18 ธ.ค. 2021 เวลา 09:09 • ท่องเที่ยว
[Pic of the day] ชาวเน็ตบางส่วนวิจารณ์ ชื่อไทยไม่ดีตรงไหน? หลังกรมอุทยานฯ ชู “โมโกจูน้อย” เป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ ของ “อุทยานแห่งชาติแม่วงก์”
3
12 ธ.ค. ที่ผ่านมา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้เปิดตัวแลนด์มาร์กแห่งใหม่ชื่อ “โมโกจูน้อย” ของ “อุทยานแห่งชาติแม่วงก์” ที่ตั้งอยู่ใน อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร
โดย Thailand Tiger Project DNP และหน่วยงานพันธมิตร ได้ร่วมกันวางแผนการจัดการเพื่อฟื้นฟูประชากรเหยื่อของเสือโคร่ง โดยเฉพาะสัตว์กีบ ในช่วงปี 2565-2566 เป้าหมาย คือ ให้มีการฟื้นฟูแหล่งอาหารของสัตว์กีบอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อฟื้นฟูประชากรเสือโคร่ง ณ บริเวณที่ราบช่วงบริเวณจุดชมวิวโมโกจูน้อย ซึ่งนักท่องเที่ยวจะได้ชมความเป็นอยู่ของสัตว์ป่าต่างๆ สามารถมายืนถ่ายภาพที่จุดแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของอุทยานฯ หรือเรียกว่า “โยเซมิตี” ของเมืองไทย
โมโกจูน้อย ตั้งชื่อตามยอดเขา “โมโกจู” สถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังของ อช.แม่วงก์ ที่มี “หินเรือใบ”เป็นสัญลักษณ์ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในเส้นทางเดินป่าระยะไกลยอดนิยมอันดับต้น ๆ ของเมืองไทย
โมโกจูน้อย มีลักษณะเป็นเนินเขาลูกเล็ก ๆ บริเวณนี้เป็นจุดชมวิวทิวเขาอันสวยงาม มองเห็นแนวเทือกเขาสลับซับซ้อน สามารถชมวิวธรรมชาติได้โดยรอบ 360 องศา และชมได้ทั้งพระอาทิตย์ขึ้นและตก แถมบางมุมมีบรรยากาศดูคล้ายกับต่างประเทศอีกต่างหาก สามารถเที่ยวได้ตลอดทั้งปี ซึ่งหากใครไปในช่วงนี้อุณหภูมิข้างบนจะมีอากาศเย็นสบายอยู่ที่ประมาณ 14-15 องศา
1
จริงๆ แล้วอุทยานแห่งชาติโยเซมิตี (Yosemite National Park) ในสหรัฐอเมริกา มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขา และเป็นที่ตั้งของน้ำตกที่สูงที่สุดแห่งอเมริกาเหนือ โดยอุทยานแห่งนี้ยังโดดเด่นด้วยหุบเขาที่เกิดจากการถูกตัดผ่านด้วยธารน้ำแข็งในอดีต ทำให้เกิดเป็นทิวทัศน์เทือกเขาหินที่งดงาม มีหน้าผาสูงเรียงลายสลับกันไปมา ซึ่งมีบริบทใกล้เคียงกับอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ที่มีสภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนเรียงรายกันอยู่ตามเทือกเขาถนนธงชัย ลดหลั่นลงมาจนถึงพื้นราบ ประมาณ 40-50 ลูก เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ต้นกำเนิดของลำน้ำแม่วงก์
ด้านชาวเน็ตบางส่วน ไม่เห็นด้วยกับการเปรียบโมโกจูน้อยเป็น“โยเซมิตีเมืองไทย” และติงว่าชื่อไทยๆ นั้นไม่ดีตรงไหน สถานที่ท่องเที่ยวในบ้านเราควรมีชื่อเป็นเอกลักษณ์ของเมืองไทย ไม่ควรไปตั้งชื่อเลียนแบบต่างชาติ ขณะที่ชาวเน็ตบางคนก็ได้เข้ามาชื่นชมโมโกจูน้อยว่ามีบรรยากาศความสวยงามของดูคล้ายกับต่างประเทศ
ในภาพนี้บางท่านก็สงสัยในบางภาพว่า นี่ใช่จากสถานที่จริงหรือ เพราะสวยมาก รูปนี้คือที่แม่วงก์หรือ เหมือน ตปท เลย ที่มา >> https://www.facebook.com/prhotnews02/photos/pcb.2800389693439832/2800389523439849/
เมื่อปี 2525 มีแนวคิดในการดำเนินโครงการสร้างเขื่อนแม่วงก์ และได้มีการคัดค้านโครงการนี้ในเวลาต่อมา ซึ่งการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์เกิดผลดี/เสีย..?
🛑จะทำให้สูญเสียพื้นที่ป่าไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ไม่น้อยกว่า 13,000 ไร่ เป็นไม้ใหญ่ประมาณ 500,000 ต้น
1
🛑ซึ่งในจำนวนนี้มีไม้สักประมาณ 50,000 ต้น กล้าไม้อีก 10,000 ต้น หรือเปรียบ เทียบได้ว่าพื้นที่ป่า 1 ไร่
🛑จะถูกน้ำท่วมจะมีไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ 80 ต้นเป็น ไม้สัก 13 ต้น ลูกไม้ 576 ต้น และกล้าไม้อีก 1,880 ต้น
🛑ไทยจะสูญเสียพื้นที่ที่ สามารถดูดซับคาร์บอนได้ประมาณ 10,400 ตันคาร์บอน
🛑และอาจสูญเสียสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างน้อย 549 ชนิด รวมถึงปลาอาศัยอยู่ในลำน้ำ 64 ชนิด
🛑โพลระบุว่า คนใน จ. นครสวรรค์ มี 22.7% ต้องการเขื่อน 32.5% ต้องการเขื่อนถ้าไม่มีผลกระทบโดยรวม และ 34.2% ไม่ต้องการเขื่อน ในขณะที่ 10% ไม่แน่ใจ แสดงให้เห็นว่า คนในพื้นที่เองส่วนใหญ่แล้วก็ยังไม่ต้องการเขื่อนเลยหรือไม่ต้องการถ้าส่งกระทบต่อส่วนรวม ทั้งนี้ป่าไม้ มิได้เป็นสมบัติของคนในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง แต่เป็นสมบัติของคนทั้งชาติ ที่มีการใช้ “บริการทางอ้อม” จากป่าไม้ร่วมกัน เช่นใช้เป็นแหล่งผลิตออกซิเจน แหล่งกักเก็บน้ำ แหล่งอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้น การจะทำลายป่าไม้จึงต้องคำนึงถึง “คนนอกพื้นที่” ด้วยว่าเห็นด้วยหรือไม่
🛑และมีบางรายงานเผยว่า สร้างเขื่อนแม่วงก์นั้นคุ้มจริงๆ มูลค่าต้นไม้ที่ถูกตัดไปนั้นมีมูลค่าประมาณ 1,073 ล้านบาท ค่าสร้างเขื่อนเป็นเงินถึง 13,000 ล้านบาท มากกว่าตั้งมากมาย แสดงว่าเราเสียไปนิดเดียว ที่สำคัญก็คืออย่าคิดแต่ในแง่ที่เสียไป ต้องมองในแง่ที่ได้มาบ้างว่ามันคุ้มอย่างไรบ้าง
🛑ในที่สุด 3 ตุลาคม 2560 กรมชลประทาน ทำหนังสือถึงสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เพื่อขอถอนรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ (EHIA)โครงการเขื่อนแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ ออกจากการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ ด้านพัฒนาแหล่งน้ำ และได้ศึกษาทางเลือกการจัดการน้ำลุ่มน้ำสะแกกรัง เพื่อแก้ไขปัญหาแทน แต่ใช่ว่าโครงการนี้จะหายไปตลอดกาล
1
ฉลองปีใหม่ ปีนี้แวะไปเที่ยว "โมโกจูน้อย” เป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ ของ “อุทยานแห่งชาติแม่วงก์” กันครับ
cr: ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช https://www.facebook.com/prhotnews02/photos/pcb.2800389693439832/2800389523439849/

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา