23 ธ.ค. 2021 เวลา 04:38 • สุขภาพ
โรคยอดฮิต ออฟฟิศซินโดม
ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร?
ออฟฟิศซินโดรม คือ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) รวมถึงอาการปวดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อและเอ็น (Tendinitis) อาการปวด ชา จากปลายประสาทที่ถูกกดทับ ซึ่งอาการเหล่านี้มักพบได้บ่อยในผู้ที่นั่งทำงานในออฟฟิศ
อาการออฟฟิศซินโดรม กับพนักงานออฟฟิศนั้นเป็นของคู่กัน แม้ไม่ได้ทำงานที่ต้องออกแรงยกของหนัก แต่อาการปวดกล้ามเนื้อก็เกิดขึ้นได้จากพฤติกรรมการนั่งทำงานและสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม
ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คือ โรคที่เกิดจากพฤติกรรม ลักษณะการนั่งทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น นั่งอยู่หน้าคอมในท่าเดิมเป็นเวลานาน ขาดการเคลื่อนไหว เปลี่ยนอิริยาบถ ไม่ขยับไปไหน จึงส่งผลให้กล้ามเนื้อหดเกร็ง ค้างในท่าเดิม กล้ามเนื้อบางส่วนถูกยืดค้าง ทำให้เกิดการปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และทำให้เกิดอาการออฟฟิศซินโดรมได้
สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดออฟฟิศซินโดม
  • 1.
    ท่าทางการทำงาน (Poster) เช่น ลักษณะท่านั่งทำงาน การวางมือ ศอก บนโต๊ะทำงานที่ไม่ถูกต้อง นั่งหลังค่อม หลังงอ นั่งบนเก้าอี้ที่ไม่มีพนักพิง หรือนั่งไม่เต็มก้น นั่งกอดอก นั่งไขว่ห้าง นั่งอยู่ในท่าเดิมนานๆ ไม่ขยับไปไหน
  • 2.
    การบาดเจ็บจากงานซ้ำ ๆ (Cumulative Trauma Disorders) หรือระยะเวลาในการทำงานที่มากเกินไป ทำให้ร่างกายเกิดการล้า เช่น การใช้ข้อมือซ้ำ ๆ ในการใช้เมาส์ อาจทำให้เกิดการอักเสบของเอ็นบริเวณข้อมือ หรือพังผืดเส้นประสาทบริเวณข้อมือได้
  • 3.
    สิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น ลักษณะโต๊ะทำงาน หน้าจอคอมพิวเตอร์ แสงสว่างในห้องทำงาน ตำแหน่งหน้าจอคอมพิวเตอร์สูงหรือต่ำจนเกินไป เก้าอี้ที่นั่งไม่มีพนักพิง
อาการของออฟฟิศซินโดรม
  • 1.
    ปวดกล้ามเนื้อบริเวณใดบริเวณหนึ่งของร่างกาย เช่น ไหล่ สะบัก คอ บ่า ท้ายทอย ปวดหลังส่วนบนหรือส่วนล่าง มักจะมีอาการปวดเป็นบริเวณกว้าง ปวดร้าวไปบริเวณอื่นใกล้เคียง มีลักษณะการปวดแบบล้าๆ ไม่สามารถระบุอาการหรือตำแหน่งที่ชัดเจนได้ โดยจะมีอาการปวดตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรงและทรมานอย่างมาก
  • 2.
    มีอาการของระบบประสาทร่วมด้วย เช่น ชา ปวดร้าว หรืออาจมีอาการหูอื้อ มึนงง ตาพร่ามัว ปวดไมเกรน หรือปวดศีรษะอย่างรุนแรง
  • 3.
    อาการทางระบบประสาทที่ถูกกดทับ เช่น ชาบริเวณมือและแขน และหากมีการกดทับเส้นประสาทนานเกินไปอาจมีอาการอ่อนแรงร่วมด้วย
  • 4.
    อาการทางตา เช่น ปวดตา เมื่อยล้าตา มีอาการแสบตา ระคายเคือง ตราพร่ามัว สู้แสงไม่ได้ น้ำตาไหล
  • 5.
    อาการทางผิวหนัง เช่น คันตามลำตัว เป็นผดผื่น แพ้ ผิวหนังแดง
  • 6.
    อาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น คัดจมูก ไอ จาม คล้ายเป็นภูมิแพ้ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก แสบคอ คอแห้ง
การรักษาอาการออฟฟิศซินโดรม
  • 1.
    รับประทานยา เพื่อช่วยบรรเทาอาการ เช่น ยาแก้อักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น หากอาการไม่ดีขึ้นแนะนำให้พบแพทย์เพื่อทำกายภาพบำบัดในการรักษาต่อไป
  • 2.
    การทำกายภาพบำบัด เป็นการรักษาอาการออฟฟิศซินโดรมที่เกี่ยวข้องกับระบบกล้ามเนื้อและกระดูก และยังเป็นการประเมินโครงสร้างร่างกายและการปรับร่างกายให้เกิดความสมดุล รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงของโรคอื่น ๆ ที่อาจเกิดตามมาได้ในระยะยาว
  • 3.
    ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เริ่มจากการนั่งให้ถูกวิธีโดยการนั่งตัวตรง พยายามอย่าก้มคอ ปรับระดับเก้าอี้ให้พอดีกับโต๊ะ และควรพักสายตาหลังจากทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน เช่น การมองออกไปไกล ๆ เป็นต้น
อาการออฟฟิศซินโดรม แม้จะไม่ร้ายแรงแต่ต้องได้รับการรักษาเพราะหากปล่อยไว้นานอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ โดยสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนั่งทำงาน และปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการนั่งทำงานให้เหมาะสม และอย่าลืมออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพียงเท่านี้ก็บอกลาอาการออฟฟิศซินโดรมไปได้เลย
รักษาอาการปวดเมื่อยด้วย สมุนไพรคุณสัมฤทธิ์
โฆษณา