2 ม.ค. 2022 เวลา 05:01 • คริปโทเคอร์เรนซี
รวมซีรีย์ Blockchain กับ Crypto ง่าย ครบ จบ ที่นี่
🥑Ep1. รู้จักศัพท์และการทำงานพื้นฐาน
☝ Algorithm หมายถึง ชุดคำสั่งทางคอมพิวเตอร์ที่รันแบบอัตโนมัติ เพื่อสร้าง"ฉันทามติ"🚩ในเครือข่าย โดยที่ผู้ใช้ในเครือข่ายไม่จำเป็นต้องรู้จักหรือไว้ใจกัน พูดง่ายๆคือ จะได้ไม่มีใครโกงกันหรือหลอกกันได้ เพราะปราศจากตัวกลางและช่องว่างของการบิดเบือนข้อมูล นั่นเอง
4
แล้วอะไรคือฉันทามติ?
☝Consensus หรือ Consensus Protocal หมายถึง ฉันทามติ คือการที่ผู้ใช้ ยืนยันหรือยอมรับต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งร่วมกัน โดยปราศจากตัวกลาง คนกลาง หรือหน่วยงานกลางใดๆ ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลักของระบบ Blockchain ในการ🚩"กำจัดตัวกลาง"ออกไป
1
☝ Decentralization คือ ระบบที่ไร้🚩"ตัวกลางหรือศูนย์กลาง" โดยเป็นระบบที่ดำเนินการกันเอง ผ่านข้อกำหนดและเงื่อนไขและการตกลงยอมรับร่วมกัน
แล้วตัวกลางคืออะไร?
☝Centralization คือระบบเก่าที่มีตัวกลาง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ระบบการเงิน (ย้ำว่าแค่ตัวอย่าง!! โปรดอย่าหลงประเด็นว่า Blockchain สร้างมาเพื่อเรื่องเงินเสมอไป เพราะมันสามารถนำมาปรับใช้ได้กับทุกเรื่อง)
2
ย้อนมาที่ตัวอย่างของเรา "เปรียบเทียบ ระบบการเงินแบบเก่าและระบบการเงินบน Blockchain"
ตามมาดู Avocad กับบัญชีธนาคารของผมกันเลยครับ
🚩นี่คือระบบเก่า (Centralization)
เราเปิดบัญชีกับธนาคาร ธนาคารก็มีข้อมูลส่วนตัวของเรา เพื่อยืนยันตัวตน ตรวจสอบความถูกต้อง ตรวจสอบธุรกรรมโอน จ่าย ถอน ข้อมูลยอดเงินในบัญชี ข้อมูลเครดิต ข้อมูลบัตรและอื่นๆอีกมากมาย
"ธนาคาร" คือ หน่วยงานหนึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มคน และ Computer Server ที่คอยเป็นศูนย์กลางดำเนินการ ในทุกช่องทาง ทั้งออฟไลน์ ออนไลน์แบงค์กิ้ง โมบายแบงค์กิ้ง เพื่อให้เราสามารถทำธุรกรรมการเงินต่างๆได้นั่นเอง
2
เราไม่สามารถตรวจสอบได้เลยว่า ข้อมูลของเราจะถูกโจรกรรมกลางทาง หรือถูกใครเอาไปทำอะไร ที่เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินตอนไหน ซึ่งมีให้เห็นตามข่าวอยู่บ่อยๆ เกี่ยวกับ ข้อมูลบัญชีถูกแฮค เงินในบัญชีหาย การหลอกลวง ธุรกรรมปลอม และอื่นๆอีกมากมาย
3
เทคโนโลยี Blockchain จึงเข้ามาแก้ช่องโหว่ของปัญหานี้ โดยทุกคนจะต้องถือบัญชีของทุกคนในลักษณะเป็นBlockไขว้ข้อมูลกัน และบัญทึกไว้บน Blockchain ซึ่งลักษณะการไขว้กันของข้อมูล จะอิงตามหลักสมการคณิตศาสตร์ ทำให้ไม่สามารถเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือทำซ้ำของข้อมูลได้
2
🚩และนี่คือ ระบบใหม่ Decentralization
โดยการตัด"ตัวกลาง" เช่น ธนาคาร ออกไป ระบบทุกอย่าง จะถูกจัดการโดยคนทุกคน ที่อยู่ในระบบ ซึ่งทุกคนจะเห็นข้อมูลของกันและกันได้ เพื่อต้องยืนยันความถูกต้องของกันและกันเอง โดยจะไม่มีใครรู้จักกัน อธิบายง่ายๆก็คือ นาย ก. เห็นและบัญทึก ข้อมูลการทำธุรกรรมของนาย ข. ค. ง. จ. บลาๆๆไว้ แต่นาย ก. ไม่มีทางรู้เลยว่านาย ข. ค. ง. จ. บลาๆๆเหล่านั้น เป็นใคร อยู่ที่ไหน มีข้อมูลส่วนตัวยังไง เนื่องจากข้อมูลของแต่ละบัญชีและธุรกรรม จะถูกแปลงเป็นรหัสหรือโค้ด ด้วยกุญแจ 2 ดอก คือ Public key และ Private Key
2
🚩Public key คือ กุญแจสาธารณะ มีไว้ให้ทุกคนเห็นธุรกรรมของทุกคน เพื่อตรวจสอบความไม่ชอบมาพากล ระบบจึงโปร่งใส ไม่มีการโกงหรือปลอทกันได้ เนื่องจาก ถูกแต่ละ Block ถูกล็อคด้วยสมการคณิตศาตร์ ที่ Avocad จะมาขยายความให้เห็นภาพอีกทีในบทความต่อไปครับ ถ้าจะเปรียบ Public key หรือที่เรียกกันในวงการคริปโตว่า Adresse เป็นเหมือนเลขที่บัญชี ที่เราใช้ในการโอน จ่าย ถอน และทำธุรกรรมต่างๆในระบบนั่นเอง
ซึ่งก็เหมือนระบบเดิม ที่เราจะส่งเลขบัญชีให้ใครโอนเงินให้เราก็ได้นี่แหละครับ ในระบบเดิม นอกจากเราจะส่งเลขบัญชีให้กันได้แล้ว เรายังส่งคิวอาร์โค้ดให้กันได้ด้วยใช่มั้ยครับ เทคโนโลยีของ Blockchain เองก็สามารถแปลงโค้ดหรือเจ้ารหัสบัญชีนี้ แสดงในรูปแบบอื่นๆได้เหมือนกัน เช่น แปลงไปเป็น ภาพ สี คิวอาร์โค้ด และอื่นๆ ได้อีกนะ เพียงแต่โค้ดนี้ เมื่อถูกสร้างและฝังไปในข้อมูลหนึ่งข้อมูลใดแล้ว มันมีแค่โค้ดเดียว รหัสเดียว ไม่มีซ้ำ ส่วนภาพ สี คิวอาร์โค้ด ฯลฯ เป็นเพียง out put หรือการแสดงผลของรหัสนั่นเอง
1
จึงไม่น่าแปลก ที่เราจะสามารถนำเทคโนโลยี Blockchain ไปใช้ได้กับทุกเรื่องบนโลกนี้
ก่อนที่ผมจะไปไกล เราย้อนกลับมาที่ กุญแจดอกที่ 2 กันดีกว่า :)
🚩Private Key คือ กุญแจส่วนบุคคล
รหัสนี้ ใช้สำหรับยืนยันความเป็นเจ้าของ พูดง่ายๆคือ เป็นกุญแจที่ไว้รับเงิน หรือสินทรัพย์ หรือข้อมูล มาเป็นของเรานั่นเอง
☝คำถามต่อไปคือ ใครจะเป็นคนเขียนธุรกรรมลงบนระบบ ในเมื่อเราไม่มี ธนาคารหรือ ไม่มีตัวกลาง
***กดติดตาม Crypto Avocad ไว้ เพื่อรับอัฟเดททุกวัน
ส่วนคำตอบ อดใจรอ Ep.2
พรุ่งนี้พบกันครับ!
โฆษณา