได้รับเหมือนกัน
1
☝️ยกตัวอย่างง่าย ๆ ก็คือ
มนุษย์ทุกผู้ทุกนามมีความเท่าเทียมเสมอกันในเรื่องหนึ่งคือ ไม่ว่าจะรวยมาจากไหน จนมาจากที่ใด สุดท้ายหมดอายุขัยก็ตายเหมือนกัน
3
นี่คือความเท่าเทียม ทุกคนได้รับเหมือนกัน ไม่มีใครมีข้อยกเว้นจากความตาย
1
🔺ซึ่งการเรียกร้องความ “เท่าเทียม” ในทุกเรื่องของสังคมบนโลกใบนี้ เป็นเรื่องที่ “ไร้เดียงสา” เกินไป
1
🔺เราต่างรู้ดีว่าไม่มีทางที่คนทุกคนจะสามารถ “เท่าเทียม” กันในทุกเรื่อง แต่สำหรับผู้บริหารประเทศที่มีวิสัยทัศน์ก็จะพยายามทำให้อย่างน้อย ๆ
ประชาชนในประเทศจะได้เข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานที่ “เท่าเทียมกัน”
☝️ในความหมายคือ “ไม่ว่าจะจนหรือรวย” ก็สามารถเข้าถึง หรือใช้ประโยชน์จากมันได้เท่ากัน
4
ณ ประเทศที่เจริญแล้ว
☝️ไม่ว่าจนหรือรวย คุณก็มีสิทธิที่จะรู้สึกปลอดภัยในสถานที่พักอาศัยของตนได้
1
☝️ไม่ว่าจนหรือรวย คุณก็ไม่มีสิทธิจะได้รับข้อยกเว้นทางกฎหมายใด ๆ เมื่อทำผิด
3
☝️ไม่ว่าจนหรือรวย คุณก็มีสิทธิจะใช้รถใช้ถนนในเส้นทางสาธารณะได้เหมือนกัน
☝️ไม่ว่าจนหรือรวย คุณก็มีสิทธิที่จะได้รับการศึกษาที่มีมาตรฐานสูงเท่ากัน
1
☝️ไม่ว่าจนหรือรวย คุณก็มีสิทธที่จะใช้ทางด่วนได้โดยไม่ต้องเสียเงินแพงจนเกินเหตุ
1
☝️ย้ำอีกครั้งว่า
“ไม่ว่ารวยหรือจน” ต้องได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานเท่ากัน
1
🔺รัฐมีหน้าที่ทำให้ทุกคนมีโอกาสในการเข้าถึงระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่เท่าเทียมกันลดความเหลื่อมล้ำให้มากที่สุด คนรายได้น้อยก็สมควรจะได้รับความสะดวกสบายในการเดินทางใช้ทางด่วนเช่นเดียวกัน นี่ถึงเรียกว่าความเท่าเทียม
1
☝️หากค่าทางด่วนแพงเกินไป คือหน้าที่ของรัฐที่จะต้องทำให้มันถูกลง ไม่ใช่แบ่งแยกกดขี่คนจนลงไปอีกว่า ไม่มีเงินก็ใช้ทางธรรมดาไปสิ
2
ผู้เขียนอยู่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ที่การรถไฟครอบคลุมทั่วประเทศ เดินทางต่อเนื่อง มีทั้งรถไฟความเร็วสูงสายหลักที่เชื่อมต่อเมืองใหญ่ ๆ
และรถไฟสายย่อยจากเมืองเล็ก ๆ ที่เข้ามาเชื่อมกับสายหลักอีกที
5
🔺ทุกผู้ทุกนามเดินทางด้วยรถไฟอย่างสะดวกสบายไม่ว่ารวยหรือจน
🔺เด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี เดินทางกับผู้ปกครองฟรี
🔺เยาวชนอายุ 16-25 ปีได้รับส่วนลดเกือบครึ่งราคา
2
☝️และทำให้การรถไฟของประเทศ “ขาดทุน” เรื่อยมา ซึ่งนั่นเป็นภาระที่รัฐต้องแบกรับ เพื่อจะทำให้ทุกคนได้เข้าถึงโอกาสอย่างเท่าเทียมกันในการเดินทางขั้นพื้นฐาน
1
“ความเท่าเทียม” ต้องไม่มีคำว่า
คนจนใช้อันนี้ คนรวยใช้อันนั้น
“ความเท่าเทียม” หมายถึงคนทุกคนได้รับเหมือนกัน ๆ
1
ตรรกะง่าย ๆ แบบนี้ผู้บริหารประเทศยังไม่เข้าใจ
ก็ไม่รู้จะเหลือความหวังอะไรอีกแล้ว😞
4
ฟังเสียงสด ๆ ของนายกได้จากคลิปนี้
👉https://youtu.be/SJ1icbDTwfQ
นาทีที่ 1:05:12 เป็นต้นไป

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา