21 ธ.ค. 2021 เวลา 06:52 • ไลฟ์สไตล์
⭐ แสวงบุญที่เมกกะ พิธีฮัจญ์ คืออะไร
ตามภาพข่าวทุกปี เราจะเห็นข่าวชาวมุสลิมไปประกอบพิธีฮัจญ์ที่นครเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย และในปี 2563 เป็นครั้งแรกที่ห้ามและจำกัดจำนวนผู้แสวงบุญนอกประเทศมาทำพิธี แต่ในปี 2564 นี้ก็เปิดรับผู้แสวงบุญที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว
แม้ว่าจะมีการคัดกรองเป็นอย่างดี แต่ประเทศไทยเองก็มีข่าวว่าผู้แสวงบุญติดเชื้อโอมิครอน ไทม์ไลน์การเดินทางคร่าวๆ คือเดินทางวันที่ 1 - 15 ธันวาคม และผู้ร่วมทริปมีอาการตัวร้อน และผู้ประกอบการตัดสินใจพาคณะผู้แสวงบุญเดินทางกลับมารักษาตัวในประเทศไทย
⭐ พิธีฮัจญ์ คืออะไร
พิธีฮัจญ์คือ 1 ใน 5 หลักปฏิบัติทางศาสนกิจของชาวมุสลิม คือการเดินทางไปยังพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์เพื่อประกอบพิธีกรรมตามหลักผู้นำศาสนาในอดีต ด้วยการเดินเท้าเข้าไปยังศาสนสถาน
ผู้แสวงบุญจะพักอยู่ที่ทุ่งมีนาเป็นเวลาสามวันเพื่อขอพรและบำเพ็ญตนตามพิธีฮัจญ์ หลังจากนั้นก็จะเดินทางเข้ากรุงมักกะหฺ เพื่อฏอวาฟเวียนรอบ กะอฺบะฮฺ เปรียบดั่งศูนย์รวมของศาสนา
กะอฺบะหฺ
กะอฺบะหฺ ตามภาษาอาหรับแปลว่าลูกบาศก์ ตามความเชื่อมีบันทึกว่าสร้างด้วยมนุษย์คนแรกคือนบีอาดัมเพื่อใช้เป็นสถานที่สักการะอัลลอฮ์ ในการประกอบพิธีอุมเราะฮ์และฮัจญ์ อีกตำนานหนึ่งกล่าวว่าสร้างโดยบีอิบรอฮีมและอิสมาอีล ตามคำบัญชาของอัลลอฮ์ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นสถานที่ในการเคารพสักการะพระองค์
จากนั้นผู้เลื่อมใสทั่วโลกก็เดินทางมาที่นี่
กะอฺบะหในปัจจุบันนี้ เป็นอาคารที่ถูกสร้างขึ้นด้วยหินธรรมชาติ ตัวอาคารเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมมีความกว้างยาวด้านละประมาณ 40 ฟุต และสูงประมาณ 50 ฟุต ผนังทั้งสี่ไม่มีหน้าต่าง มีแต่เพียงประตูด้านเดียว ข้างในว่างเปล่า ตรงมุมด้านหนึ่งของตัวอาคารเป็นที่ตั้งของ หินดำ (อัลฮะญัร อัลอัสวัด) ซึ่งในอดีตเป็นพลอยสีดำเม็ดใหญ่ แต่ต่อมาที่ได้แตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แต่ก็ยังตั้งอยู่ที่มุมข้างประตู ปกปิดด้วยแก้วและครอบทับด้วยเงิน ประตูของกะอ์บะฮ์ที่เปลี่ยนเมื่อเวลา 20 ปีมานี้ ทำด้วยทองคำบริสุทธิ์
และในกะอฺบะห มีหินดำ ประกอบอยู่ บางคนมีความเชื่อการปฏิบัติเกี่ยวกับหินดำนี้ ว่าต้องสัมผัสหรือจูบขณะที่เดินวนรอบกะอฺบะห
หินดำ https://islamhouse.muslimthaipost.com/article/18948
การระบาดของโควิด-19 นี้บอกไม่ได้ว่าโอมิครอนจะสร้างความรุนแรงขึ้นหรือลดลง ทำให้ทุกฝ่ายต้องติดตามต่อว่า การทำพิธีฮัจญ์ที่นครเมกกะจะถูกจำกัดจำนวนผู้แสวงบุญอีกหรือมีมาตรการใดๆ ป้องกันเพิ่มเติมอีกหรือไม่
โฆษณา