20 ธ.ค. 2021 เวลา 10:09 • ประวัติศาสตร์
ฝรั่งมาจากฝรั่งหรือฝรั่งมาจากฝรั่ง
คำถามที่หลายคนสงสัยและเข้าใจผิดเกี่ยวกับคำว่า"ฝรั่ง"👱
คนไทยคุ้นเคยกับการเรียกชาวต่างชาติผิวขาวฝั่งตะวันตกว่า"ฝรั่ง"และคนส่วนมากก็มักจะเข้าใจต่อไปว่า คำว่า"ฝรั่ง"ที่เราใช้ในการเรียกแทนชาวต่างชาติผิวขาวเหล่านี้ มีรากศัพท์มาจากคำว่า French ที่แปลว่าคนฝรั่งเศสหรือไม่ก็น่าจะมาจากคำว่า Foreigner ที่แปลว่าชาวต่างชาติ
เพราะทั้งสองคำนี้มีการออกเสียงใกล้เคียงพอเพียงที่จะเข้าใจได้ว่า สุดท้ายมันต้องได้กลายมาเป็นคำว่า"ฝรั่ง"แน่ ๆ
แต่ผมอยากจะบอกคุณผู้อ่านว่า นั่นเป็นความเข้าใจที่คลาดแคล้ว
เฮ้ย‼️ ไม่ใช่ เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
3
รากศัพท์ของคำว่าฝรั่งไม่ได้มาทั้งจากคำว่า French หรือคำว่า Foreigner
แล้วคำว่าฝรั่งมาจากไหน?
เกี่ยวข้องอะไรไหมกับผลไม้ที่มีชื่อว่าฝรั่ง?
วันนี้พี่จะเหลาให้ควังช้า ๆ นะครับเชิญนั่งลงก่อน....😌
ต้นกำเนิดคำว่าฝรั่งต้องย้อนไปในราวศตวรรษที่ 5 ตอนปลาย ช่วงที่อาณาจักรโรมันฝั่งตะวันตกกำลังล่มสลาย ก่อให้เกิดอาณาจักรใหม่ขึ้นมาของชนชาติที่มีชื่อว่า Germanic ซึ่งคนเหล่านี้จะเรียกขานตัวเองว่าชาว Frank (แฟรงค์)
ภาษาที่ชาว Germanic ใช้ ถือเป็นรากฐานของการกำเนิดภาษาอีกสามภาษาในเวลาต่อมาก็คือภาษาอังกฤษ ภาษาดัตช์และภาษาเยอรมัน
ช่วงเวลานับจากศตวรรษที่ 5 ไปจนถึงศตวรรษที่ 8 ชาว Frankได้แผ่อิทธิพลไปทั่วแผ่นดินยุโรปจนชนชาติต่าง ๆ ให้การยอมรับ
ในยุคสมัยนั้น เอกลักษณ์อย่างหนึ่งที่บ่งบอกความเป็นชนชาวแฟรงค์ได้ดีก็คือความเป็นคนที่มีผิวขาวมากกว่าชนชาติอื่น
เหตุการณ์ผ่านมาจนเกิดสงครามที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ขึ้นในศตวรรษที่ 11 นั่นก็คือสงครามครูเสด
สงครามศาสนาระหว่างชาวคริสต์และชาวมุสลิมที่กินเวลายาวนานนับร้อยปีจนถึงศตวรรษที่ 13 นี่เองที่ทำให้ชาวมุสลิมในอาหรับได้รู้จักชาว Frank และพวกเขาเรียกขานชาวคริสต์ผิวขาวเผือกเหล่านี้ว่า Frank ji ในภาษาอาหรับ
หลังสิ้นสุดสงครามครูเสด เมื่อใดที่ชาวอาหรับเดินทางไปค้าขายแล้วพบเจอคนต่างชาติผิวขาว พวกเขาจะเรียกคนเหล่านั้นว่า Frank ji เสมอ
คำว่า Frank ji ถูกถ่ายทอดผ่านการเดินทางทำมาค้าขายของชาวมุสลิมไปทั่วโลก จนคำว่าแฟรงจิถูกแปลงเป็นภาษาท้องถิ่นอีกหลายภาษา เช่น ในภาษาเปอร์เซียจะเรียกว่า Farang ส่วนในภาษาฮินดีจะเรียกว่า Firangji และในภาษามลายูจะเรียกว่า Perantjis
ส่วนสาเหตุที่คำว่า Frank ji ถูกเรียกในภาษาไทยว่า ฝรั่ง ก็ด้วยในอดีตเมื่อสยามทำการค้าขายกับชาวต่างชาติ คนที่จะสื่อสารกับคนทั้งสองชาติได้ต้องเป็นคนที่ผ่านการเรียนรู้มาทั้งสองภาษาแล้วเท่านั้น ซึ่งในอดีตก็มีเพียงชาวเปอร์เซียที่เดินทางไปค้าขายมาทั่วโลกที่พูดได้
ด้วยเหตุที่สยามต้องใช้ชาวเปอร์เซียเป็นล่ามแปลการสื่อสารกับชาวต่างชาติตะวันตกนี่เอง ทำให้คนไทยต้องเรียกขานชาวตะวันตกเหล่านี้ตามชื่อที่ชาวเปอร์เซียเรียก
จากคำว่า Farangหรือฟาแรง สุดท้ายคนสยามหรือคนไทยก็เลยเรียกคนต่างชาติผิวขาวเป็นสำเนียงแบบไทย ๆ เราได้ว่า"ฝรั่ง"นั่นเอง
ส่วนความเกี่ยวข้องของฝรั่งคนกับฝรั่งผลไม้นั้น เรื่องนี้ก็ต้องบอกว่า คนไทยหรือคนสยามรู้จักฝรั่งคนก่อนฝรั่งผลไม้
1
เมื่อเรารู้จักฝรั่งคนก่อน หลังจากนั้นอะไรก็ตามที่ได้มาจากชาวตะวันตก แล้วยังไม่มีชื่อไทย คนไทยก็จะเรียกชื่อด้วยการมีคำว่าฝรั่งใส่ลงไปเสมอ เช่น ยางเหนียว ที่เคี้ยวเล่นคล้าย ๆ หมากบ้านเรา ก็เรียกว่า"หมากฝรั่ง" หัวมันเหลือง ๆ ที่คล้ายมันบ้านเราก็เรียกว่า"มันฝรั่ง" ส่วนผลไม้เขียว ๆ ที่มีต้นกำเนิดมาจากโปรตุเกสก็เลยถูกเรียกสั้น ๆ ว่า"ลูกฝรั่ง"...ไงล่ะครับ
2
ติดตามอ่านบทความได้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา