29 ธ.ค. 2021 เวลา 04:01 • การศึกษา
Answer :
ขออนุญาตตอบนะคะ
—->สัญญาจะซื้อจะขายนั้น กฎหมายไม่ได้กำหนดแบบเอาไว้ เพียงคู่สัญญาตกลงกันว่าจะไปทำการโอนกรรมสิทธิ์กันในอนาคต ก็คือตกลงกันแล้วว่าจะขายทรัพย์นี้ให้แน่นอน ไม่ขายให้คนอื่น ดังนั้น ในตอนนี้กรรมสิทธิ์จึงยังไม่โอน กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่จะซื้อขายกันจึงยังเป็นของผู้ขายอยู่
โดยผู้ซื้อได้วางเงินมัดจำไว้ส่วนหนึ่ง และสัญญาจะซื้อจะขายนี้เป็นการผูกมัดคู่สัญญาให้ปฏิบัติตามคำมั่นที่ให้ไว้
 
กรณีปัญหาอาจเกิดขึ้นมี 2 กรณี คือ
1. ผู้ขาย(เจ้าของที่ดิน) ไม่ไปโอนที่ดินให้กับผู้ซื้อ(ตามเวลาที่ตกลงไว้ในสัญญาจะซื้อขาย ผลคือ ผู้จะซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญา ฟ้องเรียกเงินมัดจำพร้อมดอกเบี้ยคืน หรืออีกทางก็คือ ผู้ซื้อฟ้องบังคับผู้ขายให้ไปโอนที่ดินให้(ตามสัญญาที่ตกลงกันไว้เดิม)
1.1 กรณีที่ผู้ขายไปโอนที่ดินให้คนอื่น (เพราะเขาซื้อในราคาที่สูงกว่า+เขาสุจริตไม่รู้) เช่นนั้น ผู้จะซื้อฟ้องได้แต่เพียงค่ามัดจำคืนพร้อมเบี้ยปรับตามสัญญาเท่านั้น *ผู้จะซื้อไม่สามารถไปยันสิทธิบุคคลภายนอกได้
2.ผู้ซื้อผิดสัญญา อาจเพราะผู้ซื้อชำระราคาไม่ครบ ผู้ขายก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบเงินมัดจำได้ หรือ ผู้ขายจะดำเนินการฟ้องร้องบังคับคดีให้ผู้ซื้อปฏิบัติตามสัญญาก็ได้
โฆษณา