10 ธ.ค. 2021 เวลา 08:53 • ปรัชญา
เรื่องราวของศีล ทำไมพระถึงต้องมีการให้ศีล เมื่อรับศีลแล้ว เราจะรักษาศีล ได้ยาวนานแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับตัวเองที่มีความตั้งใจ จะรักษา รักษาแค่หนึ่งนาที หนึ่งวัน หนึ่งคืน เราตั้งใจแค่ห้านที ขอรับมารักษาจิตใจ แค่เราอยู่นิ่งๆ รักษาศีล ไม่เคลื่อนไหวตามอารมณ์ เราก็ไม่ได้ทำผิดอะไร ไม่ไปสร้างกรรมอะไร จิตเราก็ได้สะสมไป เล็กน้อย ศีลนี้ก็สะสมให้จิตบริสุทธิ์ เหมือนกับว่า ตัวเราเองมันมันทั้งดีและไม่ดี เราก็ได้สะสมสิ่งดีๆให้แก่จิตของเรา ซึ่งจิตเราก็ได้บันทึกเรื่องราวดีๆให้แก่ตน เรื่องราวของศีลห้า แม้คนที่บอกว่าเป็นชาวพุทธ จะน้อมรับไปกระทำก็หาไม่ ไม่ใช่ว่าเป็นชาวพุทธแล้วเป็นฆราวาสที่ต้องยุ่งอยู่ในเรื่องราวทำมากิน จะนำไปปฏิบัติได้ และไม่สามารถกระทำได้เลย นอกจากวิรัติศีลนั้น เป็นกำหนดเวลาขึ้นมา
แต่ถ้ารับศีล เอามาเทินบนหัว จิตใจก็ไม่ระมัดระวัง ศีลนั้นมันก็ร่วงร่น เสียหาย เค้าก็ว่า เราได้ แต่เมื่อเราจะรักษา เราก็ควร ที่จะมีกำหนดเวลาบังคับตัวเราเอง เป็นเวลาเท่าไหร่ เพราะถ้าหากใครรักษาศีลห้าได้ จริงๆ คนนั้นก็ไม่ใช่มนุษย์ธรรมดาแล้ว เค้าต้องมีเหตุผลดีภายในจิตใจ ตลอดทั้งบุญกุศลบารมีมากๆ ที่จะต้องไม่มีอารมณ์นึกคิด ทิฐิอะไร มายาอะไรเข้าไปปรุงแต่งจิต ของเค้าได้ จิตใจจึงไม่มีสิ่งที่เป็นมายาเข้าไปปรุงแต่งจิต ให้มีพฤติกรรมของกายวาจาใจไปเบียดเบียนทั้งตนเอง และผู้อื่น
ในเมื่อเรายังเป็นปุถุชน ต้องแสวงปัจจัย ใช้อารมณ์โลภโกรธหลง ตั้งแต่ตื่นนอนไปจนถึงเวลาหลับนอน จิตใจเรามันก็อยู่กับเรื่องราวของอารมณ์ ชอบใจไม่ชอบ ยินดียินร้าย ไปตามอารมณ์ที่เกิดขึ้นในตน ในการรักษาศีลนั้น เค้ารักษากันด้วย สติที่จะไปสกัดกั้นอารมณ์ของตน ไม่ไปทำ ในลักษณะคล้องเวรกรรม ให้จิตของตนต้องมีภาระ เกิดเป็นกรรม
เหมือนเราเป็นโสดอยู่คนเดียวไม่ได้ ก็ต้องไปหาภาระมา ไปแบกขันธ์กรรมของตัวเองมา เลี้ยงดูตัวเองไม่พอ ต้องไปแบกขันธ์ชีวิตคู่ครอง(นี่แค่คนเดียวยังลำบากขนาดนี้) มีลูกมีหลาน ที่เค้าเรียกว่า วิญญาณอุปาทานนักขันโธ วิญญาณนี้มันอยู่นิ่งเฉยไม่ได้ ต้องไปยึดทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีตัวตน ยึดมาเป็นเจ้าของ ใครมาแย่งมาทำทำลาย ก็โมโหโกรธ จิตใจดิ้นทุรนทุราย หาความสุขไม่ได้ เค้าจึงมีเรื่องราวของศีลให้เราใช้สติปัญญาของเราพิจารณาให้มีเหตุผล ว่าดีไม่ดี เห็นว่าไม่ดีไร้สาระก็ไม่ต้องไปทำมัน ไปรักษามันเพราะเห็นชัดเจนว่าไม่มีประโยชน์ ก็ทิ้งมันไป ไม่ต้องจดจำมันมากดข่มในหัว ให้มันหนัก ให้มันเกิดทิฐิอะไรในตนมากมาย เหมือนกับว่า คนที่เอาเรื่องราวของศีลมาวิตกวิจารณ์นั้น ตัวเองก็ยังไม่เคยรักษาศีลให้เป็นนิจสิน มันจึงมีแต่คำว่าทิฐิแทรกเข้ามาในตัวตน แล้วเกิดประโยชน์อะไรให้แก่ตน
พิจารณาเห็นว่าดี แล้วเราจะรักษา มันก็อยู่ที่ตัวเรา ที่ช่วยเหลือจิตของตน ไม่ให้จิตมีภาระที่จะต้องมีกรรมที่จะต้องไปผูกมัด ผูกพัน พัวพันนี้ให้จิตเราแบกทุกข์ ให้ต้องดิ้นรนด้ายกรรมอีกมากมาย เรื่องราวเหล่านี้ มันเป็นเรื่องของเหตุผล ภายในจิตที่เป็นนามธรรม ใครก็มองไม่เห็น นอกจากตัวตนของตนเท่านั้น กระทำขึ้นมา ผลที่ได้ก็เป็นเรื่องของกายที่เบาจิตเบา มีความสุขภายในกายตน
โฆษณา