5 ธ.ค. 2021 เวลา 09:51 • ความคิดเห็น
• ผมเปรียบเทียบลักษณะของปัญหาและการแก้ไขปัญหาของสังคมผู้สูงวัยระหว่างญี่ปุ่นกับไทยคร่าวๆ พบว่า
4
เครดิตรูปภาพ https://thaitgri.org/?p=38866
🇯🇵 ญี่ปุ่นยังคงมีปัญหาความเจริญที่กระจุกตัวในเมืองหลวงขนาดใหญ่ คนหนุ่มสาวในต่างจังหวัดต่างทยอยเข้าเมืองไม่ต่างกัน ซึ่งมีความคล้ายกับไทย
5
• รัฐบาลญี่ปุ่นเองได้มีความพยายามเป็นอย่างมากในการแก้ไขปัญหาต่างๆ เหล่านั้น โดยออกนโยบาย เงินออมหลังเกษียณ เงินอุดหนุนและการให้บริการสวัสดิการฟรีในด้านต่างๆ เพื่อที่จะอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ซึ่งสามารถนำมาใช้ได้จริง
5
• เรื่องของแรงงานคุณภาพคิดว่าญี่ปุ่นสามารถนำเข้าแรงงานจากต่างประเทศได้ เพราะยังมีช่องว่างระหว่างรายได้และค่าเงินค่อนข้างมาก ซึ่งปัจจุบันก็ทำอยู่ ซึ่งผมเห็นได้ในเว็บไซต์กระทรวงแรงงานของไทยที่ส่งออกแรงงานไปยังญี่ปุ่น
5
อ้างอิง (1):
2
🇹🇭 ปัญหาของไทยค่อนข้างสาหัส เพราะคนส่วนใหญ่มีรายได้น้อยมาก ค่าครองชีพที่สูงขึ้น เป็นผลให้ไม่มีเงินออมสะสมที่เพียงพอไว้ใช้ในยามเกษียณ
4
• ยิ่งถ้ามีหนี้ในช่วงวัยเกษียณก็ไม่สามารถหารายได้เพิ่มได้อีก การเผื่อเงินไว้สำหรับรักษาพยาบาลยามป่วยไข้หรือเงินฉุกเฉินที่จะต้องใช้ยามจำเป็น จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากมาก เพราะสวัสดิการของรัฐไม่เพียงพอและทั่วถึง ซึ่งยังไม่เห็นรัฐบาลมีแนวทางอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน
4
• ส่วนเรื่องแรงงานคุณภาพแต่รายได้ค่อนข้างต่ำ ภาวะสมองไทยย่อมเกิดขึ้นแน่นอน โอกาสนำเข้าแรงงานต่างประเทศก็คงยากมาก ยกเว้นถ้าเป็นแรงงานพม่าและกัมพูชาทั้งที่ถูกต้องและไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ก็ยังล้นทะลักเข้าไทยมาอย่างตลอดต่อเนื่อง การแก้ปัญหาเหล่านี้ยังไม่มีการกล่าวถึงสักเท่าไหร่นัก
4
อ้างอิง (2):
2
โฆษณา