1 ม.ค. 2022 เวลา 14:27 • คริปโทเคอร์เรนซี
EP3 ไม่อยากเป็นเหยื่อ Scamer แชร์ลูกโซ่ยุคดิจิตอล รู้ก่อน รู้ทัน ระวัง ป้องกัน แบบมีสติ
เรียนรู้จากผู้ประสบเหตุให้เป็นประโยชน์ มองให้เป็นบทเรียน
นอกจากจะเป็นการเพิ่มความรอบคอบในการลงทุนให้กับตัวเองแล้ว ยังสามารถแบ่งปันข้อมูลให้คนที่เรารักและหวังดีเพื่อทราบทั่วกันค่ะ และไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ
หลายครั้ง หรือบางครั้งเราอาจขาดสติไปช่วงขณะ แบบที่เห็นเป็นข่าว ไม่ใช่ว่ารู้น้อย หรือว่าไม่มีการตรวจสอบข้อมูล
เพียงแต่มิจฉาชีพมักจะมาในหลากหลายรูปแบบ หรือบางครั้งมีการหลอกลวงต่อมาเป็นทอดๆ ทำผ่านคนใกล้ชิด คนสนิทที่เราไว้ใจ แม้แต่คนกลางเหล่านั้นก็อาจจะไม่รู้ตัวเช่นกันว่าถูกหลอกมา
ยิ่งมีผลตอบแทนล่อตาล่อใจ ใครๆ ก็อยากจะ…ออลอินทูเดอะมูน โหนกระแส
วันนี้รวบรวมกลโกง ที่เจอหลายกรณี แบบซ้ำๆ มาให้ระมัดระวังกันนะคะ
🤷‍♀️ ไม่ควรเชื่อว่าการลงทุนใดจะการันตีผลตอบแทนเป็น % ได้
การลงทุนไม่เหมือนการฝากเงิน เซียนพันล้าน หมื่นล้าน ก็ไม่สามารถคาดคะเนได้นะคะ ดังนั้นหากใครมาแจ้งท่านว่า นำเงินมาลงทุน ภายในกี่วัน แล้วได้ผลตอบแทน 10%, 20% เป็นต้น ให้ระวังสงสัยไว้ก่อนว่าเป็นกลลวง แบบที่เป็นข่าวมากมาย
ล่าสุดเป็นข่าวคนดังถูกหลอกก็มี วางเงินลงทุน ครั้งสองครั้งแรกได้ผลตอบแทนคืนมา 10% บ้าง 20% บ้าง ทำให้เหยื่อตายใจ เมื่อลงทุนเพิ่มแต่ไม่สามาถถอนเงินออกได้ บ้างก็ปิดหนีไปเลย
คล้ายกันกับโลกการลงทุนดิจิตอล ยิ่งไม่มีการกำกับดูแล ผู้ลงทุนรับความเสี่ยงเองอยู่แล้ว
ที่รู้จักกันและกรณีจริงที่ผ่านๆมาคือ rugpull ถ้าแปลบ้านๆแบบไทยคือเจ้ามือม้วนเสื่อล้มกระดานที่ท่านเล่นอยู่แบบดื้อๆ แล้วเชิดเงินนักลงทุนไปเอง ตามจับไม่ได้ เพราะไม่มีกฏหรือใครมาดูแล
🧐 ดังนั้นก่อนจะลงทุน เอาเงินมอบให้ใคร ให้ท่านตรวจสอบว่ายอมรับความเสี่ยงนั้นได้หรือไม่
ให้ลองคิดว่าหากเงินหาย ติดต่อไม่ได้จะทำเช่นไร
1
เช่น ลงเงินเพื่อซื้อ NFT บน Marketplace หากมีปัญหาการทำธุรกรรม จะติดต่ออย่างไร
อาจจะลองส่งเมลไป โทรไป เพื่อทดสอบว่ามีคนตอบกลับหรือไม่ หากใช้ระยะเวลาตอบ
หรือไม่มีการตอบกลับ ท่านยอมรับความเสี่ยง ความกังวล หรือการสูญเงินลงทุนได้หรือไม่
ทดลองซื้อขายด้วยปริมาณน้อยๆ แต่ทำให้ครบทั้งลงผลงาน ลงขาย หรือซื้อแล้วถอนเงินออกได้หรือไม่ สะดวกหรือไม่
มีเงื่อนไขซ่อน หรือบางเงื่อนไขที่ไม่ทราบหรือไม่ เป็นการทดสอบการใช้งานและความเข้าใจของตัวท่านเองด้วย
🥸 หากคนแปลกหน้า โดยเฉพาะต่างชาติแฝงตัวมาติดต่อท่านไม่ว่าจะด้วยการสร้างเรื่องในรูปแบบใด แต่ลงเอยด้วยการส่งไฟล์แนบหรือให้ท่านกดคลิ๊กลิงก์ “ห้ามคลิ๊กเด็ดขาด” ไม่ว่าจะเป็นลิ้งก์หรือเปิดเอกสารแนบใดๆ
เพราะมันอาจเป็นการฝังไวรัสหรือเข้าถึงข้อมูลบนเครื่องที่คุณมีสินทรัพย์ดิจิตอล เมื่อพลาดแล้วต้องรีบย้ายเงินหรือหรือสินทรัพย์ดิจิตอลออกจากบัญชีที่อยู่บนเครื่องที่ถูกแฮก โดยส่วนมากมักไม่ทันแล้วเพราะพวกมิจฉาชีพเหล่านี้จะรอดูดข้อมูลของคุณอยู่
ตัวอย่างมี ศิลปินเจ้าของ NFT หลายท่าน ได้รับการติดต่อซื้อขายงานเป็นการส่วนตัวผ่าน Twitter โดยโจรล่อลวงด้วยเรื่องราวต่างๆกัน แต่ความคล้ายกันคือหลอกให้เจ้าของคลิ๊กเปิดเอกสารแนบหรือลิ้งก์ที่มีไวรัสหรือการแฮกเครื่องเข้ามา เป็นต้น
***รู้หรือไม่ว่า***
หากต้องการตรวจสอบก่อนลงทุนว่าเจ้าของธุรกิจประเภทนั้นอยู่ในการกำกับดูแลของ กลต หรือไม่ สำหรับรายชื่อผู้ประกอบการที่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล สามารถตรวจสอบได้จากเพจของ กลต
(รายชื่อผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตจาก กลต ดูได้จากลิ้งก์ใน EP1 ค่ะ)
รู้หรือไม่ว่า Rug Pull หมายถึงอะไร มีกี่รูปแบบ
Rug Pull คือวลี ในความหมายทั่วไป หมายถึงการดึงพรมจากด้านล่างขณะที่คนยืนอยู่ทำให้คนนั้นล้มเสียหลักแบบไม่ทันตั้งตัว
เมื่อนำมาเปรียบใช้กับโลกดิจิตอลที่รู้จักกัน หมายถึง ผู้พัฒนามีการยกเลิกโปรเจคหรือ platform ของการออกเหรียญดิจิตอลนั้น หรือขายเหรียญออก หรือดึงเอา liquidity ออก ทำให้เหรียญที่คุณถืออยู่ไร้ค่าไปโดยปริยาย
เช่น Squid Game Crypto ที่เป็น Meme coin หลังซีรีย์ Squid เกมส์ใน NetFlix ได้รับความนิยม เพื่อวางแผนใช้เป็น Utility Token ในเกมส์บนเวบไซด์ แต่เพียงแค่เปิดขายได้ไม่ถึงสัปดาห์ก็ทำการ Rug Pull เป็นที่เรียบร้อยในเดือน พย 2564 (2021) ที่ผ่านมานี้เอง
1
วิธีตรวจสอบเบื้องต้นเพื่อป้องกัน
1. อ่าน White Paper หรือตรวจสอบเวบไซด์ของ Project /Platform เพื่อดูคร่าวๆ ว่ามี error อะไรหรือไม่ ตอนที่ทำการโปรโมท เข้าใจว่าน้อยคนที่จะเข้าไปอ่านแต่ให้ลองสังเกตหรือหาข้อมูลสักนิดว่าอย่างน้อยมีสิ่งเหล่านี้หรือไม่ เป็นข้อมูลอ้างอิงเพื่อทราบที่มาที่ไป
2. ตรวจสอบว่าผู้สร้างเป็นใคร เปิดเผยชื่อหรือไม่ สามารถอ้างอิงตามตัวได้หรือไม่
3. ตรวจสอบว่าซื้อได้ แล้วขายออกได้จริงหรือไม่ เช่น SQUID ซื้อได้แต่ขายไม่ได้ ณ ตอนนั้นก่อนจะมีการ Rug pull ไปเสียอีก
โฆษณา