16 ธ.ค. 2021 เวลา 23:07 • ประวัติศาสตร์
Alan Turing นักวิทยาศาสตร์ผู้แสนอาภัพบนธนบัตรของอังกฤษ
1
ปีนี้ธนบัตรชนิด 50 ปอนด์แบบใหม่ของอังกฤษที่ผลิตขึ้นได้ปรากฏรูปภาพของชายคนหนึ่งที่เสียชีวิตไปหลายสิบปีอย่างไร้เกียรติและศักดิ์ศรี แต่ความดีของเขาไม่อาจถูกปิดกั้นไว้ได้ เรื่องราวของเขาจึงตราตรึงในหัวใจคนทั้งโลกให้ระลึกถึง
ในช่วงที่สงครามโลกครั้งที่สองกำลังดำเนินไปอย่างเข้มข้นทางพันธมิตรสืบทราบมาว่าเยอรมันได้ใช้การส่งข่าวโดยคลื่นวิทยุแบบรหัสลับให้กับกองกำลังต่างๆและมีการถอดรหัสลับด้วยเครื่องเข้ารหัสที่เรียกว่า อินิกมา (ENIGMA) เป็นเครื่องเข้ารหัสที่ใช้ป้องกันความลับของกองทัพเยอรมันที่ส่งไปยังหน่วยทหารต่างๆรวมทั้งเรือดำน้ำด้วย เพราะฉะนั้นข้อความและรหัสก็จะรู้เฉพาะพวกเดียวกันจนเยอรมันคิดว่าไม่มีใครในโลกที่จะถอดรหัสลับจากเครื่องอินิกมาได้
Enigma machine https://www.posttoday.com/world/595043
การส่งรหัสลับก็เปลี่ยนรูปแบบทุกวันทำให้มีรหัสที่ซับซ้อนยากที่จะถอดรหัสได้นอกจากทหารเยอรมันด้วยกันที่มีเครื่องอินิกมา เรื่องนี้ฝ่ายพันธมิตรได้ล่วงรู้ถึงการใช้เครื่องอินิกมาของเยอรมันและถ้าสามารถถอดรหัสข้อความจากเครื่องอินิกมาของเยอรมันได้โดยที่เยอรมันไม่รู้ตัว จะทำให้ล่วงรู้การศึกของเยอรมันได้ล่วงหน้าและจะกลายเป็นจุดพลิกผันของสงครามทันที จนในที่สุดฝ่ายพันธมิตรก็สามารถยึดเครื่องอินิกมามาได้โดยที่ฝ่ายเยอรมันไม่รู้ตัว
ทว่าเมื่อได้เครื่องอินิกมา มาแล้วจะถอดรหัสยังไง ก็กลายเป็นเรื่องใหญ่ตามมาอีก เพราะเพราะความซับซ้อนของรหัสและการเปลี่ยนรหัสตลอดของเยอรมันก็ยากที่จะถอดรหัสได้ อังกฤษได้กำหนดโครงการถอดรหัสเครื่องอินิกมา โดยการรวบรวมเหล่านักคณิตศาสตร์ นักถอดรหัสชั้นยอดของประเทศมาสร้างทีมแก้ปัญหา
มีทีมหนึ่งที่นำโดย อลัน ทัวริง (Alan Turing) ซึ่งเป็นอัจฉริยะด้านคณิตศาสตร์ แต่ในวัยเด็กเขาค่อนข้างมีความทุกข์จากการเรียนโรงเรียนประจำที่มักถูกกลั่นแกล้งอยู่เสมอ แต่เขามีเพื่อนรักที่คอยช่วยเหลือและเห็นใจเขา แต่ความตายก็มาพรากเพื่อนรักที่ดีที่สุดของเขาไป หลังจากนั้นเขาจึงเก็บตัวและทำให้มีปัญหาการทำงานร่วมกับผู้อื่น
Alan Turing “The father Artificial Intelligence” https://reddit.com/r/ColorizedHistory/comments/e6ugox/alan_turing_the_father_artificial_intelligence/
หลังจากได้รับมอบหมายให้คิดวิธีถอดรหัสจากเครื่องอินิกมา ทัวริงและคณะต้องไปที่ศูนย์บัญชาการที่อยู่ห่างไปออกไปทางเหนือของกรุงลอนดอนเป็นสถานที่ปกปิดเป็นความลับของอังกฤษที่จะให้ใครล่วงรู้ไม่ได้ โครงการนี้ได้ทุ่มเททรัพยากรต่างๆให้กับทีมงานเพื่อที่จะประดิษฐ์เครื่องถอดรหัสอัตโนมัติให้เสร็จโดยเร็ว แต่จากการทดลองเครื่องถอดรหัสที่คิดขึ้นก็คว้าน้ำเหลวในการถอดรหัสครั้งแล้วครั้งเล่า ความกดดันเริ่มมากขึ้นเรื่อยๆเพราะพันธมิตรต้องอาศัยการถอดรหัสสำหรับการข่าวเนื่องจากต้องการรู้ความเคลื่อนไหวของกองทัพเยอรมัน
ทีมงานหลายคนก็ถอดใจไปมาก เบื้องบนเริ่มไม่พอใจและคิดว่าทัวริงไม่มีทางทำได้สำเร็จและหาทางที่จะให้คนอื่นมาดำเนินการแทน แต่ด้วยความพยายามและความอัจฉริยะของทัวริงเขาก็สามารถถอดรหัสจากเครื่องอินิกมาได้สำเร็จ และเป็นที่ยอมรับว่าเขาเป็นคนให้กำเนิดศาสตร์วิทยาการคอมพิวเตอร์ และเครื่องถอดรหัสที่เขาคิดขึ้นก็เป็นต้นแบบของเครื่องคอมพิวเตอร์
แม้ความสำเร็จของเขาจะเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ของโลก แต่จากการทำงานภายใต้ความเป็นความตายของมนุษยชาติ ทุกอย่างจึงต้องทำงานแบบปิดทองหลังพระเมื่องานสำเร็จแล้วทุกคนก็ไปใช้ชีวิตปกติโดยไม่มีชื่อเสียงหรือหรือเหรียญตราเกียติยศใดๆให้คนอื่นได้รับรู้ผลงานที่ทำให้สงครามโลกครั้งนี้ฝ่ายพันธมิตรพลิกจากตั้งรับกลายเป็นรุกต่อฝ่ายเยอรมัน เหตุการณ์ตอนนี้ถ่ายทอดผ่านภาพยนตร์เรื่อง The Imitation Game (2014)
The Imitation Game (2014) https://www.imdb.com/title/tt2084970/mediaviewer/rm707312385/
ในโลกความจริงหลังจบภารกิจ ทัวริงได้กลับมาใช้ชีวิตทำงานปกติแต่ว่าเขาต้องได้รับโทษจากการมีพฤติกรรมเป็นชายรักชายซึ่งกฎหมายอังกฤษสมัยนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ผิด เขาถูกลงโทษด้วยการฉีดฮอร์โมนจนร่างกายและจิตใจได้รับผลกระทบและทุกข์ทรมานอย่างที่สุด ความรู้สึกของทัวริงคงแสนโศกเศร้าเสียใจที่เขาเป็นคนหนึ่งที่ช่วยโลกและชีวิตผู้คนจากสงครามไว้ได้หลายล้านชีวิตแต่ไม่มีใครที่จะสามารถช่วยเขาได้เลย ชีวิตของเขาจึงจบลงด้วยการฆ่าตัวตายในวัย 41 ปี ใน ค.ศ. 1954 เป็นอันจบชีวิตนักคณิตศาสตร์ผู้ปราดเปรื่องของโลกไปอย่างรันทดใจ
คนตายไปแล้วแต่ความดีนั้นคงทน ผู้คนเริ่มมีการพูดถึงความเก่งความเป็นอัจฉริยะ คุณงามความดี ความเสียสละ มีคุณูปการต่อชาติบ้านเมืองใหญ่หลวงแต่กลับไม่ได้รับการยกย่อง เป็นผู้ปิดทองหลังพระที่ถูกทำร้ายทั้งร่างกายและจิตใจ ตายไปอย่างคนไร้เกียรติ ไร้ศักดิ์ศรี ประชาชนอังกฤษเริ่มส่งเสียงไปถึงรัฐบาลดังขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุด ปี 2009 นายกรัฐมนตรี กอร์ดอน บราวน์ ได้กล่าวแถลงการณ์ขอโทษต่อทัวริงในการที่รัฐบาลในยุคนั้นได้กระทำต่อตัวเขาเป็นดั่งอาชญากรร้าย
1
และในปี 2014 สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานอภัยโทษให้ทัวริงอย่างเป็นทางการ ธนบัตรชนิด 50 ปอนด์แบบใหม่ของอังกฤษที่ผลิตขึ้นมีรูปภาพของทัวริงและผลงานของเขาปรากฏบนธนบัตร ลงเลขฐานสอง 1010111111110010110011000 ซึ่งเมื่อแปลงเลขฐานสิบแล้วจะได้เลข 23061912 ตรงกับวันเกิดของ อลัน ทัวริง ที่เกิดวันที่ 23 มิถุนายน 1912 และธนบัตรนี้จะเริ่มออกหมุนเวียนในตลาดในวันที่ 23 มิถุนายน 2021 เหมือนดั่งความดีของเขานั้นจะมีคนเห็นไปทั่วทั้งแผ่นดินอังกฤษอย่างสมศักดิ์ศรีต่อความเสียสละของคนคนหนึ่งต่อชาติบ้านเมือง
ที่มา - Bank of England
โฆษณา