Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
•
ติดตาม
2 ม.ค. 2022 เวลา 10:00 • ปรัชญา
“มัชฌิมาปฏิปทาคืออะไร”
คำถาม: ลูกขอเรียนถามหลวงพ่อว่าพิณ ๓ สาย ที่บอกไว้ลูกทราบแล้ว เพราะตอนอยู่บ้านนี่ลูกทำแบบสมัครเล่น ทั้งสติและสมาธิ พิณนั้น เส้นนั้นมันหย่อนเกินไปเจ้าค่ะ พอมาอยู่วัดหนึ่งคืนนี่จิตมันก็เพลินอยู่กับพุทโธ มันนอนไปแค่ชั่วโมงเดียวมันก็อยากจะลุกขึ้นมานั่งสมาธิมันก็เป็นของมันเอง ลูกว่าอาการมันคล้ายๆ กับตอนที่ลูกติดอยู่ในกระดูก ๓๐๐ ท่อน อยู่ ๓ วัน คำถามของลูกคือพิณเส้นกลางที่ดีดพอดี ไม่ตึงเกินไป ที่คำว่า “มัชฌิมาปฏิปทา” นี่คืออะไร เราจะสามารถนอนแค่วันละชั่วโมงสองชั่วโมง แต่เราก็ยังสบายของเราดีหรือว่าเช่นไร คำว่ามัชฌิมาปฏิปทาของแต่ละบุคคลเท่ากันไหม เราทราบได้อย่างไรว่าเราอยู่ทางสายกลางเจ้าคะ
พระอาจารย์: ก็หนึ่งไม่ทุกข์กับมันไง เราต้องทำแล้วไม่ทุกข์ แล้วก็ได้ผลจากการปฏิบัติ คือจิตสงบดี จิตไม่ฟุ้ง จิตนิ่งไง ดู ๒ ตัวนี้ มันไม่ได้อยู่เพราะว่ามากน้อย มันเป็นช่วงจังหวะของชีวิตเราด้วยของจิตใจเราด้วย บางช่วงจิตใจเราอ่อนก็ทำไม่ได้มากก็ทุกข์แล้ว ทำมากก็ทุกข์ได้ บางช่วงจิตเรามีกำลังมากก็ทำได้มากมันก็ไม่ทุกข์ งั้นมัชฌิมานี่มันจะขยับไปขยับมาเหมือนกับขับรถบนท้องถนนนี่ ต้องว่าไปตามกระแสของรถที่วิ่งอยู่ ขณะอยู่ใต้ทางด่วนมันก็วิ่งได้แค่นี้ แต่พอมันขึ้นทางด่วนมันก็มีกระแสอีกกระแสหนึ่งมันก็ไปของมันได้ งั้นหนักเบามันก็อยู่ที่กำลังของเราในขณะนั้น
คำถาม: ก็แสดงว่าอยู่กับปัจจุบันขณะ ใช่ไหมคะ
พระอาจารย์: เออ แล้วก็ต้องควบคุมจิตใจ เป้าหมายเพื่อควบคุมจิตเราได้หรือเปล่า ตอนนี้จิตใจเราว่างไหม ไม่คิดปรุงแต่ง ให้สงบ ไม่ให้ฟุ้งซ่าน
คำถาม: ลูกรู้สึกว่ามาปฏิบัติธรรมที่วัดแค่คืนเดียวก็เหมือนกับเข้าโรงเรียนกวดวิชาค่ะ ตอนอยู่บ้านมันเหมือนทำเล่นๆ ไปเรื่อยๆ
พระอาจารย์: ใช่
คำถาม: พออยู่วัดก็เหมือนเข้าโรงเรียนกวดวิชาก็เลยทำให้นึกถึงคำที่ได้ยินได้ฟังในคำเทศน์ของพระอาจารย์ และพระสายวัดป่าว่าให้กินน้อย นอนน้อย พูดน้อย อันนี้ก็คือเป็นหลักการที่ทำให้สร้างตารางปฏิบัติธรรมขึ้นมาหรือเป็นหลักการของทุกธุดงควัตรที่เราแกล้งกิเลสมัน ถ้ามันอยากก็ทรมานไม่ให้มันอยากอย่างนี้หรือเจ้าคะ ใช่ไหมเจ้าคะ
พระอาจารย์: ก็ต้องฝืนความอยากทุกรูปแบบ นอกจากความอยากทางธรรมเท่านั้น เพียงแต่ว่าความอยากทางธรรม ถ้ามันเกินเลยมันก็อาจจะขวางการปฏิบัติได้ ขวางผลที่จะเกิดได้ แต่เราจะรู้เองปฏิบัติไปแล้วมันจะรู้เองว่ามัชฌิมาเป็นอย่างไร ต้องให้มันเกินไปหน่อยก่อน ดีกว่าขาด พอรู้ว่าเกินไปก็ค่อยถอยกลับมาได้ แต่อย่าให้มันขาด ขาดแล้วขึ้นไปลำบาก
ธรรมะหน้ากุฏิ
วันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๔
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย