5 ม.ค. 2022 เวลา 21:40 • คริปโทเคอร์เรนซี
รวมซีรีย์ Blockchain กับ Crypto ง่าย ครบ จบที่นี่
Ep.2 Blockchain เพิ่มข้อมูลธุรกรรมลงระบบอย่างไร เมื่อไม่มีตัวกลาง (Consensus)
3
จาก Ep.1 เราได้รู้จักคำศัพท์บางส่วน เกี่ยวกับ Blockchain และ Crypto รวมถึงตัวอย่างของระบบธนาคารแบบเดิมและแบบไร้ตัวกลาง หลายคนคงพอจะเห็นภาพคร่าวๆ ไปบ้างแล้ว ใน Ep.นี้ เราจะมาลงลึกกันอีกหน่อยว่า ก็ถ้าไม่มีตัวกลางในระบบ แล้วเราจะเพิ่มข้อมูลลงบน Blockchain อย่างไร และใครจะเป็นคนเพิ่ม😮
แม้ว่าระบบ Blockchain จะโปร่งใส และผู้ใช้ในระบบสามารถตรวจสอบกันได้ และหากข้อมูลใดในระบบผิดปกติ ธุรกรรมๆนั้นจะถูกยกเลิกทันทีก็ตาม และเนื่องจาก Blockchain ส่วนมาก เป็นระบบเปิดที่ใครจะเข้าออกตอนไหนก็ได้ เช่นใน Bitcoin นี่จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมต้องมี Consensus Algorithm หรือ Consensus Protocal
4
การมี Consensus Algorithm หรือ Consensus Protocal หรือชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์ที่เป็นฉันทามตินั้น เป็นกฎในระบบ ที่ถูกออกแบบไว้ ให้มีผลอัตโนมัติตามเงื่อนไขที่ทุกคนต้องยอมรับร่วมกัน ในการเลือกว่า ใครจะเป็นคนเขียนคำสั่งลงระบบในแต่ละธุรกรรม ระบบนี้ ถูกออกแบบมา เพื่อส่งเสริมระบบกระจายอำนาจ (Decentralized) ซึ่งจะมี 2 ระบบใหญ่ๆที่รู้จักกัน คือ Proof of work และ Proof of stake แต่จริงๆแล้ว ยังมีรูปแบบ ชุดคำสั่งอีกหลายชุด ดังนี้
🚩1. Proof of work (PoW)
ระบบการทำงานของ Proof of work (PoW) จะกำหนดให้ ผู้ที่แก้โจทย์สมการทางคณิตศาสตร์ที่ระบบ Bitcoin ออกแบบไว้ให้ ได้เร็วที่สุด เป็นผู้ที่มีสิทธิ์ในการเขียนคำสั่งหรือธุรกรรมเพิ่มในระบบ โดยผู้ที่ทำสำเร็จนี้ ก็จะได้รางวัลเป็นค่าธรรมเนียมและ Bitcoin ที่เกิดขึ้นใหม่ในช่วงขณะหนึ่ง หรืออย่างที่เรารู้จักกลุ่มคนเหล่านี้ ในนามของ "นักขุด" หรือ Miner นั่นเอง
ซึ่งนักขุด จะต้องเสียค่าไฟฟ้าในการขุดรวมถึงในแต่ละธุรกรรมนั้นใช้เวลาค่อนข้างนาน จึงนับเป็น 2 ข้อเสียใหญ่ๆของระบบ Proof of work คือ สิ้นเปลืองพลังงาน และใช้เวลาในการทำธุรกรรมนาน นักขุดที่มีเครื่องมือคอมพิวเตอร์หรือฮาร์ดแวร์ประสิทธิภาพสูง มักมีโอกาสแก้สมการได้เร็วกว่า หากมีนักขุดจำนวนมาก ความยากในการขุดก็จะสูงขึ้น หากมีนักขุดน้อย ความยากก็จะต่ำลง
1
ข้อดีของ Proof of Work คือมันเป็นการกระจายศูนย์ (Decentralized) ที่แท้จริง เพราะเมื่อระบบโตเพียงพอแล้ว ก็จะไม่มีใครสามารถเข้าควบคุมระบบได้อีก เนื่องจากต้องใช้เงินเยอะมากๆ ผลก็คือ คนที่ยืนยันการโอนเงินจะผลัดเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ในทุกรอบ ไม่มีทางเลยที่จะเป็นคนเดิมไปเรื่อย ๆ จึงเชื่อกันว่า ระบบนี้ เป็น Decentralize อย่างแท้จริง
ในแง่ของการขุด จำนวนเหรียญ Bitcoin ถูกออกแบบมาจำกัดที่ 21 ล้านเหรียญเหตุผลที่ต้องมีจำกัด ก็เพื่อลดโอกาสการเกิดเงินเฟ้อ* ซึ่งปัจจุบันมีคนค้นพบหรือขุดได้แล้ว 18 ล้านเหรียญ ยังเหลืออีก 3 ล้านเหรียญสุดท้าย แลัมีผู้กล่าวว่า อาจจะใช้เวลาถึง 140 ปี จึงจะมีการค้นพบเหรียญที่เหลือได้ครบ เพราะยิ่งเหรียญเหลือน้อย สมการยากขึ้น นักขุดมากขึ้น การได้เหรียญมาครอบครองก็มีความยากขึ้นนั่นเองค่ะ
เหรียญที่ใช้ระบบ Proof of work ทั้งหมด ข้อมูล ณ วันที่ 6 ธันวาคม 2022 มีกว่า 363 Coins (เหรียญ) เราได้ลิสต์เหรียญหลักๆ พร้อมความเร็วในการทำธุรกรรมเรียงตาม Marketcap(มูลค่าตลาดของสินทรพย์) มาให้ดังนี้ค่ะ
☝Bitcoin ใช้เวลาเฉลี่ย 10 นาที/ 1 ธุรกรรม
☝Ethereum ใช้เวลาเฉลี่ย14-15 วินาที/ 1 ธุรกรรม (พัฒนามาจากระบบ Bitcoin ทำให้ทำธุรกรรมได้เร็วขึ้น แต่ก็ยังรองรับการทำธุรกรรมพร้อมกันได้ไม่เกิน 20 ธุรกรรม หามีการทำธุรกรรมพร้อมกันมากกว่า 20 ก็อาจจะต้องใช้เวลารอนานเกิน 10 นาทีในเหมือนใน Bitcoinได้เช่นกัน)
☝Dogecoin ใช้เวลาเฉลี่ย 60 วินาที/ 1 ธุรกรรม
☝Litecoin ใช้เวลาเฉลี่ย 2-5 นาที/ 1 ธุรกรรม
☝Bitcoin cash ใช้เวลาเฉลี่ย 10 นาที/ 1 ธุรกรรม
☝Ethereum Classic ไม่มีข้อมูล
☝Monero ใช้เวลาเฉลี่ย 120 วินาที/ 1 ธุรกรรม
☝Bitcoin SV ใช้เวลาเฉลี่ย 10 นาที/ 1 ธุรกรรม
☝Zcash ใช้เวลาเฉลี่ย 2.5 นาที/ 1 ธุรกรรม
4
🚩2. Proof of stake (PoS)
Staking เป็นกระบวนการที่นักลงทุนแต่ละคนนำสินทรัพย์ของตัวเองมาล็อคไว้ในระบบ โดยจะให้สิทธิ์ผู้ที่วางเหรียญค้ำประกัน เป็นผู้ตรวจสอบธุรกรรมในระบบ แทนการรอให้ Miner(นักขุด) มาแก้สมการ อย่างในระบบ Proof of work ซึ่งทำให้ระยะเวลาในการทำธุรกรรมรวดเร็วกว่า
เรียกได้ว่า ใครล็อคเหรียญไว้ในระบบ (Stake)เยอะๆ แปลว่าคนนั้นน่าเชื่อถือ ระบบก็จะให้คนนั้นมีสิทธิ์ตรวจสอบและยืนยันธุรกรรมมากกว่า ฟังดูออกแนวทุนนิยม😅 ทุกคนที่มีการถือเหรียญไว้ในระบบและติดตั้งระบบยืนยันเอาไว้ ก็จะสามารถแย่งกันยืนยันตามอัตราส่วนที่ถือ มีเยอะโอกาสก็เยอะกว่า มีน้อยโอกาสก็น้อยกว่า
เราจึงไม่เรียก ผู้ที่มีสิทธิ์ยืนยันธุรกรรมว่า "นักขุด หรือ Miner" แต่จะเรียกว่า "Validator หรือ ผู้ตรวจสอบ, ยืนยัน" แทนนั่นเอง
จะเห็นว่า เราจึงสามารถมีรายได้ จากการ Staking เหรียญที่เราถืออยู่ได้ วัตถุประสงค์ของการทำ Staking มีไว้สำหรับตรวจสอบรายการธุรกรรมในระบบ ค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมจะถูกกระจายไปยังนักลงทุนหรือคนที่ทำ Staking เพื่อเป็นค่าตอบแทนค่ะ
1
เหรียญที่ใช้ระบบ Proof of stake (PoS) ข้อมูล ณ วันที่ 6 ธันวาคม 2022 มีทั้งหมด 284 เหรียญ ตัวอย่างเช่น
☝Binance Coin ใช้เวลาเฉลี่ย 3 วินาที/ 1 ธุรกรรม
☝Solana ใช้เวลาเฉลี่ย 400 มิลลิวินาที/ 1 ธุรกรรม
☝Cardano ใช้เวลาเฉลี่ย 20 วินาที/ 1 ธุรกรรม
☝Polkadot ใช้เวลาเฉลี่ย 6 วินาที/ 1 ธุรกรรม
☝Avalanche 4500 ธุรกรรม/ วินาที
☝Algorand ใช้เวลาเฉลี่ย 4.5 วินาที/ 1 ธุรกรรม
☝NEAR Protocol ไม่มีข้อมูล
☝Cosmos ใช้เวลาเฉลี่ย 6 วินาที/ 1 ธุรกรรม
☝Elrond ใช้เวลาเฉลี่ย 6 วินาที/ 1 ธุรกรรม
☝Helium ใช้เวลาเฉลี่ย 1 นาที/ 1 ธุรกรรม
เปรียบเทียบ Proof of work (PoW) และ Proof of stake (PoS) ขอบคุณภาพจาก siamblockchain.com ค่ะ
https://siamblockchain.com/2017/08/13/proof-of-work-vs-proof-of-stake/
🚩3. Proof of Capacity (PoC)
เป็นอีกตัวที่คล้าย ๆ กับ Proof of Stake แต่สำหรับ Proof of Capacity จะใช้วิธีว่า ใครมีพื้นที่ใน Harddisk เหลือเยอะกว่า ก็จะเพิ่มโอกาสในสร้างบล็อคใหม่ ผู้เข้าร่วมจะให้พื้นที่เก็บข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ของเขาเป็นการชั่วคราวเพื่อใช้งานในระบบ คล้ายๆกับที่ Proof of stake วางเหรียญเป็นประกัน แต่แทนที่จะใช้เหรียญ ระบบนี้จะใช้ พื้นที่เก็บข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์แทน เหรียญที่ใช้ระบบนี้ได้แก่
☝Burstcoin (BURST)
☝Btchd (BHD)
☝Diskcoin (DISC)
☝Boom
☝LitecoinHD (LHD)
☝Filecoin
☝Storj
☝Chia
2
Diskcoin (DISC)
4. Proof of Activity (PoA)
Proof of Activity เป็นกลไกฉันทามติแบบไฮบริดที่รวมคุณสมบัติของ Proof of Work และ Proof of Stake เป็นวิธีการใหม่ในการสร้างบล็อกใหม่ PoA ใช้ประโยชน์จากกลไกทั้งสองนี้ และพยายามหลีกเลี่ยงจุดอ่อนของทั้งสอง แม้จะมีกลไกฉันทามตินี้ แต่ก็ยังมีการใช้พลังงานค่อนข้างสูงและความต้องการฮาร์ดแวร์ที่มีประสิทธิภาพสูงอยู่ การทำงานแบบไฮบริดนี้ มีได้หลายรูปแบบ ตัวอย่างกลไกการทำงาของ Proof of Activity รูปแบบหนึ่ง คือ
3
--> บล็อกจะถูกสร้างขึ้นโดยประมาณทุกๆ 5 นาที
--> นักขุดแต่ละ Nodeในเครือข่ายต้องแก้สมการคณิตศาตร์ เพื่อให้ได้รับสิทธิ์ในการสร้างบล็อก (ตามวิธีของระบบProof of Work)
--> ใครที่แก้สมการได้สำเร็จ จะต้องกระจายข้อมูลแจ้งไปยังทุกคนในเครือข่าย
--> ทุกคนในเครือข่ายยืนยันความถูกต้อง
--> คนในระบบที่ Stake หรือวางเหรียญค้ำประกันไว้ จะต้องล็อคเหรียญไว้ 28 วัน (8,192 block ) เพื่อให้มีสิทธิ์ในการโหวต โดยคำนวณเป็น Ticket ต่อ 1 สิทธิ์ในการโหวต
--> จากนั้นระบบจะสุ่ม 5 Tickets จากทั้งหมด และถ้า 3 ใน 5 นี้ ยืนยันความถูกต้อง ธุรกรรมนี้ก็จะถูกเขียนลงบร Blockchain
--> ส่วนรางวัลจะถูกแบ่งให้นักขุด 60% และ คนที่ Stake 30%
2
🚩5. Proof of Burn (PoB)
Proof of Burn มักถูกเรียกว่าระบบ Proof of work ที่ไม่มีการสูญเสียพลังงาน มันทำงานบนหลักการของการอนุญาตให้ผู้ขุด “เผา” โทเค็นสกุลเงินเสมือน จากนั้นพวกเขาจะได้รับสิทธิ์ในการเขียนบล็อคตามสัดส่วนของเหรียญที่ถูกเผา เหรียญที่ใช้ระบบนี้คือ
☝Slimcoin
โดยพื้นฐานแล้ว การใช้งาน Proof of Burn ของ Slimcoin จะรวมเอาอัลกอริธึมสามแบบ: Proof of work, Proof of stake และแนวคิด Proof of Burnหลัก โดยในกระบวนการเผาเหรียญนั้น ยิ่งเหรียญเผามากเท่าไหร่ก็ยิ่งมีโอกาสขุดได้มากขึ้นเท่านั้น
3
☝TGCoin (Third Generation Coin)
🚩6. Proof of Processed Payments (PoPP)
เป็นการยืนยันผู้ใช้ และกระจายสกุลเงินใหม่เข้าสู่ระบบ ในขณะเดียวกันก็ให้รางวัลแก่ผู้ใช้ที่แปลงสกุลเงินเฟียตเป็นสกุลเงินดิจิทัล โดยผู้ใช้ชําระเงินเฟียส เพื่อซื้อเงินดิจิทอลแล้ว ส่วนหนึ่งของยอดเงินรวมของการชําระเงินจะถูกส่งคืนเป็นรางวัลในมูลค่าของเหรียญ Metal (MTL) อารมณ์คล้ายๆ การได้รับ cash back เวลาเราใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเลยค่ะ เหรียญที่ใช้ระบบนี้คือ
☝เหรียญ Metal (MTL) บน แพลตฟอร์ม Metalpay โดย เหรียญ MTL เป็นโทเค็น ERC20 ที่สร้างขึ้นบนบล็อกเชน Ethereum แพลตฟอร์ม Metalpay ยังเปิดให้ใช้ยังไม่แพร่หลายนัก รวมถึงในไทย ก็ยังไม่สามารถใช้ได้
2
🚩7. Proof of Elapsed Time (PoET)
เป็น Consensus Protocol ที่สร้างขึ้นโดย Intel และมีความใกล้เคียงกับ Proof of work ในแง่ของการกระจายสิทธิ์ ต่างแค่ไม่ต้องใช้พลังประมวลผลแรงๆ แล้ว ปัจจุบันมีใช้ใน Hyperledger Sawtooth ซึ่งเป็น Blockchain ระดับ Enterprise ที่ Intel พัฒนาขึ้นเอง
2
วิธีคือ ระบบจะทำการสุ่มเวลาขึ้นมาหนึ่งเลข ผู้ที่สร้างบล็อคจะต้องรอจนเวลาผ่านไปตามจำนวนที่สุ่มมาได้ แล้วค่อยส่งบล็อคไปยัง Network ใครส่งได้ก่อนเป็นผู้ชนะ ซึ่งการที่จะทำให้ข้อมูลตรงนี้เชื่อถือได้ จำเป็นต้องใช้ Intel CPU ที่สนับสนุน Software Guard Extensions (SGX) เพื่อป้องกันไม่ให้โค้ดตรงนี้ถูกเปลี่ยนแปลง
🚩8. Proof of History
Proof of History เป็นลําดับของการคํานวณที่สามารถให้วิธีการตรวจสอบเวลาระหว่างสองเหตุการณ์ ใช้ฟังก์ชันที่มีความปลอดภัยในการเข้ารหัสที่เขียนขึ้นเพื่อให้ไม่สามารถคาดการณ์ผลลัพธ์จากอินพุตและต้องดําเนินการอย่างสมบูรณ์เพื่อสร้างเอาต์พุต ระบบนี้ใช้ใน
☝Solana SOL
3
🛑สรุป
#Proof of work (PoW) อาศัยฮาร์ดแวร์ที่มีประสิทธิภาพ
#Proof of stake (PoS) อาศัยการวางเหรียญค้ำประกันในระบบ
#Proof of Capacity (PoC) อาศัยพื้นที่เก็บข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์
#Proof of Activity เป็นกลไกฉันทามติแบบไฮบริดที่รวมคุณสมบัติของ Proof of Work และ Proof of Stake เข้าด้วยกัน
#Proof of Burn (PoB) อาศัยสัดส่วนเหรียญหรือสินทรัพย์ที่ถูกเผา
#Proof of Processed Payments (PoPP) อาศัยการใช้เงินเฟียสซื้อเหรียญ แล้วได้รางวัลเป็น เหรียญใหม่บนแพลตฟอร์ม ตอนนี้มีเพียงบนแพลตฟอร์ม Metalpay
#Proof of Elapsed Time อาศัยเวลา
#Proof of History อาศัยการตรวจสอบเวลาระหว่างสองเหตุการณ์ผ่านการเขียนรหัสที่ไม่สามารถคาดเดาผลลัพท์ได้
ช่างเป็นบทความที่ใช้เวลานานมาก 😅
ระบบ Consensus Protocol ยังคงมีการพัฒนาตัวใหม่ ๆ ออกมาเรื่อยๆ มีอีกหลายระบบที่แอดไม่ได้ลงรายละเอียดหรือกล่าวถึง ส่วนตัวมองว่า ไม่มี Consensus ตัวไหนที่ดีที่สุด เพียงแต่ตัวไหนเหมาะกับอะไรเท่านั้นเอง
2
การรู้จักพื้นฐานของเหรียญ รวมไปถึงแพลตฟอร์มต่างๆ มีประโยชน์ในแง่ของการสร้างรายได้บนตลาดการเงินดิจิทอล ที่ไม่ได้มีแค่การดํกราฟหรือเทรเสมอไป เช่น ถ้าเราเข้าใจระบบ Proof of stake เราก็จะรู้ว่า การหารายได้ผ่านการ staking เหมาะสมกับเราหรือไม่ ความเสี่ยงคืออะไร และเรายอมรับความเสี่ยงได้แค่ไหน ถ้าไม่ใช่ มีโอกาสการทำกำไรรูปแบบไหนอีกบ้าง
ใน Ep.ต่อๆไป แอดจะทยอยนำวิธีการและตัวอย่างการทำกำไรบนแพลตฟอร์มต่างๆมาฝากนะคะ หากใครอ่านจนจบมาถึงบรรทัดนี้ ช่วยคอมเมนส์เป็นกำลังใจและปักหมุดรอ โดยตั้งต่ Ep.3 เป็นต้นไป แอดจะเน้นภาคปฏิบัติแล้วน๊าาา😘🥑
โฆษณา