3 ม.ค. 2022 เวลา 05:11 • ไลฟ์สไตล์
ทำไมเปิดไฟแล้วนอนไม่หลับ ...แล้วแก้ง่วงด้วยการใช้แสงทำได้?
2
นอกจากการแก้ง่วงโดยการใช้ คาเฟอีน ซึ่งเป็นสารประกอบที่พบมากในพืชจำพวกกาแฟและชา รวมถึงช็อกโกแลตที่ผลิตจากเมล็ดโกโก้ เครื่องดื่มอย่างน้ำอัดลม และเครื่องดื่มชูกำลัง มากระตุ้นแล้วนั่น
ใครจะรู้ว่า แสงสว่าง แสงไฟ หรือแสงอาทิตย์ มีผลต่อการนอนหลับของเรา..เพราะเหตุนี้..
มีสารสำคัญตัวหนึ่งที่ส่งผลต่อการง่วงนอน ซึ่งเป็นสวนหนึ่งในระบบนาฬิกาชีวภาพ (Circadian rhythm) ตามธรรมชาติของร่างกายมนุษย์ นั่นก็คือ...
เมลาโทนิน มีการสร้างขึ้นที่ลำไส้ใหญ่ จอประสาทตาและต่อมไพเนียล
สารเมลาโทนิน (Melatonin) เป็นฮอร์โมนในร่างกายชนิดหนึ่งที่สร้างจากต่อมไร้ท่อและส่งผ่านสมอง โดยสมองจะถูกกระตุ้นให้สร้างเมลาโทนินในเวลาที่ไม่มีแสงหรือมีแสงสว่างน้อย เมื่อถึงเวลากลางคืนสมองจะหลั่งเมลาโทนินออกมาสู่กระแสเลือดในปริมาณที่สูงมาก ทำให้ร่างกายรู้สึกง่วง ซึ่งปกติจะเริ่มต้นที่เวลาประมาณ 3 ทุ่ม😴😴
1
-การหลั่งของสารเมลาโทนินในช่วงกลางวัน / กลางคืน-
cr:https://ib.bioninja.com.au/standard-level/topic-6-human-physiology/66-hormones-homeostasis-and/melatonin.html
ปริมาณของเมลาโทนินจะอยู่ในกระแสเลือดของเราเป็นเวลาถึง 12 ชั่วโมงแล้วจะค่อยๆ ลดลง พร้อมกับการกลับมาของแสงอาทิตย์ในตอนเช้า และในเวลาประมาณ 9 โมง ระดับเมลาโทนินจะลดต่ำลงจนแทบจะเป็น ศูนย์...
เช่นกันหลังกินข้าว หากมี แป้ง มันคือแป้งนะ... และคาร์โบไฮเดรตในมื้ออาหารมากเกินไป สารเมลาโทนิน ก็หลั่งออกมา อาการง่วงนอน ซึม เหนื่อยล้า ก็ตามมาได้เช่นกัน😴😴
-งั้นเราก็มีเคล็ดลับให้ตาสว่างไม่ง่วงแล้วละ โดยการหลอกร่างกาย...-
ในเมื่อกลางวันและกลางคืน - แสงสว่าง/ ความมืด ส่งผลในการสร้างและหลั่งเมลาโทนิน โดยมีปัจจัยเรื่องแสงสว่างที่ส่งผลต่อการหลั่งสารเมลาโทนิน ตรงข้ามกันแม้เราอยู่ในที่มืด แต่มีแสงน้อย ร่างกายเราจะถูกยับยั้งการหลั่งเมลาโทนินเมื่ออยู่ภายใต้แสงไฟ เช่น ความสว่างของจอคอมฯ จอทีวี หรือหน้าจอมือถือ ก็จะทำให้เราตาสว่างไม่ง่วงนั่นเอง🤩🤩
ภาพนี้คือการทดลอง ใช้ความถี่ของแสงสว่าง ซึ่งความยาวคลื่นสีน้ำเงินเป็นหลัก (เส้นสีเขียว) แสงชนิดนี้จะมีผลในการยับยั้งการหลั่งเมลาโทนินได้ดีในตอนกลางคืน
1
cr:https://www.researchgate.net/figure/Evaluation-of-non-visual-sensitivity-to-light-via-melatonin-suppression-Profiles-of_fig1_259920054
และนี่ก็เป็นสาเหตุว่าทำไมในยามค่ำคืน นอนๆอยู่ แล้วมีใครเปิดไฟ ทำไมถึงนอนไม่หลับ (สำหรับในคนปกติ ไม่เมา ไม่ป่วย สภาวะแวดล้อมที่เป็นปกติ )
-จึงได้เคล็ดลับสำหรับคนที่ไม่อยากนอน หรือง่วง ในตอนกลางคืน-
สำหรับคนที่มีความจำเป็นในการทำงาน ในตอนกลางคืน ก็ควรเปิดไฟให้มีแสงสว่างอย่างต่อเนื่อง เป็นสีขาว หรือหลอดไฟชนิด Cool White หรือ Daylight White (ซึ่งความยาวคลื่นสีน้ำเงินอยู่ปริมาณมาก) ก็จะยิ่งดี ...ดูได้ข้างกล่องหลอดไฟ LED ที่ขายกันทั่วไป🤩🤩
1
Cool White หรือ Daylight
⚠⚠แต่การกระทำเช่นนี้ สงผลให้ระบบนาฬิกาชีวภาพ (Circadian rhythm) ตามธรรมชาติของร่างกายมนุษย์นั้น ...รวนไปหมดแน่นอน ซึ่งสารเมลาโทนิน ไม่มีการหลั่งออกมาเลยทั้งกลางวันและกลางคืน ร่างกายทรุดโทรม ความแก่ อาการป่วยไข้ มาเยือน⚠⚠
-มาดูประโยชน์ของเมลาโทนินกันบ้าง-
✅ปัจจุบันเมลาโทนินมีประโยชน์อย่างมากต่อการช่วยให้ร่างกายนอนหลับได้ง่ายขึ้น รักษาอาการนอนหลับยากของผู้ที่มีปัญหาในด้านการนอนหลับ และรักษาความผิดปกติของนาฬิกาชีวภาพในคนที่มีความพิการทางสายตา เป็นต้น
✅เมลาโทนินนั้นเชื่อกันว่าช่วยบรรเทาอาการเพลียหลังการโดยสารเครื่องบิน (Jet-Lag) และการทำงานเป็นกะซึ่งยังมีข้อโต้แย้งเรื่องคุณสมบัตินี้กันอยู่
✅เมลาโทนินส่งผลให้เกิดการนอนหลับลึก ช่วยกระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมนการเจริญเติบโต ความผิดปกติเรื้อรังของการนอน อาจทำให้หยุดการเจริญเติบโตก่อนเวลาอันควร
✅และอีกอย่างอันนี้ไม่รู้จะว่ามีประโยชน์หรือไม่... ในฤดูหนาวมีช่วงเวลากลางวันที่สั้น ทำให้ปริมาณเมลาโทนินในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการอ่อนเพลีย มีปัญหาเรื่องการนอนและอาการซึมเศร้า ถ้าในโซนเมืองไทยบ้านเราก็ช่วงหน้าฝน ฟ้าปิดแสงน้อย เมลาโทนินในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการอยากนอนและซึมเศร้าได้เช่นกัน
1
ในที่สุดแล้วเมลาโทนินจะต้องมีความสมดุล เพื่อให้ร่างกายสามารถเข้าสู่สภาวะนอนหลับได้ตามกลไกธรรมชาติ แม้จะมีปัจจัยที่ทำให้การนอนหลับต้องโดนขัดขวางไปบ้างก็ตาม
😴😴เพราะการนอนหลับ - หลับลึกสำคัญที่สุด ราตรีสวัสดิ์ครับ....😴😴
cr:https://www.boredpanda.com/funny-sleeping-cats/?utm_source=google&utm_medium=organic&utm_campaign=organic
อ้อเกือบลืมไป กระบวนการผลิตเมลาโทนินแบบนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะมนุษย์เท่านั้น แต่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมดก็ผลิตเมลาโทนินในเวลากลางคืนได้เช่นกัน โดยเฉพาะวัวจะผลิตด้วยกลไกเดียวกันกับมนุษย์
เผื่อท่านชอบ คาเฟอีน ครับ ☕☕👉
Ref:

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา