6 ธ.ค. 2021 เวลา 04:43 • สุขภาพ
มาแล้ว!!! สธ.แถลงผลตรวจสอบ 99% พบโอไมครอนรายแรกของไทย
99
วันที่ 6 ธ.ค. 2564 นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงสถานการณ์และความคืบหน้าการเฝ้าระวังสายพันธุ์โอไมครอน (Omicron) ในประเทศไทย ว่า 2- 3 วันที่ผ่านมามีข่าวลือว่ามีนักท่องเที่ยวติดเชื้อโอไมครอนในประเทศไทย
51
จากผลการตรวจสอบเก็บตัวอย่างนักท่องเที่ยวรายดังกล่าวครั้งที่ 1 (30 พ.ย. 2564) พบความเข้ากันได้กับจีโนม โอไมครอนร้อยละ 99 ซึ่งพบความน่าจะเป็นไปได้ ว่าน่าจะเป็นโอไมครอนรายแรกในประเทศไทย
8
สำหรับผู้ป่วยรายนี้เป็นชายชาวอเมริกัน เดินทางมาจากประเทศสเปน เข้าไทยในรูปแบบ Test and Go
6
สำหรับ Timelines ผู้ติดเชื้อมีดังนี้
ผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนคนแรกในไทยแล้ว โดยเป็นชายชาวอเมริกัน อายุ 35 ปี อาศัยอยู่ในสเปนมาแล้ว 1 ปี มีอาชีพเป็นนักธุรกิจ ซึ่งเป็นผู้ติดเชื้อไม่มีอาการ
ชายคนนี้เดินทางไปตรวจหาเชื้อที่สเปนด้วยวิธี RT-PCR เมื่อวันที่ 28 พ.ย.ซึ่งผลออกมาว่าไม่พบเชื้อ หลังจากนั้นได้ไปรับประทานอาหารกับเพื่อน ซึ่งเพื่อนไม่มีอาการป่วยจนถึงปัจจุบัน
วันที่ 29 พ.ย.2564 ชายคนนี้ได้บินจากประเทศสเปน ไปดูไบ (EK142) และพักที่ดูไบ 9 ชั่วโมง ไม่ได้พูดคุยกับใครและสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ต่อมาในวันที่ 30 พ.ย.2564 บินจากดูไบมากรุงเทพฯ (EK372) หลังลงจากเครื่องประมาณเที่ยงคืน ไปเก็บตัวอย่างแบบ Drive thru ที่โรงพยาบาลคู่สัญญา และกลับเข้าโรงแรม (ผู้ป่วยเข้าโครงการ Test & Go)
ต่อมาพบเชื้อ COVID-19 เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. ก่อนจะส่งตัวอย่างเชื้อไปตรวจยืนยันที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในวันที่ 3 ธ.ค.ที่ผ่านมา ส่วนผู้ป่วยก็เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง
ผู้ป่วยคนนี้ไม่แสดงอาการของโรคติดเชื้อ COVID-19 และไม่มีประวัติตรวจพบติดเชื้อ COVID-19 มาก่อน แรกรับอุณหภูมิ 36.5 องศาเซลเซียส และคนไข้ระมัดระวังตัว สวมหน้ากากตลอดเวลา ไม่มีผู้สัมผัสเสี่ยงสูง มีแต่ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ นั่งเครื่องบินมาคนเดียวไม่มีคนนั่งข้าง ๆ อย่างไรก็ตาม จะมีการสอบสวนผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำทุกคนต่อไป แต่ขณะนี้ทั้งหมดยังมีอาการปกติดี ยังไม่พบผู้ติดเชื้อเพิ่มเติม
โอไมครอน พบแล้ว 38 ประเทศ WHO เผย ยังไม่มีผู้เสียชีวิต
องค์การอนามัยโลก เผย พบเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนแล้ว อย่างน้อย 38 ประเทศ แอฟริกาใต้ติดเชื้อพุ่งทะลุ 3 ล้านรายแล้ว ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต
วันที่ 5 ธันวาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์ข้อมูล COVID-19 โดยศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) เผยว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่า ได้ตรวจพบไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนในอย่างน้อย 38 ประเทศทั่วโลก แต่ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตจากไวรัสสายพันธุ์ใหม่ดังกล่าว
ขณะที่มีการเตือนว่าโอไมครอนอาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และออสเตรเลียเป็นประเทศล่าสุดที่ยืนยันการพบผู้ติดเชื้อโอไมครอนภายในประเทศ ขณะที่การระบาดของโอไมครอนทำให้ยอดรวมผู้ติดเชื้อโควิดในแอฟริกาใต้พุ่งทะลุ 3 ล้านรายแล้ว
15
WHO เตือนว่า อาจต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์เพื่อบ่งชี้ว่า ไวรัสโอไมครอนแพร่เชื้ออย่างไร และทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยที่รุนแรงขึ้นหรือไม่ รวมทั้งประสิทธิภาพของการรักษาและวัคซีนในการป้องกันไวรัสสายพันธุ์ใหม่ดังกล่าว
3
Omicron คืออะไร
13
องค์การอนามัยโลกตั้งชื่อเชื้อกลายพันธุ์ตัวใหม่ที่พบในแอฟริกาว่า โอไมครอน เป็นตัวแรกในรอบกว่า 6 เดือนที่ถูกจัดให้เป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวล ต่อจากเดลตาเมื่อเดือนพ.ค.
วันที่ 26 พ.ย. 2564 คณะกรรมการด้านโรคโควิด-19 ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ออกมาประกาศว่า ได้จัดให้เชื้อกลายพันธุ์ สายพันธุ์ B.1.1.529 อยู่ในรายชื่อเชื้อกลายพันธุ์ที่น่ากังวล (Variant of Concern) และตั้งชื่อเรียกตามลำดับตัวอักษรกรีกว่า โอไมครอน (Omicron)
สายพันธุ์โอไมครอนนับเป็นเชื้อกลายพันธุ์ตัวที่ 5 ที่ WHO จัดให้เป็นเชื้อกลายพันธุ์ที่น่ากังวล ต่อจากอัลฟา เบตา แกมมา และเดลตา ส่วนสายพันธุ์แลมบ์ดาและมิว ที่มีข่าวออกมาก่อนหน้านี้ ปัจจุบันยังถือว่าเป็นสายพันธุ์ที่อยู่ในความสนใจ (Variant of Interest) ซึ่งมีความร้ายแรงต่ำกว่า
22
ประกาศของ WHO ระบุว่า ได้รับรายงานถึงสายพันธุ์โอไมครอนครั้งแรกในแอฟริกาใต้เมื่อวันที่ 24 พ.ย. ที่ผ่านมา โดยพบว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อในพื้นที่มีจำนวนสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในภายระยะเวลาเดียวกันที่ตรวจพบสายพันธุ์โอไมครอน ตัวอย่างเชื้ออันแรกที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นสายพันธุ์นี้ มีการเก็บมาตั้งแต่วันที่ 9 พ.ย.
“โอไมครอน” มาจากไหน
12
การระบาดของโควิด-19 โอไมครอนถูกระบุแยกแยะออกมาเป็นครั้งแรกในจังหวัดเคาเต็ง (Gauteng) ของแอฟริกาใต้ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยขณะนี้มีการพบผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนแล้วในอย่างน้อย 13 ประเทศ ได้แก่ แอฟริกาใต้ บอตสวานา เบลเยียม ฮ่องกง อิสราเอล อังกฤษ เยอรมนี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก ออสเตรเลีย แคนาดา สาธารณรัฐเช็ก ผู้ติดเชื้อรวมทั้งหมดอยู่ในหลักร้อย (ข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2564)
3
จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่า สายพันธุ์โอไมครอนมีการกลายพันธุ์จำนวนมาก และบางส่วนเป็นที่น่ากังวล และมีหลักฐานชี้ว่าอาจจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะทำให้เกิดการกลับมาติดเชื้อซ้ำได้ เมื่อเปรียบเทียบกับสายพันธุ์ที่น่ากังวลสายพันธุ์อื่นๆ
15
มีการรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนเพิ่มขึ้นในแทบทุกจังหวัดของแอฟริกาใต้ โดยยืนยันว่าชุดตรวจแบบ PCR ยังคงสามารถใช้ตรวจจับสายพันธุ์ใหม่นี้ได้ แต่การที่จำนวนการตรวจพบเพิ่มขึ้นเร็วกว่าการระบาดครั้งก่อนๆ เป็นสัญญาณที่น่ากังวล ซึ่งอาจจะบ่งบอกว่าสายพันธุ์นี้มีการเพิ่มจำนวนมากขึ้นตามไปด้วย
13
Credit:
workpointTODAY
Health me now
BBC

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา