Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
สุขภาพดีไม่มีในขวด
•
ติดตาม
8 ธ.ค. 2021 เวลา 06:56 • สุขภาพ
𝐔𝐫𝐢𝐞𝐟(𝑅) : 𝐒𝐢𝐥𝐨𝐝𝐨𝐬𝐢𝐧
💊 ยารักษาต่อมลูกหมากโต
ต่อมลูกหมากเป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย 👨🏻 รูปร่างคล้ายลูกเกาลัดหุ้มรอบท่อปัสสาวะส่วนต้น ปรกติจะมีขนาดประมาณ 15-20 กรัม หน้าที่ที่สำคัญของต่อมลูกหมาก คือ ทำหน้าที่สร้างสารที่เป็นของเหลวประมาณ 30% ของน้ำอสุจิ โดยทั่วไปต่อมลูกหมากจะหยุดเจริญเติบโตหลังจากอายุ 20 ปี ▶️ จนกระทั่งอายุประมาณ 45 ปี จะมีการเพิ่มขนาดขึ้นอีกครั้ง และเป็นจุดเริ่มต้นของโรคต่อมลูกหมากโต
.
โรคต่อมลูกหมากโต (𝐁𝐏𝐇 - 𝐁𝐞𝐧𝐢𝐠𝐧 𝐏𝐫𝐨𝐬𝐭𝐚𝐭𝐢𝐜 𝐇𝐲𝐩𝐞𝐫𝐩𝐥𝐚𝐬𝐢𝐚) 🌰 คือ ภาวะที่ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่ผิดปกติ จะพบได้บ่อยขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุที่เพิ่มขึ้น 50% ของผู้ชายที่เป็นโรคต่อมลูกหมากนั้นมีอายุประมาณ 60 ปี
ด้วยเหตุที่ต่อมลูกหมากจะห่อหุ้มท่อปัสสาวะส่วนต้นไว้ ดังนั้นเมื่อต่อมลูกหมากโตขึ้นก็อาจกดทับท่อปัสสาวะให้ตีบเล็กลง ส่งผลให้ 👨🏻 คุณผู้ชายมีอาการปัสสาวะติดขัด นอกจากนี้ต่อมลูกหมากโตอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผนังกล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะหนาขึ้น เนื่องจากต้องบีบตัวแรงขึ้นเพื่อขับน้ำปัสสาวะให้ผ่านท่อแคบๆ และเมื่อผนังกระเพาะปัสสาวะหนาตัวขึ้นก็จะส่งผลต่อความสามารถในการกักเก็บน้ำปัสสาวะลดลงจึงต้องปัสสาวะบ่อย และอาจได้รับการกระตุ้นให้ปวดปัสสาวะขึ้นมาอย่างกะทันหันได้
.
ต่อมลูกหมากโต 𝐕𝐒 มะเร็งต่อมลูกหมาก
ยังไม่มีหลักฐานที่แสดงชัดว่าโรคต่อมลูกหมากโตจะนำไปสู่โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก แต่อย่างไรก็ตามอาการของความผิดปกติทั้งในต่อมลูกหมากโตและมะเร็งต่อมลูกหมากนั้นมีความคล้ายกัน และอาจเป็นไปได้ว่าภาวะต่อมลูกหมากโตและมะเร็งต่อมลูกหมากจะเกิดขึ้นในขณะเดียวกันได้ คุณผู้ชายจึงควรตรวจต่อมลูกหมากเมื่ออายุ 45 ปีขึ้นไป
.
สังเกตอาการต่อมลูกหมากโตด้วยตนเอง
ไม่ใช่ผู้ป่วยต่อมลูกหมากโตทุกคนจะมีอาการ บางคนมีอาการน้อยมาก เช่น ความแรงของปัสสาวะลดลงบ้าง แต่ไม่ได้เดือดร้อนอะไร ในขณะที่บางคนอาจอาการหนักถึงขั้นปัสสาวะไม่ออกได้ สำหรับอาการของโรคต่อมลูกหมากโตที่สำคัญมีอยู่ 7 อย่าง ซึ่งสามารถสังเกตเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง คือ
🌰 ปัสสาวะบ่อย
🌰 ปัสสาวะไหลไม่แรง
🌰 เวลาปวดปัสสาวะต้องรีบเข้าห้องน้ำรอไม่ได้ 🚽
🌰 ปัสสาวะเสร็จแล้วรู้สึกไม่สุด
🌰 ปัสสาวะไหล ๆ หยุด ๆ
🌰 ต้องเบ่งช่วยเวลาถ่ายปัสสาวะ
🌰 ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน 🌙
.
การตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยโรคต่อมลูกหมากโต
▶️ การซักประวัติ ทำแบบสอบถาม (IPSS) เพื่อประเมินความรุนแรงของความผิดปรกติของการถ่ายปัสสาวะ
▶️ การตรวจทวารหนักเพื่อคลำต่อมลูกหมาก
▶️ การตรวจปัสสาวะเป็นขั้นตอนที่สำคัญ และจำเป็นต้องทำในผู้ป่วยทุกราย เพื่อดูว่ามีการอักเสบติดเชื้อ มีเม็ดเลือดผิดปรกติหรือไม่ และยังเป็นการบอกถึงความผิดปรกติของร่างกายในระบบอื่นได้
▶️ การตรวจเลือดเพื่อหาค่า PSA (prostatic specific antigen) จะตรวจต่อเมื่อผู้ป่วยมีสุขภาพโดยรวมแข็งแรง และน่าจะมีชีวิตยืนยาวมากกว่า 10 ปีขึ้นไป เนื่องจากมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก มีแนวโน้มจะโตและลุกลามช้า
▶️ การตรวจอัลตราซาวน์ ส่วนมากมักใช้เมื่อมีความผิดปรกติในการตรวจปัสสาวะ แต่ปัจจุบันเป็นที่นิยมส่งตรวจกันมากขึ้น เนื่องจากปลอดภัยและให้ประโยชน์สูง
▶️ การตรวจความแรงในการไหลของปัสสาวะ (Uroflowmetry) มักจะร่วมกับการตรวจปัสสาวะที่เหลือค้างหลังจากปัสสาวะหมดแล้ว มีประโยชน์ในการประเมินความรุนแรงและติดตามการรักษา
▶️ การตรวจอื่น ๆ เช่น การส่องกล้อง การตรวจยูโรพลศาสตร์จะทำเมื่อมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน
โดยแพทย์จะพิจารณาเลือกวิธีการตรวจให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
.
🧑🏾⚕️ แนวทางการรักษาโรคต่อมลูกหมากโต
สำหรับโรคต่อมลูกหมากโตนั้น ส่วนมากมักจะมีต่อคุณภาพชีวิตมากกว่าจะส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม ดังนั้น การรักษาจะมุ่งเน้นที่จะให้อาการขับถ่ายปัสสาวะของผู้ป่วยดีขึ้น และเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนจากต่อมลูกหมากโต โดยทั่วไป สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการน้อยและไม่มีผลต่อคุณภาพชีวิต อาจยังไม่ต้องรักษาเพียงแต่เฝ้าติดตามไปก่อนได้ สำหรับการรักษาในปัจจุบัน ได้แก่
1️⃣ การใช้ยา :
ปัจจุบันมียาเพื่อใช้รักษาอาการของโรคต่อมลูกหมากโตมากมาย สามารถแบ่งออกได้ 3 กลุ่ม
-----> [𝟭] ยาในกลุ่มอัลฟา-บล็อกเกอร์ 𝗔𝗹𝗽𝗵𝗮 𝗮𝗱𝗿𝗲𝗻𝗲𝗿𝗴𝗶𝗰 𝗯𝗹𝗼𝗰𝗸𝗲𝗿𝘀 ยาในกลุ่มนี้ออกฤทธิ์เร็ว ผู้ป่วยจะรู้สึกปัสสาวะสะดวกขึ้นภายใน 3 วัน แต่ถ้าหยุดยาและอาการก็จะกลับมาอย่างรวดเร็ว
-----> [𝟮] ยาที่ยับยั้งการสร้างฮอร์โมน 𝗗𝗶𝗵𝘆𝗱𝗿𝗼𝘁𝗲𝘀𝘁𝗼𝘀𝘁𝗲𝗿𝗼𝗻𝗲: 𝗗𝗛𝗧 ยาในกลุ่มนี้จะลดการสร้างฮอร์โมน DHT ซึ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของต่อมลูกหมาก แม้ว่าจะออกฤทธิ์ช้า แต่สามารถลดขนาดของต่อมลูกหมากได้ในระดับหนึ่ง จะมีประโยชน์เฉพาะผู้ป่วยที่มีต่อมลูกหมากค่อนข้างโต
-----> [𝟯] ยาสมุนไพร มีอยู่หลายชนิด สำหรับชนิดที่แพร่หลายที่สุด คือ จากสมุนไพรชื่อ 𝗦𝗮𝘄 𝗽𝗮𝗹𝗺𝗲𝘁𝘁𝗼 แต่ประสิทธิภาพยังไม่ชัดเจนนัก
2️⃣ การรักษาโดยการผ่าตัด :
ส่วนมากจะเป็นการผ่าตัดผ่านกล้อง หรือที่รู้จักในชื่อ TURP ซึ่งยังคงเป็นมาตรฐานการผ่าตัด ในขณะนี้การรักษาโดยการผ่าตัดจะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยโรคต่อมลูกหมากโตและมีภาวะแทรกซ้อน หรือการทานยาไม่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ อย่างไรก็ตามมีการผ่าตัดวิธีการอื่นที่สามารถลดภาวะแทรกซ้อนหรือลดระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลได้ เช่น การใช้เลเซอร์ช่วยในการผ่าตัด การใช้ขดลวดตาข่ายขยาย ต่อมลูกหมาก เป็นต้น
3️⃣ การปฏิบัติตัวตามคำแนะนำ :
ควรงดดื่มของเหลวหรือแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเกินไปโดยเฉพาะในเวลากลางคืน
.
💊 𝐔𝐫𝐢𝐞𝐟(𝑅) : 𝐒𝐢𝐥𝐨𝐝𝐨𝐬𝐢𝐧 คือยาอะไร?
องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา U.S. Food and Drug Administration ได้รับอนุญาต 𝐒𝐢𝐥𝐨𝐝𝐨𝐬𝐢𝐧 ให้ใช้ในการรักษาโรคต่อมลูกหมากโต และช่วยทำให้การถ่ายปัสสาวะขัดกลับมาเป็นเหมือนปกติ
ถูกวางจำหน่ายครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ. 2006 (พ.ศ. 2549)
▶️ ยาออกฤทธิ์ : ยับยั้งการทำงานของ alpha 1 adrenoreceptors ที่บริเวณต่อมลูกหมาก, กระเพาะปัสสาวพr, และท่อปัสสาวะ ทำให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัวส่งผลให้บรรเทาอาการของต่อมลูกหมากโต
▶️ ขนาดยาที่แนะนำ : 8 mg. วันละครั้งในผู้ป่วยที่มีการทำงานของตับและไตปกติ โดยไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของตับและไตอย่างรุนแรง
▶️ อาการข้างเคียงจากยา : การลดลงของน้ำอสุจิ มีภาวะองคชาติแข็งค้าง มีอาการคัดจมูก ไซนัสอักเสบ อาการวิงเวียน ปวดศีรษะ ท้องเสีย ปวดท้อง ภาวะความดันโลหิตต่ำ ซึ่งผลข้างเคียงนี้สามารถดีขึ้นเมื่อหยุดยา
▶️ จากการศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยา silodosin แบบ randomized, double-blind, placebo-controlled, multicenter studies ในผู้ป่วยจำนวน 923 คน พบว่า silodosin ขนาด 8 mg. มีผลทำให้อาการของ BPH รวมทั้ง urinary flow rate ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก
.
.
เรียบเรียงโดย : สุขภาพดีไม่มีในขวด
ขอบคุณข้อมูลจาก :
1. สมาคมศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. ต่อมลูกหมากโต. 1 มิถุนายน 2019.
https://bit.ly/37cSiLQ
. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2021
2. โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์. ต่อมลูกหมากโต.
https://bit.ly/2Vmjntu
. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2021
3. หน่วยคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. Silodosin ได้รับอนุญาตให้ใช้รักษาอาการของต่อมลูกหมากโต.
https://bit.ly/37goi1H
. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2021
ต่อมลูกหมาก
3 บันทึก
2
7
3
2
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย