2 ม.ค. 2022 เวลา 05:09 • ปรัชญา
กฎแห่งกรรม
เรื่องราวของกฏแห่งกรรม มันเป็นเรื่องราวที่คนโบราณเค้าใช้คำว่าดินฟ้าอากาศ (มหาธาตุ) ที่หมายถึงพระแม่พระธรณี พระแม่พระคงคา พระแม่พระเพลิง พระแม่พระพาย ที่เค้าเรียกกันทั่วไปว่า ธาตุสี่ คือ ดินน้ำลมไฟ เมื่อธาตุทั้งสี่จะประกอบขึ้นมาเป็นสังขารรูปที่มีชีวิต รูปมนุษย์ รูปสัตว์ต่างๆ แม่ทั้งสี่ก็จะประกอบขึ้นมา รวบรวมกรรมดีกรรมชั่ว ที่เคยกระทำไว้ในอดีตชาติที่แล้วมา (เค้าเรียกว่า อนุธาตุ น้อยๆที่ประกอบเป็นตัวตนของเรา)
1
อนุธาตุดินนำ้ลมไฟที่ก่อตัวขึ้นมา ก็จะดึงจิตที่มีกรรมสร้างกรรมด้วยธาตุทั้งสี่ ให้ไปเกิดกับบิดามารดาที่เคยคล้องกรรมอุปถัมภ์เกื้อกูลกันมาหรือเป็นเจ้ากรรมนายเวรกัน จิตที่มีบุญกุศลสะสมเคยสะสมไว้กับแม่ทั้งสี่ แม่ทั้งสี่ดินน้ำลมไฟก็ประกอบขึ้นมาให้เป็นมนุษย์ครบอาการสามสิบสอง ถ้ามีกรรมมากมาย นำพาจิตไปสู่อบายภูมิ จิตก็ถูกกรรมน้ำหนักของกรรมนั้นดูดจิตให้ไปอยู่กับสังขารสัตว์ต่างๆ ทั้งที่มองเห็นด้วยสายตาและมองไม่เห็นด้วยสายตา เช่นหมูหมาเป็ดไก่ หรือไม่ครบอาการสามสิบ บางคนจะได้เกิดเป็นมนุษย์เหมือนกัน แต่ว่ามีกรรมมามาก ก็เกิดมาได้กายที่ไม่ครบอาการสามสิบสอง
1
เมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์ ดวงหนึ่งที่มาอาศัยอยู่ในกายเป็นสังขารที่ก่อตัวขึ้นมาด้วยอากาศธาตุ วิญญาณธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ อายตนะสิบสอง พร้อมด้วยจิตรวมกันเป็นสังขาร
อากาศธาตุ วิญญาณธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ รวมตัวกันด้วยอายตนะที่ก่อตัวรวบรวมกรรมประกอบขึ้นมาจากกรรมที่ทำไว้ จิตนั้นเป็นสังขตที่พัวพันกับธาตุสี่อายตนะและอารมณ์ จิตเราจึงหลงวนเวียนกับโลกที่เกิดขึ้นในตน ยึดถือในสิ่งที่เกิดในตนทั้งอุปทาน อารมณ์ วิบากที่เกิดในตนในลักษณะอัตตา เป็นกิเลสที่ร้อยรัดสรรพสัตว์ไว้ด้วยนิสัยสันดานสัญชาติญาณให้จมอยู่ในเวรกรรม โดยมิมีสติตื่นขึ้นมาดูกลั่นกรองหาเหตุหาผลให้รู้แจ้งสิ่งที่เกิดในตนเป็นลักษณะของอารมณ์ที่เป็นศัตรูเข้ามาทำร้ายจิตของตน อารมณ์เหล่านี้ไม่มีตัวตน
1
เรื่องราวของสิ่งที่เกิดขึ้นในกายนี้ มันเป็นเรื่องราวของอารมณ์มายา ที่เกิดขึ้น เค้าเรียกว่าอารมณ์กรรม อารมณ์ชักนำให้มีพฤติกรรมดีและชั่ว กิริยาของจิตดวงนั้นที่ใช้กายวาจาใจ ที่อาศัยกายบิดามารดา ไปในลักษณะที่เป็นคุณหรือเป็นโทษ เป็นไปตามอารมณ์ต่างๆที่จะไหลออกมาจากแม่ทั้งสี่ที่เป็นธาตุของกรรม เมื่อใช้กิริยาของกายของวิญญาณทั้งหก สิ่งที่ใช้ไปด้วยอารมณ์ต่างๆ ตลอดชีวิต ก็เป็นเหมือนข้อมูลเก็บบันทึกไว้กับธาตุทั้งสี่ดินน้ำลมไฟ เมื่อจิตละออกจากสังขาร ธาตุทั้งสี่ที่รวบรวมข้อมูลไว้ ก็ดึงจิตไปเกิดตามสถานที่ต่างๆ
1
คราวนี้ ระหว่างที่เรามีชีวิตอยู่ เราก็ใช้ชีวิต เป็นไปด้วยความโลภโกรธหลง วิญญาณทั้งหก ไปสัมผัสสิ่งต่างๆในโลก ไปกระทำเรื่องราวต่างๆ ดีชั่ว มันก็ถูกบันทึกลงไปในจิต จิตส่งต่อให้แม่ทั้งสี่ บันทึกภาพเสียงที่เราใช้ไปทำอะไร สมมุติว่า เราไปตีใครเค้าเจ็บ มือที่เราตี กิริยาที่เราตี ตาเราเห็นภาพ ก็ส่งไปบันทึกที่แม่ทั้งสี่ เสียงที่เค้าร้อง หูเราได้ยินก็บันทึกลงไปที่แม่ทั้งสี ซึ่งจะเป็นลักษณะของสีดำเป็นกรรม เหมือนเราใช้กิริยาต่างๆตามอารมณ์ไปเรื่อย ทั้งดีและชั่วก็ถูกบันทึกไปเรื่อยๆ สะสมมากเข้าๆ กรรมทีสะสมไว้ก็สำแดงออก เค้าเรียกว่าเป็นลักษณะของกรรมตัดรอน บั่นทอนชีวิต ทำให้ชีวิตพบเหตุที่ต้องเจ็บป่วย หรือตายก่อนอายุขัย
1
คราวนี้ในการเกิดของมนุษย์ ที่กรรมเค้ารวบรวมอยู่กับธาตุทั้งสี่ เค้าก็มีช่องทางให้แก้ไข เพื่อช่วยเหลือจิตของตัวเอง คือ การสร้างทาน บุญ กุศล บารมี เพื่อบรรเทากรรมที่จะไหลออกมาจากธาตุสี่ เกิดเป็นอารมณ์ของกรรมให้จิตนี้หลงในมายาของอารมณ์ที่เกิดขึ้นภายในกายปรุงแต่งไปตามอารมณ์ ให้เคลื่อนกาย พาวิญญาณหกไป ไปสัมผัสสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ก็เกิดอารมณ์พอใจ ไม่พอใจต่างๆ ปรุงแต่งเป็นไปตามนิสัยที่เคยใช้มาหรือสัญญาที่สะสมภายในกายนี้ เกิดเป็นความยึดถืออยากได้อยากมีอยากเป็นอย่างนั้นนี้
1
สิ่งที่เรียกว่าอารมณ์ที่ขึ้นในกาย ก็ผลักไสให้กายไปเสาะแสวงหาหามาหล่อเลี้ยงบำรุงบำเรอสังขารให้มีชีวิตรอด เค้าเรียกว่าเอามาแค่ประทังสังขาร แต่มนุษย์กลับสะสมเกินความจำเป็น มักก็เลยสะสมกรรมมาทับกายทับจิตเป็นภาระของกายและจิตมากมาย กายนั่นเค้าให้มาแปดสิบปีร้อยปีก็ตาย แต่สิ่งที่เสาะแสวงหามากมาย เมื่อจิตนี้ละสังขารก็เอาไปไม่ได้เลย สิ่งที่จะเอาไปได้ คือเรื่องราวดีๆ บุญกุศลบารมี ที่จิตนี้กระทำ บันทึกไว้กับแม่ทั้งสี่ ก็จะนำพาจิตที่กระทำหรือสร้างบุญกุศลบารมีตอนที่กายนี้ตั้งอยู่ จะนำพาจิตดวงนั้นไปสู่สถานที่ดีๆ
2
เรื่องราวของกฏแห่งกรรม นั้นมันมีรายละเอียดมากมาย ต้องอาศัยประพฤติปฏิบัติธรรม ตามรอยองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า รอยของพระสิทธัตถะ นำมากระทำขึ้น เราก็ได้ค่อยๆเรียนรู้ เรื่องราวต่างๆว่าจริงหรือไม่จริง ฟังเค้าพูดมันก็งั้นๆแหละ แล้วก็ผ่านไป ใช้ชีวิตด้วยความประมาท ติคนนั้น วิจารณ์คนโน้น ไม่ถูกใจคนนี้ (บางที่ไม่รู้จักกันเสียด้วยซ้ำไป ก็ยังไม่ชอบใจ ไม่พอใจ ทำไมมันเป็นอย่างนั้นรู้มั้ยว่านั้นคือ อารมณ์กรรมที่ผุดขึ้นมาในกายนี้ กรรมมันเกิดขึ้นมาผุดมา หยุดมันได้มั้ย การหยุดยั้งอารมณ์ทิฐิความคิดเห็นต่างๆภายในกายนี้เราหยุดได้มั้ย แล้วเรารู้จักคำว่า จิตของตนแล้วหรือยัง ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้
2
เราสามารถศึกษาได้จากการประพฤติปฏิบัติธรรมธรรมตามรอยองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อคลี่คลายกรรม ไม่ใช่ไปเอาเรื่องราวคาถาอาคม (ที่จริงมันไปเรียกร้อง จิตวิญญาณเร่ร่อนร้ายๆมาสู่ตนตนของเรา เราก็สังเกตุดูได้ สติสัมปชัญญะ อารมณ์ของคนที่ท่องคาถา วาจาเค้าเป็นอย่างไรบ้าง เป็นมิลักขะ หรือ เยี่ยงอย่างมนุษย์ที่ดี เราสามารถสังเกตได้ แต่เราไม่ไปตำหนิเตือนเค้า เพราะมันกรรมของเค้าเอง นำเข้าใส่ตัวตนของเค้าเอง แล้วมีเกิดอะไรขึ้รกับตัวเค้า ยิ่งเป็นคนใกล้ชิด เราก็เปรียบเทียบนิสัยเค้าที่เปลี่ยนแปลงได้ มีความผิดปกตินิสัยเดิมๆ จากคนที่เรียบร้อย ก็เป็นคนที่ก้าวร้าวขึ้นมาได้
เมื่อยังมีสติสัมปชัญญะ วิญญาณหกยังสมบูรณ์อยู่ สติสมบูรณ์อยที่จะกลั่นกรองเหตุผลให้แก่จิตของตน พิจารณาสิ่งใดดีหรือไม่ดี ต้องใช้ปัญญญาของตัวเอง อย่าไปเขื่อใครง่ายๆ แม้แต่สิ่งที่เขียนมา ก็อย่าเชื่อ ต้องพิจารณาด้วยเหตุผลของจิตเราเอง ว่าใช่หรือไม่ใช่ เพราะเราเป็นผู้ใช้กายนี้ ที่เลือกกระทำเรื่องราวดีๆ ให้แก่ตัวเองได้ ) มีอะไรมากมายก่ายกอง มาเพิ่มสะสมกรรมให้มันมากขึ้น ทำบุญก็เรียกร้องหากรรม ท่องคาถาก็เรียกร้องให้มีกรรมมากขึ้น พิจารณาเหตุผลดูเถอะว่าจริงไม่จริง ดูรอยพระสิทธัตถะดีๆ ท่านไม่ยึดอะไรๆ สละอะไร เพื่อให้จิตท่านพ้นทุกข์ แล้วท่านก็คงไม่ไปท่องคาถาอาคมอะไรกลางป่า ท่านไปทำจิตท่านให้หลุดพ้น ไม่เอาเรื่องราวอะไรไปทับถมจิตของท่าน
1
เรื่องราวคำว่า กรรม ใครก็พูดกันได้ทั่วไป พูดกันได้เต็มบ้านเต็มเมื่อง แต่มีใครศึกษากรรมที่เกิดในกายที่จิตตัวเองอาศัยบ้าง อารมณ์ที่เกิดขึ้นปรุงแต่งกายของตนเองบ้าง ให้รู้จักว่าเป็นอย่างไร เค้าจึงมีคำพูดว่า อยู่กับอารมณ์ ไม่รู้จักอารมณ์ อยู่กับกรรม ก็ไม่รู้จักกรรม มีแต่ทำตามสิ่งที่ปรุงแต่ง ขึ้นในกาย เมื่อวิญญาณหกไปรับรู้ไปสัมผัส เช่น ใครมาติเรา ด่าเรา อารมณ์โมโหก็เกิดที่เรา แล้วเราทำอะไร สะท้อนกลับไปสู่คนที่มาติมาด่าเรา
สิ่งที่เรากระทำนั่นแหละ เค้าเรียกว่า กรรม มีอารมณ์คล้องเวรกรรม เป็นทาสของอารมณ์ พอใครเตือน ขณะที่เราโมโห เราฟังมั้ย ยอมมั้ย อารมณ์ทิฐิความเห็นที่ปรุงแต่งขณะมีอารมณ์ เค้าเรียกว่า สติเรานั้นรู้ไม่เท่าทันอารมณ์ เมื่อรู้ไม่เท่าอารมณ์ ยับยั้งอารมณ์ไม่ได้ กายวาจาใจของเราเป็นอย่างไร มันก็สร้างกรรมขึ้น สร้างกรรมไปแล้ว ใครล่ะเป็นผู้ที่เดือดร้อน ต้องมีกรรมเกลียดชังกัน จิงเวรอาฆาต จิตของใครที่เดือดร้อน ไม่มีความสุข
มีคำพูดว่า เชื่ออารมณ์ในกาย..ไม่ระมัดระวังอารมณ์ ประมาทอารมณ์ของตน ..จะมีกรรม เราก็ไปไตร่ตรองดู ว่าจริงมั้ย เรื่องราวของกรรม มันเกิดขึ้นกับแต่ละบุคคล ไม่เหมือนกัน เหมือนเป็นบัญชีกรรมของใครของมัน ที่เค้าเคยกระทำมา กรรมมันก็หมุนขึ้น ไปตามวันเวลาของชีวิต ที่ไม่รู้ว่ากรรม จะพาไปสู่ทิศทางใดบ้าง ไปเจอะเจออะไร ตามวันเวลา เหมือนกัน แต่ไม่รู้ว่ากรรมหนักจะส่งมาตอนไหน
ถึงเวลานั้น กรรมมันเกิดก็ มีเรื่องราวอะไรต่างๆเกิดขึ้น ให้ทุกข์กายทุกข์ใจเกิดขึ้น สิ่งที่จะข่วยได้ก็เรื่องการสร้างบุญกุศลบารมี แต่บางคนสร้างบุญเหมือนกัน กับเรียกร้องเอาคืน คือขอให้ข้าพเจ้าร่ำรวย อะไรต่างๆ ที่หมายถึงเราทำบุญยึดเอาคืน มันก็เลยไปไม่ถึงเจ้ากรรมนายเวร เหมือนเราจะยื่นของให้ใคร พอเค้ายื่นมือจะมารับเรากลับดึงกลับคืนอย่างนั้น มันก็เลยไม่ได้เป็นบุญกุศลส่งถึงเจ้ากรรมนายเวรของตน ทำบุญหวังว่าจะเบาบาง จะกลับทำให้หนักกว่าเดิม เพราะเจ้ากรรมนายเวร เค้าก็เป็นจิตเหมือนเรา เค้าก็โกรธโมโห จะอโหสิกรรมให้ ก็เลยไม่มีการอโหสิกรรม เราก็ย่ำอยู่ไปกับความทุกข์ที่เค้าทวงกรรม
เรื่องราวของกรรม มันสลับซับซ้อน ซ่อนเงื่อนอยู่กับพระแม่ทั้งสี่ที่ประกอบเป็นตัวเป็นตน ให้เราได้อาศัยชั่วขณะหนึ่ง เรารู้จักเรื่องราวของกรรมบ้าง เราก็สร้างทานบ้าง บุญบ้าง บารมีบ้าง ช่วยเหลือจิตของเรา ให้เบาบางจากทุกข์ที่เกิดขึ้นภายในกายนี้ ขอให้สุขทั่งกาย ทั้งใจเทอญ
โฆษณา