23 ธ.ค. 2021 เวลา 00:58 • การตลาด
เห็นเขามีดราม่า #กล่องสุ่ม ของพิมรี่พายกัน แล้วมีคนผิดหวัง จึงอยากชวนคุยประเด็นต่างๆ ดังนี้ครับ
1) ของที่เขาจะสุ่มมันเป็นเรื่องของดวงเหมือนกันนะ ไม่มีใครบอกได้หรอกว่าจะได้ของดีไหม แต่แน่นอนว่าความยากของแม่ค้าในการขายสิ่งนี้คือ "ต้องทำให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มในการจ่าย" เพราะต่อให้สุ่มแล้วไม่ได้ของชิ้นใหญ่ ก็ควรต้องสมน้ำสมเนื้อ รู้สึกไม่ผิดหวัง
2) เราเชื่อว่าคนที่ failed เขาไม่ได้ผิดหวังเพราะไม่ได้รถ ทอง หรือโทรศัพท์มือถือ หรือของแพงๆ แต่ความผิดหวังจริงๆคือ "เขารู้สึกว่า กูไม่ได้ของที่มีราคาสมกับเงินที่จ่ายไป" เช่น จ่าย 10,000 = ของข้างในต้องมูลค่ารู้สึกใกล้ 10,000 เป็นของดีพอที่จะอยู่ใน range ราคานั้นได้ มันเป็นเรื่อง performance เมื่อเทียบกับ expectation ดังนั้น มันไม่ใช่เรื่องว่าไม่ได้ของดีแบบชาวบ้านเลยบ่น
3) ในมุมการตลาด การค้าขายจริงๆ การขายแบบนี้คือขายดวง เหมือนซื้อ lottery ไม่รู้จะถูกหวยไหม? แม่ค้าจะใส่อะไรมาให้ ต้องมาลุ้น แต่จริงๆแล้ว ถ้าคุณอยากได้ของที่มั่นใจ คุณไม่ควรเล่นเสี่ยงดวงเลย แต่เอาเงินของคุณไปซื้อของให้ได้มูลค่าที่ตรงปก รู้ว่าตัวเองจะได้อะไรไปเลย นั้นดีที่สุดนะ เพราะการลุ้น แล้วผิดหวังมีโอกาสสูงมาก กับของที่สุ่ม เพราะไม่งั้น ถ้าทุกคนสมหวัง ย้อนไปมองกลับกันแบบ lotto ทุกคนในประเทศเราคงถูกหวยสมใจกันหมดแล้ว ไม่มีใครโดนหวยแดกแน่นอน
4) ใครจะเอาของดี 100% มาใช้สุ่ม เราไม่เชื่อแบบนั้น เราว่ามันต้องคละๆกัน เอาของดีบ้าง ห่วยบ้าง มูลค่าต่ำบ้าง ใกล้หมดอายุบ้าง ของที่จะโละบ้าง เอาทุกอย่างมาปนๆกัน แล้วที่เลือกขายแบบสุ่ม ก็เพราะมันขายง่ายกว่าขายตัวมันเองแบบเพียวๆ ของที่ไม่ได้มีใครอยากจะเอา หรือจะรับไว้ วิธีการแบบนี้ ขายง่ายสุดแล้ว ขายออกไปไวสุด เพราะไปเป็น Package ที่คนขายได้ประโยชน์เต็มๆในการล้าง stock
5) ไม่มีการทำธุรกิจใดที่ทำแล้วไม่หวังกำไรในมุมนักธุรกิจ แค่มุมมองการทำกำไรของเขาเป็นอะไร เป็นตัวเงิน ชื่อเสียง กระแสสังคม การติดตลาด เขาทำเพื่อประโยชน์ของเขาเป็นหลัก ผลพลอยได้คือตอบโจทย์ลูกค้าพึงพอใจจะจ่าย #กล่องสุ่ม ไม่ขาดทุน ฉลาดเล่น เล่นกับความเสี่ยงของคน แม่ค้าได้ทุกอย่างไปแล้ว เราไม่เชื่อหรอกว่านักธุรกิจที่ฉลาด จะคิด campaign หรือสร้างสินค้าที่ทำให้ตัวเองขาดทุน ไม่มีวันเลย
6) บางทีก็ไม่มีใครรู้ว่า ของดี หรือของไม่ดีจะตกในมือใคร จะ set จัดฉากหรือเกิดขึ้นจริง ไม่มีใครรู้ได้หรอก แต่รู้แน่ๆแล้วว่าถ้าเสียเงินก็คือต้องมีคนเสี่ยง เมื่อจ่ายเงินเป็นเหยื่อทางการตลาดแล้ว ยอมรับเงื่อนไขของแม่ค้าแล้วว่า เขาจะใส่อะไรมาในกล่องแบบสุ่มมาก็ได้ ต่อให้ของห่วยแตก ไม่พอใจ ก็ต้องจำใจยอมรับ เพราะเลือกที่จะโอนเงินในบัญชีเราไปให้แม่ค้าเอง โดยไม่มีใครบังคับคุณ คุณตกเป็นผู้เล่นในเกมการตลาด ของกล่องสุ่มเรียบร้อย ทำหน้าที่แค่รอลุ้น เหมือนซื้อหวย ของห่วยๆ เยอะกว่าของดีๆ (เหมือนเลขเด็ดที่มีอยู่น้อย รอโชคเข้าข้างเรา)
7) ที่มีคนวิจารณ์ว่าเข้าข่ายการพนันก่อนหน้านี้ คงเพราะมันดูเหมือนการชิงโชค สุ่มลุ้น แบบซื้อสลาก แต่ทั้งนี้ ถ้าผู้ซื้อเต็มใจ ส่วนผู้ขายจริงใจที่จะให้ของที่คุ้มค่า คุณภาพสมราคา ก็คงสมเหตุสมผลจะลุ้น แต่ถ้าไม่ ก็แน่นอนว่า ดราม่าจะตามมา
8 ) ไม่น่าเชื่อว่า แม่ค้าออนไลน์ 1 คนจะสร้างกระแสเก่งเบอร์นี้ มีดราม่าทุกวันเลยเว้ยเฮ้ยยยย กล่องสุ่มอยู่ในกระแสไปอีกแล้ว ประเด็นของคุณพิมรี่พายขึ้น trend twitter ทุกวันเลย ถ้ามองตรงนี้ ก็นับว่า จับกระแสทั้งผิดหวัง-สมหวังให้คนพูดถึงเป็นประเด็นได้ตลอด ไม่ว่าจะทางลบทางบวก ได้พื้นที่สื่อไปแล้วฟรีๆ Free PR ในแบบที่คุม message ไม่ได้ แต่ก็ยังมีคนออกโรงมาปกป้องว่ากล่องสุ่มนั้นดีงาม การมีคนรักล้นหลามมันดีอย่างนี้นี่เอง ยอมรับเลยว่า พิมรี่พาย เป็นนักธุรกิจที่โคตรเก่งแห่งยุค ขายเก่ง กลยุทธ์แพรวพราว หามุม PR ตัวเองใหม่ๆได้ตลอด อยู่ในกระแสตลอด ฉลาดในการสร้างแบรนด์ สร้างตัวตน
9) ส่วนตัวคิดว่า ลูกค้าที่จ่ายเงิน มีสิทธิ์บ่นได้ (customer complaints) ก็ได้ของไม่ตรงใจ ก็บ่นได้สิ ใครจะอยากจ่ายเงินหมื่นเงินแสน ซื้อของที่ตัวเองไม่มีวันใช้ / ได้ของที่ไม่สมมูลค่าเงินที่จ่าย ที่เขาบ่นกัน ไม่ใช่ว่าเขาไม่ได้ของแพงๆแบบที่เป็นข่าวดัง แต่เขาผิดหวังที่ของที่ได้ คุณค่าน้อย ไม่สมราคา
==============
เราขอสรุปประเด็นประมาณนี้ว่า ...
- มีคนมองว่า คนที่ออกมาบ่น = โจมตี #พิมรี่พาย / อิจฉาคนได้ของดีๆ แต่ในความจริง ใครบ้างซื้อของแล้วไม่คาดหวังกับสินค้า จ่ายเงินหมื่น ของก็ต้องรู้สึกว่าหมื่น (ดังนั้น อย่าซื้อของที่ไม่รู้ว่าของข้างในเป็นอะไร แต่เอาเงินหมื่นไปซื้อของที่ตรงใจเราเลยจะดีกว่า ไม่ต้องเสียความรู้สึกด้วย)
- ของต้องตอบโจทย์การใช้งานของคนซื้อ ถ้าเจอของที่ซื้อมาแล้วใช้ไม่ได้ ไม่ได้ใช้ หรือไม่กล้าใช้ เช่นเครื่องสำอางใกล้หมดอายุ หรือแบรนด์ที่ไม่ไว้ใจ ก็เท่ากับเสียเงินเปล่าๆ
- ใครจะอ้างว่า "หยิบอะไรก็ได้ ตามที่เขาบอกในไลฟ์" ไม่ถูกต้องเสียทีเดียว ที่ถูกต้องคือ ต่อให้หยิบอะไรก็ได้ ยังต้องอยู่บนมุมมองที่ว่า ของทั้งหมดต้องมีมูลค่าเทียบเท่าเงินที่จ่ายไปอย่างคุ้มค่า สมราคา (ในความรู้สึกของลูกค้า และราคาของจริง) ไม่ว่าจะตรงใจหรือไม่ มันจะไม่มีคำว่าของดี-ของห่วย เพราะของจะดีมีคุณภาพสูงทั้งหมด ขึ้นอยู่กับจะอยากได้หรือไม่อยากได้มัน ชอบหรือไม่ชอบ ค่อยว่ากัน
- ของที่ได้ ต่อให้สุ่ม หรือลุ้น ต้องตอบโจทย์ทั้งเชิง function + emotion จึงจะรอดในมุมคนซื้อคือ ของใช้งานจริงได้ + ต่อให้ชอบหรือไม่ชอบ ก็ต้องรู้สึกว่าฉันคุ้มจ่ายเสมอ
นั่นหมายความว่าจะซื้ออะไรก็ตาม ในมุมมองลูกค้าที่นักการตลาดควรใส่ใจคือ
Customer Cost = Perceived Values
"...ฉันจ่ายไปเท่าไหร่ก็ตาม คุณค่าที่ฉันได้รับในฐานะลูกค้า ต้องสมราคา ถ้าได้ของที่เราไม่มีวันซื้อ แต่จ่ายเงินหมื่น = failed"
#ThinkTalkLoud
#ตุ๊ดส์review
====
ในมุมที่เราเขียน เราคิดว่า คุณพิม ซาซ่า ในฐานะลูกค้ามีสิทธิ์บ่น และผิดหวังนะ ก็เงินเขาจ่าย เปิดกล่องมา มันก็อยาก wow ไง ไม่มีใครอยากเปิดกล่องที่เสียเงินหมื่น แล้วผิดหวัง เราคิดว่าคุณพิมรู้สึก และคาดหวัง หรือบ่นได้ เป็นเรื่องปกติลูกค้าจ่ายเงินซื้อของเลยนะ
การซื้อของแล้วมีใครไปบอกลูกค้าห้ามบ่น ห้ามผิดหวังดิ ก็ซื้อของสุ่มก็แบบนี้ คุณต้องลองจ่ายเงินหมื่นแบบเขาก่อน แล้วจะเก็ทตอนนั้นแหละฮะ
โฆษณา