2 ม.ค. 2022 เวลา 09:27 • ไลฟ์สไตล์
รู้พอเพียง แล้วจะเพียงพอ
3
"ไม่ใช่ผู้ที่แข็งแรง หรือฉลาดที่สุดหรอก ที่จะอยู่รอด แต่ผู้อยู่รอดคือผู้ที่ 'ปรับตัว' กับความเปลี่ยนแปลงได้ดีที่สุด" / ชาลส์ ดาร์วิน กล่าวไว้
1
ความพอเพียงถือเป็นส่วนสำคัญ ในการปรับตัว อยู่ให้ได้กับความเปลี่ยนแปลง ยิ่งในช่วงที่สถานะการณ์โรคโควิด-19 ระบาดหนักไปทั่วโลก และอยู่กับเราไปอีกยาวนาน นี่แหละคือ"ความเปลี่ยนแปลง" ที่เกิดขึ้น และเห็นภาพชัดที่สุดในช่วงชีวิตของมวลมนุษยชาติจนต้อง "ปรับตัว" นับจากนี้ไป
ปรับตัวอย่างไรดี....
cr:https://www.technologychaoban.com/news-slide/article_5196
พ่อหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ 4 ธันวาคม 2537
“...เราไม่เป็นประเทศร่ำรวย เรามีพอสมควร พออยู่ได้ แต่ไม่เป็นประเทศที่ก้าวหน้าอย่างมาก เราไม่อยากจะเป็นประเทศก้าวหน้าอย่างมาก เพราะถ้าเราเป็นประเทศก้าวหน้าอย่างมากก็จะมีแต่ถอยกลับ ประเทศเหล่านั้นที่เป็นประเทศอุตสาหกรรมก้าวหน้า จะมีแต่ถอยหลังและถอยหลังอย่างน่ากลัว แต่ถ้าเรามีการบริหารแบบเรียกว่าแบบคนจน แบบที่ไม่ติดกับตำรามากเกินไป ทำอย่างมีสามัคคีนี่แหละคือเมตตากัน จะอยู่ได้ตลอดไป...”
1
แนวคิดปรัชญาของพ่อหลวงรัชกาลที่ 9 ชี้ถึงแนวทางในการดำรงชีวิตของประชาชนทุกระดับ เพื่อให้ทุกคนใช้ชีวิตอยู่ในทางสายกลางและความพอเพียง มุมมองของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล ต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
โดยมี 3 ห่วง และ 2 เงื่อนไข "ความพอประมาณ"/"ความมีเหตุผล"/"ภูมิคุ้มกัน" และ "ความรู้” กับ “คุณธรรม”
-3 ห่วง-
1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีต่อความจำเป็น และเหมาะสมกับฐานะของตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม รวมทั้งวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิต การอุปโภคและบริโภคควรอยู่ในระดับที่พอประมาณ
✅ความพอประมาณ ก็ต้องควบคู่กับ "สมาธิ" โดยการฝึกฝนจิต จะก่อให้เกิดการตระหนักรู้ตนเอง และจิตสำนึกต่อการใช้ชีวิต
2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจ เกี่ยวกับระดับของความพอเพียง จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล พิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้น จากการกระทำนั้นๆ และความมีเหตุผลนั้นขึ้นอยู่กับการตัดสินใจ การปฏิบัติบนพื้นฐานของความรู้ รวมถึงประสบการณ์
✅ความมีเหตุผล ก็ต้องควบคู่กับ "ปัญญา" ที่ต้องรู้ถึงเหตุถึงผล รู้อย่างชัดเจน รู้ในสิ่งที่ควรทำ-ควรเว้น
3. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
1
✅ภูมิคุ้มกัน ก็ต้องควบคู่กับ "ศีล" ในข้อปฏิบัติตนขั้นพื้นฐานตามหลักคำสอนของทุกศาสนา เพื่อควบคุมความประพฤติทางกายและวาจาให้ตั้งอยู่ในความดีงามมีความปกติสุข นั่นแหละจะเกิดภูมิคุ้มกันปกป้องรักษาให้เรา "รู้พอเพียง บังเกิดความเพียงพอ"
-2 เงื่อนไข-
✅ในส่วนเงื่อนไข ที่ช่วยให้การตัดสินใจ และให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน ให้อยู่ในระดับที่พอเพียง นั่นก็คือ “ความรู้” คู่ “คุณธรรม”
ความรู้ ที่เกิดจากประสบการณ์ ในกระบวนการเรียนรู้ การปฏิบัติ โดยใช้ ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น ตรรกะ ฯลฯ
คุณธรรม ที่เป็นสภาพคุณงามความดี เป็นลักษณะหรือคุณสมบัติทางบวกที่ถือกันว่าดีงามทางศีลธรรม
✅ในที่สุดเราก็จะได้ 3 ห่วง และ 2 เงื่อนไข เพื่อก้าวไปสู่ความพอเพียง โดยปรับใช้ไปตามความเหมาะสม ความดีงามที่ออกจากตัวเราไปสู่ผู้อื่น จะสร้างสุข สันติไปในทุกสังคม นำพาประเทศชาติเจริญรุ่งเรือง
1
✅ศาสตร์พระราชาที่ทางยูเนสโก ก็ยังเชิดชูสู่พิมพ์เขียวพัฒนาโลก
ศาสตร์ที่พระองค์ท่าน ทรงชี้เป็นแนวทางและปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับ ให้ดำเนินทางสายกลาง
1
ข้าพระพุทธเจ้า ขอน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่เปรียบมิได้

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา