8 ธ.ค. 2021 เวลา 16:19 • ศิลปะ & ออกแบบ
จะเป็นอย่างไรถ้านักออกแบบสามารถ ‘จบงานได้ด้วยตัวเอง’ ไม่ต้องฝึกเขียนโค้ด ไม่ต้องส่งงานต่อให้ Developer..นี่คือ 4 เหตุผลสำคัญที่จะทำให้นักออกแบบรักเครื่องมือออกแบบเว็บ 'no-code' ที่มาแรงแห่งยุคอย่าง Webflow
1. Webflow ช่วยแปลงการเขียนโค้ด ให้กลายเป็นหน้าตาเครื่องมือออกแบบที่นักออกแบบคุ้นเคย
โปรแกรมเมอร์มืออาชีพอาจจะมองเห็นเว็บไซต์เป็นโค้ดเรียงเป็นบรรทัด แต่นักออกแบบอยู่ในโลกของการมองเห็นด้วยภาพ Webflow ช่วยให้นักออกแบบสามารถสร้างสรรค์เว็บไซต์ได้อย่างเต็มที่โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่อง HTML หรือ CSS ซึ่งเป็นภาษาโปรแกรมพื้นฐานสำคัญในการสร้างเว็บไซต์
แทนที่จะต้องนั่งเขียนโค้ดเพื่อสร้างเว็บ นักออกแบบสามารถลากวาง elements ต่างๆ สร้างขึ้นมาเป็นเว็บไซต์ได้ด้วยหน้าตาคำสั่งเครื่องมือออกแบบที่คล้ายคลึงกับ Photoshop หรือ Figma ในแบบที่ Webflow พูดว่าช่วยให้นักออกแบบรู้สึกเหมือนได้อยู่ ‘บ้าน’ ของตัวเอง
2. จาก Mockup ไปสู่การสร้าง Prototype และเว็บจริงแบบ ‘จบงานได้เอง’
นักออกแบบหลายคนอาจคุ้นเคยกับการทำ Mockup เป็นภาพนิ่งใน Photoshop เพื่อให้ทีมหรือลูกค้าดูว่างานจะออกมาเป็นยังไง แต่ Webflow จะช่วยให้คุณไปได้ไกลกว่านั้น
ลองคิดดูว่าคุณต้อง Mockup หน้าเว็บขึ้นมาสำหรับทุกขนาดหน้าจออุปกรณ์ต่างๆ ต้องใช้แรงและเวลาแค่ไหน ไหนจะเรื่องความยากของการที่ลูกค้าหรือทีมต้องจินตนาการจากภาพนิ่งเหล่านั้นว่าถ้าเป็นเว็บจริงๆ จะขยับยังไง มี transition ยังไง กดปุ่มนี้แล้วจะไปไหนต่อ..
ด้วย Webflow จะช่วยให้ทั้งชีวิตของคุณ ทีมงาน และลูกค้าง่ายขึ้น! คุณสามารถสร้าง Prototype ขึ้นมาได้จริงๆ แบบ Responsive ที่ง่ายต่อการปรับแสดงผลทุกขนาดหน้าจอ และเป็น Clickable Prototype ให้เห็นกันไปเลยว่าเว็บจริงๆ จะมีหน้าตายังไง ทำงานแบบไหน ไปจนถึงการพัฒนาเป็นเว็บที่สมบูรณ์พร้อมใช้งาน
3. แค่เว็บสวยมันธรรมดาไป Webflow ให้นักออกแบบจัดเต็มไอเดีย Interaction และ Animation ได้โดยที่ ‘ไม่ต้องเขียนโค้ด’
และนี่คือจุดเด่นสำคัญที่สุดที่ทำให้ Webflow แตกต่างจากเครื่องมือออกแบบเว็บ no-code, low-code อื่นๆ
ก่อนหน้านี้นักออกแบบหลายคนจินตนาการถึงเว็บที่มีลูกเล่นแพรวพราว มี Interaction และ Animation ขยับเคลื่อนไหวไปมา แต่ก็มาติดคอขวดที่การ ‘เขียนโค้ด’ เพราะเป็นสิ่งที่แพลตฟอร์มสร้างเว็บสำเร็จรูปอื่นๆ ให้ไม่ได้
ต่อให้มีนักพัฒนาช่วยเขียนโค้ดให้มีลูกเล่นขึ้นมาได้ แต่การพยายามสื่อสารกับนักพัฒนาด้วยการออกแบบภาพนิ่งใน Photoshop จำลองเป็น Video หรือ GIF ก็เป็นงานที่กินแรงมหาศาล แถมยังอาจมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนกันอยู่ดี
Webflow จะช่วยให้คุณสามารถออกแบบ Interaction และ Animation ได้ผ่านหน้าตาเครื่องมือออกแบบที่คุ้นเคยได้โดยไม่ต้องเขียนโค้ด จะทำในระดับ Prototype เพื่อส่งต่องานให้นักพัฒนาไปทำต่อ หรือจะจบงานด้วยตัวเองก็ได้ แล้วคุณจะทึ่งว่าเว็บไซต์ที่ไม่ต้องเขียนโค้ดทำอะไรได้มากกว่าที่คิด
4. Webflow คือหนึ่งในความเคลื่อนไหวสำคัญของเทรนด์ ‘No-Code Movement’ ทำลายกำแพงที่เรียกว่าการเขียนโค้ด
ท่ามกลางเทรนด์การเกิดขึ้นของเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้คนสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ได้มากขึ้นโดยไม่ต้องเขียนโค้ด ‘Break the code barrier’ คือประโยคประกาศจุดยืนสำคัญของ Webflow ที่เข้ามากลับหัวกลับทางโลกการออกแบบเว็บไซต์ จากแต่เดิมที่เป็นเรื่องของการ ‘ออกแบบ 10% เขียนโค้ด 90%’ ให้เป็น ‘ออกแบบ 95% เขียนโค้ด 5%’
Webflow ยังได้เป็นหัวหอกจัดงาน No-Code Conf ซึ่งเป็นสัมนาขับเคลื่อน Community ให้มาแลกเปลี่ยนกันเรื่องเทรนด์ No-Code Movement ร่วมกับบริษัทชั้นนำอย่าง Adobe, Apple, Airtable และ Google โดยจัดอย่างต่อเนื่องมาสามปีแล้ว
โดยส่วนหนึ่งในงานจะมีการประกาศฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่ทาง Webflow พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้การออกแบบเว็บแบบไม่เขียนโค้ดทำสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้น อย่างปีล่าสุดมีเรื่องระบบ Memberships ที่ช่วยเพิ่มช่องทางการสร้างรายได้ให้กับเว็บ รวมถึงฟีเจอร์อื่นๆ ที่ทำให้นักออกแบบควบคุมปรับแต่งสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้น
Webflow สุดยอดเครื่องมือสร้างเว็บแบบ No-Code ที่กำลังมาแรงในหมู่ดีไซน์เนอร์
โฆษณา