27 ธ.ค. 2021 เวลา 09:46 • ปรัชญา
นิทานเซนสอนใจ ตอนที่ 6
เรื่อง “ความหอมของดอกเหมย”
2
เครดิตภาพ: Pixabay by distelAPPArath
เช้าวันหนึ่งของฤดูหนาว เศรษฐีคนหนึ่งก็เหมือนกับที่เคยปฏิบัติทุกวัน ผ่านการนอนอันอบอุ่นมาทั้งคืน
เมื่อกินอาหารเช้าอันอุดมสมบูรณ์แล้ว ก็จะเดินเล่นอยู่ในสวนที่มีอาณาเขตกว้างขวาง
1
ก็เหมือนกับเศรษฐีทั่วๆไป ที่เช้าขึ้นมาก็เดินเล่นอยู่ในสวนดอกไม้ เพราะนั่นคือสิ่งที่แสดงถึงฐานะและลักษณะของเศรษฐี
ในสวนอันกว้างใหญ่นั้นเศรษฐีไม่เคยปลูกดอกไม้ด้วยตัวเอง พวกเขาได้แต่เสพสุขจากผลสำเร็จอันยากลำบากของคนสวน
ชมดอกไม้ก็เหมือนกับการตรวจงานในชีวิตประจำวัน
เศรษฐีเห็นดอกไม้ในสวนบานสะพรั่ง ก็ดีใจที่สามารถมีสวนอย่างนี้ได้
1
ขณะที่กำลังเดินชมเพลินอยู่นั้น ก็ได้ยินเสียงคนเคาะประตู เศรษฐีคนนั้นก็เปิดประตูสวนออกไป
เห็นขอทานใส่เสื้อผ้าขาดๆคนหนึ่ง ยืนตัวหนาวสั่นท่ามกลางลมหนาวด้านนอกขอทานนั้นพูดขึ้นว่า
“คุณท่าน ทำบุญทำทานให้กับคนยากด้วยเถิด ขออะไรกินสักหน่อยได้มั้ย?”
1
เศรษฐีนั้นบอกให้ขอทานรอสักเดี๋ยว แล้วก็เดินเข้าไปในครัว ยกอาหารอันร้อนกรุ่นมาชามหนึ่ง
ขณะที่เศรษฐีนั้นจะยกให้กิน ขอทานนั้นพูดขึ้นว่า
“คุณท่าน ดอกเหมยบ้านท่าน ช่างหอมกรุ่นเสียจริงๆ”
1
พูดจบแล้วก็ รับอาหารนั้น ขอบคุณแล้วเดินจากไป
เมื่อได้ยินคำพูดของขอทานนั้น เศรษฐีนั้นนิ่งอึ้งไปสักพัก แล้วคิดว่า
1
“ขอทานยังรู้จักชื่นชมดอกไม้หรือ?”
และสิ่งที่ยิ่งทำให้เศรษฐีประหลาดใจคือ
เขาปลูกดอกเหมยในสวนมาสิบกว่าปี แล้วก็เดินชมสวนอยู่ทุกวัน
ทำไมถึงไม่เคยได้กลิ่นของดอกเหมยเลย
ดังนั้น เขาจึงเดินไปใต้ต้นเหมย แล้วก็พยายามทำจิตให้สงบนิ่งและอ่อนโยน
จากนั้นก็ค่อยๆสูดดมกลิ่นของดอกเหมย แล้วเขาก็ได้กลิ่นหอมใสเย็นอ่อนๆ
นั่นเป็นครั้งแรกที่เขาได้กลิ่นของดอกเหมย เขาตื้นตันจนกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่
สรุปข้อคิดจากนิทานและถอดเป็นความคิดออกมาได้ว่า
...
1. ความรักไม่ใช่การครอบครอง แต่ความรักคือการได้ชื่นชม มองเห็นคุณค่าของสิ่งนั้น โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของ
5
...
เหมือนดั่งในนิทานเรื่องนี้ สิ่งของคือ ดอกเหมย เศรษฐีไม่เคยได้กลิ่นหอมเลยเพราะมีความคิดแต่ว่าเขาเป็นคนครอบครอง ไม่ได้รู้จักคุณค่า (นั่นคือกลิ่นหอม) ของสิ่งที่มีอยู่ เมื่อเทียบกับขอทานที่ผ่านเข้ามาเพียงชั่วครู่แต่รู้จักชื่นชม ย่อมได้เห็นคุณค่าของสิ่งนั้น (กลิ่นหอมของดอกเหมย)
2. ความรัก กับ ความชอบ ต้องแยกให้ออก มีประโยคหนึ่งที่ผู้เขียนคิดว่ามีความหมายลึกซึ้งกินใจ นั่นคือ
4
“หากคุณชอบดอกไม้ คุณจะเด็ดมัน แต่หากคุณรักดอกไม้ คุณจะรดน้ำให้มัน”
10
...
1
ถ้าแค่ชอบก็คืออยากเอามาไว้ครอบครองกับตัวเราคนเดียว (หรือจะเรียกหวง)
ถ้าแสดงความรักจริงๆ คือการอยากให้สิ่งนั้นเจริญงอกงาม เติบโต โดยมีเราเป็นผู้คอยดูแลเอาใจใส่ ความสุขเกิดจากตรงนี้มากกว่าการเป็นเจ้าเข้าเจ้าของ
1
3. ความคิดแบบ ตัวเรา หรือ ผู้อื่น เป็นจุดศูนย์กลาง
4
...
ถ้ามองตัวเราเองเป็นจุดศูนย์กลาง ให้ความรู้สึกของตัวเองเป็นเครื่องชี้นำ ย่อมเปรียบเหมือนเมื่ออยากได้ดอกไม้ เราก็เด็ดเลยมาไว้กับตัว ไม่มองกลับไปว่าดอกที่กิ่งนั้นจะหายตายไป ไม่มีเหลือให้ผู้อื่นได้เชยชม
...
แต่ถ้ามองผู้อื่นเป็นจุดศูนย์กลาง ย่อมเปรียบเหมือนเราชื่นชมดมดอกไม้ โดยไม่เด็ดมันออกมา ดูแลทะนุถนอมมัน จนเติบโต ออกดอกขึ้นมาเรื่อยๆ มีคุณค่าต่อผู้อื่นอีกมากมาย
2
เราสามารถนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตของเราได้หลายประการ อาทิเช่น
1
• การเลี้ยงดูลูกอย่างไรให้ถูกวิธี ให้ความรักพวกเขาโดยการสั่งสอนและแนะนำทางที่ถูกต้อง ไม่ใช่แสดงความเป็นเจ้าของโดยครอบงำสั่งให้ทำทุกเรื่อง
• ความรักของชายหญิง ต้องมอบให้กันในแบบที่เรียกว่ารักจริงๆ ไม่ใช่แค่ชอบเพียงเปลือกนอกอยากได้เป็นเจ้าของ แล้วสิ่งที่ได้ตามมานั่นก็คือ ความรักหรือชีวิตคู่ที่ยั่งยืน
• ด้านการทำธุรกิจ ผู้เขียนเชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินคำศัพท์ “Customer Centric” คือการให้ความสำคัญต่อลูกค้าเป็นจุดศูนย์กลาง เพื่อมุ่งเน้นสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้า นำมาปรับใช้ในการวางกลยุทธ์ของบริษัท
ตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการให้ตรงความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ไม่ใช่เอาตัวบริษัทเป็นหลัก อยากจะทำอย่างนี้ก็ทำแต่อาจจะขายไม่ได้หรือต้องใช้งบโฆษณาหรือให้ความรู้ตลาดเยอะมาก (เป็นการสร้างตลาดใหม่)
1
ต่อไปถึงช่องทางการจำหน่าย ต้องเข้าใจว่ากลุ่มลูกค้าเรามีพฤติกรรมหรือไลฟ์สไตล์อย่างไร จะได้วางสินค้าและบริการให้เข้าถึงง่ายและสะดวก
ผู้เขียนขอยกคำกล่าวของนักปราชญ์ชาวอินเดียที่เกี่ยวข้องกับนิทานเรื่องนี้ ตามด้านล่าง
เครดิตภาพ: Osho World
“If you love a flower, don’t pick it up.
Because if you pick it up it dies
and it ceases to be what you love.
So if you love a flower, let it be.
Love is not about possession.
Love is about appreciation.”
— Osho นักปราชญ์ชาวอินเดีย

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา